Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

การเมืองไทย เรื่องการเลือกตั้งเคยมีเรื่องราวน่าสนใจ เมื่อ “ผู้แพ้การเลือกตั้ง” กลับกลายมาเป็นนายกรัฐมนตรี ส่วน “ผู้ชนะ” กลายเป็นฝ่ายค้าน
.
การเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2518 เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 โดยมีการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2517 ขึ้นบังคับใช้ และพรรคการเมืองต่างๆ ที่เคยถูกยุบไปหลังการรัฐประหารของจอมพลถนอม กิตติขจร ยื่นขอจดทะเบียนกลับมาลงสนามอีกครั้ง
.
ระบบเลือกตั้ง ใช้ระบบแบ่งเขตเรียงเบอร์ 3 คน (หนึ่งเขตมี ส.ส.ได้มากกว่า 1 คน) และมี ส.ส.ทั้งประเทศ 269 คนโดยคำนวณจากจำนวนประชากร 150,000 คน ต่อ ส.ส. 1 คน
.
ผลการเลือกตั้ง มีพรรคที่ได้รับเลือกเป็น ส.ส. มากกว่า 20 พรรค โดยเป็น “พรรคต่ำสิบ” ถึง 14 พรรค

ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ที่นำโดย หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ได้รับเลือกตั้งมากที่สุด 72 คน

ตามด้วย พรรคธรรมสังคม นำโดย ทวิช กลิ่นประทุม 45 คน

พรรคชาติไทย นำโดย พลตรีประมาณ อดิเรกสาร 28 คน

พรรคเกษตรสังคม นำโดย เสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ 19 คน

พรรคกิจสังคม นำโดย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช 18 คน
.

หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ภาพจาก saranukromthai.or.th

หม่อมราชวงศ์เสนีย์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยร่วมกับ พรรคเกษตรสังคม แต่รวมเสียงได้เพียง 91 เสียง จากครึ่งหนึ่งของสภา 135 เสียง (จำนวนเต็ม 269 เสียง) โดยมีอีกกลุ่มรวมเป็นสหพรรคมี 123 เสียง และกลุ่มที่วางตัวตรงกลาง 55 เสียง เมื่อลุ้นจนถึงวันแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา รัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ก็แพ้โหวตโดยได้รับเสียงสนับสนุนเพียง 111 เสียง ไม่ไว้วางใจ 152 เสียง (อีก 6 เสียงไม่ลงคะแนน และบัตรเสีย) จึงต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออก และสละสิทธิ์การตั้งรัฐบาล
.

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ภาพจาก wikipedia.org

ในการรวบรวมเสียงเพื่อจัดตั้งรัฐบาลแทน มีคู่แข่ง 2 คน คือ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช (กิจสังคม 18 เสียง) และ พันเอกสมคิด ศรีสังคม (สังคมนิยมแห่งประเทศไทย 15 เสียง)
.
“คุณชายคึกฤทธิ์” ได้เสียงจาก ธรรมสังคม (45 เสียง) ชาติไทย (28 เสียง) สังคมชาตินิยม (16 เสียง) และพรรคที่มี ส.ส.ไม่ถึง 10 คน อีก 13 พรรค รวมได้ 141 เสียง ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล และเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 13 ของไทย ส่วนฝ่ายค้านในขณะนั้นที่รวมทั้งพรรคประชาธิปัตย์ด้วย มี 128 เสียง
.
ในช่วงของการเสนอชื่อ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ปรากฏว่า มี ส.ส.จากพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย 3 คน ที่ไม่เสนอชื่อ พันเอกสมคิด หัวหน้าพรรคตนเอง แต่กลับมาเสนอชื่อ คุณชายคึกฤทธิ์ จึงถูกพรรคลงมติขับออกจากพรรค และได้มาก่อตั้งพรรคใหม่คือ พรรคสยามใหม่ ภายหลังมีคนนำลูกสุนัข 3 ตัว มาโกนขนแล้วเขียนชื่อทั้ง 3 คนปล่อยให้เดินในอาคารรัฐสภา จนกลายเป็นคำเรียกกันว่า “ส.ส.หนังหมา” (อ้างอิงจาก ชื่อฉายาและสมญานามทางการเมืองไทย โดยวีระ เลิศสมพร)
.
แต่รัฐบาลของ “คุณชายคึกฤทธิ์”ก็อยู่ในตำแหน่งได้ 10 เดือนก็ยุบสภา (รวมรักษาการเป็น 1 ปี 1 เดือน 6 วัน) เพราะพรรคร่วมรัฐบาลหันไปร่วมกับฝ่ายค้าน ยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลเสียเอง
.

ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของการรวมเสียง ส.ส.เพื่อจับขั้วจัดตั้งรัฐบาลล้วนๆ โดยไม่มีการใช้เสียง ส.ว.มาร่วมโหวตนายกรัฐมนตรีด้วย 

.

ทั้งนี้ ก่อนหน้าจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีจริงๆ “คุณชายคึกฤทธิ์” เคยรับบทนายกรัฐมนตรีของประเทศสมมติที่ชื่อ “สารขัณฑ์” ในภาพยนต์อเมริกันเรื่อง “อักลี่อเมริกัน” เมื่อปี 2506

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า