SHARE

คัดลอกแล้ว

เพจข่าวจริงประเทศไทย โพสต์ไขข้อเท็จจริง ร่าง พ.ร.บ.ข้าว ยังไม่ผ่านสภา ขณะนี้อยู่ขั้นตอนวาระ 2 ที่ต้องแก้ไขรายละเอียดและรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน มาทำความเข้าใจ กับ ร่าง พ.ร.บ.ข้าว ที่กำลังเป็นกระแสอยู่เวลานี้

หลักการเสนอกฎหมาย การเสนอกฎหมายทำได้ 4 ทาง คือ
1. สนอโดย รัฐบาล/คณะรัฐมนตรี
2. เสนอโดย ส.ส.ไม่น้อยกว่า 20 คน
3. เสนอโดย ศาลหรือองค์กรอิสระ
4. เสนอโดย ประชาชน 10,000 คนเข้าชื่อ

ส่วนขั้นตอนการพิจารณากฎหมายมีดังนี้
1. ตั้งคณะกรรมาธิการทำงาน
2. รัฐบาลยอมรับในร่างกฎหมาย
3. ส่งให้กฤษฎีกา (ฝ่ายกฎหมาย) ตรวจสอบ
4. ลงคะแนนเสียงโดยสภาผู้แทนราษฎร
5. ลงคะแนนเสียงโดยวุฒิสภา
6. แก้ไขเพิ่มเติมโดยสองสภา (ถ้ามี)
7. นายกรัฐมนตรี ทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
8. ประกาศเป็นกฎหมายบังคับใช้

ลำดับเหตุการณ์ทางกฎหมายข้าวฉบับนี้เสนอมาจากคณะกรรมาธิการใน สนช. ไม่ใช่จากรัฐบาลหรือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. รัฐบาลเห็นด้วยในหลักการ
2.  รัฐบาลมีข้อไม่เห็นด้วยในเชิงข้อปฏิบัติ เพราะมีบางข้อที่รัฐบาล/กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นว่าทำแล้วอาจมีปัญหา หรือ ทำงานจริงจะทำได้ยากมาก เพราะคนอาจไม่พอ
3. กระทรวงเกษตรฯ ส่งอธิบดีกรมการข้าวไป โต้แย้ง ในคณะกรรมาธิการยกร่างกฎหมาย
4. รัฐบาลยอมให้ผ่านในวาระที่ 1 เพราะเห็นด้วยในหลักการที่ดี แต่มีปัญหาในเชิงปฏิบัติ รัฐบาลจึงขอให้คณะกรรมาธิการ แก้ข้อบกพร่องในวาระที่ 2-3
5. ร่างปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนวาระที่ 2 ที่ต้องแก้ไขในรายละเอียด และ รับฟังความคิดเห็นของภาคประชาสังคม-นักวิชาการเพิ่มเติม ก่อนจะเสนอให้รัฐบาลพิจารณา ว่าเห็นชอบด้วยหรือไม่ในวาระที่ 2-3

ร่าง พ.ร.บ.ข้าว ฉบับนี้เกิดมาจากสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. รวมตัวกันพิจารณาและเสนอกฎหมายที่จะช่วยยกระดับวงการข้าว จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยมีสาระดังนี้
1. คุมโรงสีไม่ให้เอาเปรียบชาวนา
2. ผู้จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวต้องจดทะเบียน
3. เพิ่มอำนาจกรมการข้าว วิจัย-อนุญาต-ตรวจสอบ
4. กำหนดโทษสูงสุดจำคุก 1 ปี ปรับ 1 แสนบาท

1.คุมโรงสีไม่ให้เอาเปรียบชาวนา
– โรงสีต้องเก็บหลักฐานข้าวเปลือกไว้ 5 ปี
– โรงสีต้องออกใบกำกับคุณภาพข้าวเปลือก
– ชาวนาเอาใบกำกับคุณภาพไปตรวจสอบได้

ถ้าชาวนาสงสัยว่าโรงสีมั่วคุณภาพ เพื่อกดราคา ชาวนาสามารถนำไปร้องต่อ [กรมการข้าว] เพื่อขอให้ตรวจสอบได้ ถ้าโรงสีออกใบเท็จ เพื่อกดราคาชาวนา แล้วถูกตรวจสอบว่าเป็นจริงตามนั้น เจ้าของโรงสีโดนโทษ คุก 1 ปีหรือปรับ 1 แสนบาท

2. ผู้จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวต้องจดทะเบียน
– ห้ามขายเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ไม่ได้รับรอง
– ห้ามขายเมล็ดพันธุ์ข้าวที่เสื่อมคุณภาพ
– ห้ามโฆษณาหลอกลวงเรื่องคุณภาพเมล็ดพันธุ์

สำหรับชาวนาที่พัฒนาสายพันธุ์ข้าวไว้ใช้เองไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเมื่อไรนำสายพันธุ์ที่พัฒนามา “ขาย” ต้องไปขอใบขึ้นทะเบียนกับ [กรมการข้าว] เพื่อได้รับการตรวจสอบ ว่าไม่ได้เอาของด้อยคุณภาพมาขายให้กับคนอื่น

หลักการนี้ไม่ต่างอะไรกับสินค้า อาหาร เครื่องดื่ม ที่ต้องขอ ตรา อย. หรือจะผลิตเหล้า หรือขายยา (ทางการแพทย์) ก็ต้องไปขอใบอนุญาต เพื่อให้มีการตรวจสอบว่าของที่ขายนั้นได้คุณภาพ ไม่หลอกลวงผู้บริโภค

3. เพิ่มอำนาจกรมการข้าว วิจัย-อนุญาต-ตรวจสอบ ให้กรมการข้าวมีอำนาจดังนี้
– มีอำนาจแบบบูรณาการเรื่องข้าว
– ไม่ได้ทำหน้าที่แค่วิจัยอย่างเดียว
– มีหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพข้าวด้วย
– ออกใบรับรองให้กับผู้ขายเมล็ดพันธุ์
– มีสิทธิสุ่มตรวจสอบโรงสีต่างๆ ได้เอง (จากเดิมต้องให้กรมการค้าภายใน มาตรวจสอบ)

ใน พ.ร.บ.ข้าว ฉบับใหม่นี้ กรมการข้าวจะทำหน้าที่แบบบูรณาการ คือ วิจัย และตรวขสอบคุณภาพพันธุ์ข้าว เพื่อป้องกันการขายเมล็ดพันธุ์ด้อยคุณภาพของพวกพ่อค้าหัวหมอ พ่อค้าขี้โกง อีกทั้งยังคอยเป็นเจ้าหน้าที่รับเรื่อง ดูว่าโรงสีโกงใบรับประกันคุณภาพข้าวเปลือกที่รับซื้อจากชาวนาด้วย ต่อไปชาวนาสงสัยว่าโรงสีโกงคุณภาพข้าวที่ตัวเองเอามาขาย ก็สามารถร้องเรียนต่อกรมการข้าวให้ตรวจสอบได้

ชาวนาผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองหรือแลกเปลี่ยนมีความผิดจริงหรือ? หากย้อนไปดู พ.ร.บ. พันธุ์พืช พ.ศ. 2518 จะพบบทบัญญัติที่ว่า การจำหน่ายพันธุ์พืชจะทำได้เฉพาะเมล็ดพันธุ์ที่มีการรับรองพันธุ์แล้วโดยกรมวิชาการเกษตร แต่ภายหลังมีการจัดตั้งกรมการข้าวขึ้น การรับรองพันธุ์ข้าวจึงเป็นหน้าที่ของกรมการข้าว และยังให้เกษตรกรสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์และเก็บไว้ใช้เองได้  ส่วนการห้ามไม่ให้เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองตามร่าง พ.ร.บ.ข้าว นั้น เป็นบทบัญญัติที่ห้ามเฉพาะกลุ่มนายทุน แต่ถ้าเป็นกลุ่มชาวนาที่ไม่ได้เป็นผู้ประกอบการและมีการเก็บเมล็ดพันธุ์เอาไว้ เพื่อแลกเปลี่ยนกันในเครือข่ายชาวนาด้วยกันก็จะไม่มีความผิด ไม่ต้องติดคุกหรือถูกปรับ

ร่าง พ.ร.บ.ข้าว เอื้อนายทุนจริงหรือ? กฎหมายฉบับนี้ไม่ได้เอื้อนายทุนยักษ์ใหญ่ตามที่หลายฝ่ายกล่าวหา เพราะถ้าชาวนามีเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ดีก็สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้อย่างอิสระ เว้นแต่ชาวนาจะไปทำในลักษณะที่เป็นผู้ประกอบการเพื่อค้ากำไรเสียเอง เช่นนี้ก็ต้องขออนุญาตจากกรมการข้าวเสียก่อน

บังคับให้ชาวนาทุกคนขึ้นทะเบียนจริงหรือ? สำหรับกรณีที่พูดกันว่าชาวนาทุกคนต้องขึ้นทะเบียนนั้น ไม่ได้มีการระบุไว้ในร่าง พ.ร.บ. ข้าว ตามที่เป็นข่าว แต่กฎหมายได้กำหนดให้กรมการข้าวเชื่อมโยงข้อมูลเกษตรกรกับฐานข้อมูลที่มีอยู่แล้วของภาครัฐ

นอกจากนี้ ร่าง พ.ร.บ. ข้าว ยังได้กำหนดให้โรงสีต้องส่งสำเนา “ใบรับซื้อ” ให้กับกรมการข้าว เพื่อเป็นหลักฐานในการขอรับการส่งเสริมจากภาครัฐในอนาคต โดยจะมีการกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการต่อไป

ห้ามซื้อขายข้าวหอมจัสมิน 85 จริงหรือ? แม้ข้าวหอมจัสมิน 85 หรือข้าวหอมพวงจะเป็นพันธุ์ข้าวที่ไม่ผ่านการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร แต่เกษตรกรภาคกลางมักนิยมปลูกกันก็สามารถนำไปขายได้ หากยังมีผู้รับซื้อในท้องตลาด เพราะเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์นี้เกษตรกรสามารถแลกเปลี่ยนกันเองได้ ยกเว้นการซื้อขายด้วยการโฆษณาจะไม่สามารถทำได้

ท้ายที่สุดขอยืนยันว่า ร่าง พ.ร.บ. ข้าว ฉบับนี้ ได้ยกเว้นการควบคุมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวกว่า 5 แสนตัน ที่เกษตรกรแลกเปลี่ยนกัน โดยไม่ถือเป็นการจำกัดสิทธิของพี่น้องชาวนาแต่อย่างใด

ทั้งนี้ นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติข้าว ชี้แจงปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายเป็นการเฉพาะสำหรับชาวนา ดังนั้นการมี พ.ร.บ.ข้าว ก็จะเป็นการส่งเสริมการพัฒนาสร้างความเข้มแข็งให้กับชาวนาได้

สาระสำคัญของ พ.ร.บ.นี้ จะมีคณะกรรมการข้าวระดับชาติ จะมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีรัฐมนตรีกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน่วยงานราชการหน่วยต่างๆ ที่สำคัญจะมีสัดส่วนของตัวแทนชาวนาผู้ประกอบการโรงสี ร่วมเป็นคณะกรรมการ ที่สามารถสะท้อนความเดือดร้อน ความต้องการ สู่คณะกรรมการข้าวระดับชาติได้ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริม พัฒนา และกำหนดนโยบาย เพื่อยกระดับการผลิตและคุณภาพชีวิตของชาวนาอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ ร่าง พ.ร.บ.ยังเน้นเรื่องของการสร้างความมั่นใจกับชาวนาในเรื่องของต้นทุนด้านเมล็ดพันธุ์ข้าว การพัฒนาเมล็ดพันธุ์ข้าว การซื้อขายแลกเปลี่ยน การให้บทบาทกับศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน ที่สำคัญคือการตอบสนองความต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าวทั่วประเทศกว่า 8 แสนตันต่อปี

สรุป ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติข้าวได้ผ่านการพิจารณาในชั้นของคณะกรรมาธิการแล้ว และในวันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์นี้ ก็จะเสนอเข้าสู่คณะกรรมการตรวจร่าง พ.ร.บ. ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ก่อนนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า