SHARE

คัดลอกแล้ว

เลขาฯ สมช.นำคณะฯ พร้อมตัวแทน UNHCR ทยอยส่งตัวผู้หนีภัยจากการสู้รบชาวเมียนมากลับบ้านเกิดโดยสมัครใจ ผ่านชายแดนแม่สอด-เมียวดี ครั้งที่ 3 รวมกว่า 500 ชีวิต

เมื่อวันที่ 20 ก.พ.62 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) นาย U Myint Than เอกอัครราชทูตประเทศสาธาณรรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประจำกรุงเทพ, พล.ต.ต.พงศ์อานันต์ คล้ายคลึง ผู้บังคับการตรวจคนเข้าเมือง 5, พ.อ.ไมตรี ชูปรีชา เสนาธิการ กองกำลังนเรศวร, นายจูเซปเป เดอะวินเซนตีส ผู้แทนสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย (UNHCR ) และ นายเดวิด จอห์น หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการองค์การระหว่างประเทศ เพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน สำนักงานประเทศไทย เป็นผู้แทนหน่วยงาน ได้ร่วมกันส่งผู้หนีภัยจากการสู้รบ กลับไปประเทศเมียนมา จำนวน 516 คน โดยจัดรถยนต์ตู้ และนำส่งไปยังจังหวัดเมียวดี ตรงข้ามบ้านริมเมย ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด ซึ่งมีเจ้าหน้าที่เมียนมา จากจังหวัดเมียวดี มาต้อนรับ

ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์ของประเทศเพื่อนบ้าน หรือ ประเทศเมียนมาดีขึ้น ทำให้ผู้หนีภัยฯ ตัดสินใจกลับไปด้วยความสมัครใจ ซึ่งการส่งผู้หนีภัยได้ดำเนินการระหว่างวันที่ 20 – 21 ก.พ.62  โดยวันแรกเป็นผู้หนีภัยจากการสู้รบจากพื้นที่พักพิงผู้หนีภัยจากการสู้รบ บ้านแม่หละ ตำบลแม่หละ อ.ท่าสองยาง ส่วนในวันที่ 21 ก.พ.นี้ จะเป็นผู้หนีภัยฯจากพื้นที่พักพิงบ้านอุ้มเปี้ยม ตำบลคีรีราษฎร์ อ.พบพระ

นายเมียววิน กล่าวว่า ผู้ไร้ถิ่นฐานทั้งหมด มีทั้งที่อยู่อาศัยในเมียนมา เพราะมีญาติอยู่ และไม่มีเลย  โดยทางรัฐบาลจะจัดที่อยู่อาศัยให้ หรือ หากผู้หนีภัยทั้งหมดจะกลับไปทำงานที่ประเทศไทย ก็สามารถทำหนังสือเดินทาง เข้าไปสู่แรงงานตาม MOU ได้

สำหรับผู้หนีภัยจากการสู้รบในพื้นที่พักพิงชั่วคราว ในพื้นที่จังหวัดตาก มี 3 แห่ง คือ พื้นที่บ้านอุ้มเปี้ยม ตำบลคีรีราษฎร์ อ.พบพระ พื้นที่พักพิงผู้หนีภัยจากการสู้รบ บ้านนุโพ ตำบลแม่จัน อ.อุ้มผาง และพื้นที่พักพิงผู้หนีภัยจากการสู้รบบ้านแม่หละ ตำบลแม่หละ อ.ท่าสองยาง รวมทั้งหมด กว่า 70,000 คน

ข้อมูลจาก สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ระบุว่า ครั้งนี้ เป็นการการเดินทางกลับครั้งที่ 3 เพื่อมอบโอกาสในการสร้างชีวิตใหม่ในประเทศบ้านเกิดแก่ผู้หนีภัยจากการสู้รบ หลังจากที่ต้องพลัดถิ่นมานานหลายสิบปีในประเทศไทย ซึ่งคาดว่าสัปดาห์นี้ จะมีผู้หนีภัยกว่า 500 คน ในประเทศไทย จะได้เดินทางกลับประเทศไปยังตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเมียนมา โดยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเดินทางกลับประเทศโดยสมัครใจ นำโดยรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา โดยการสนับสนุนจาก UNHCR และองค์กรพันธมิตร

ผู้หนีภัยจากการสู้รบจะออกเดินทางจากพื้นที่พักพิงจำนวน 5 แห่งบริเวณชายแดน และเดินทางข้ามแดนจากประเทศไทย ไปยังรัฐคะฉิ่น และคะยาของประเทศเมียนมา เมื่อผู้หนีภัยที่เดินทางกลับได้รับการต้อนรับจากเจ้าหน้าที่เมียนมา บริเวณชายแดน เพื่อเดินทางต่อไปยังศูนย์แรกรับ ที่ซึ่งพวกเขาได้รับความช่วยเหลือ อาทิ การมอบเอกสารในการเดินทางเข้าเมือง และการตรวจเช็คทางการแพทย์ และจากที่นั่น พวกเขาจะเดินทางต่อไปยังจุดหมายปลายทางของตน

จากสถานการณ์ที่พัฒนาในเชิงบวกบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของเมียนมา UNHCR จึงสนับสนุนกระบวนการเดินทางกลับที่นำโดยรัฐบาลมาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2559 โดยช่วยเหลือผู้หนีภัยที่ได้แสดงเจตจำนงค์อย่างชัดเจนว่าต้องการเดินทางกลับบ้านอย่างปลอดภัย และมีศักดิ์ศรี

ผู้หนีภัยได้รับข้อมูล และคำปรึกษาเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ในพื้นที่ที่ต้องเดินทางกลับจาก UNHCR และองค์กรพันธมิตร

นอกจากนี้ ผู้หนีภัยยังได้รับการสนับสนุนเรื่องการเดินทาง และการปรับตัวในการเดินทางกลับเบื้องต้นอีกด้วย จากความช่วยเหลือในการเดินทางกลับประเทศโดยสมัครใจใน 2 ครั้งที่ผ่านมา ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 และพฤษภาคม พ.ศ.2561 นั้น ผู้หนีภัยจำนวน 164 คนได้เดินทางกลับบ้านจากประเทศไทย และ UNHCR ยังคงติดตามการปรับตัวของผู้ลี้ภัยต่อสถานการณ์ในปัจจุบันในประเทศเมียนมาอย่างต่อเนื่อง

“ประเทศไทย ได้ทำหน้าที่เจ้าบ้านที่โอบอ้อมอารี มอบที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยมาเป็นเวลาหลายปี การช่วยเหลือให้เดินทางกลับประเทศในครั้งนี้ ถือเป็นความคืบหน้าในการมอบโอกาสให้ผู้ลี้ภัยที่ต้องการกลับบ้านได้เดินทางกลับอย่างปลอดภัย และสมศักดิ์ศรี” เจมส์ ลินช์ ผู้แทนข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติภูมิภาคเอเชีย และผู้ประสานงานประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

UNHCR จะประสานงานเพื่อมอบทางออกให้แก่ผู้ลี้ภัยที่ตกอยู่ในสถานการณ์ยืดเยื้อยาวนานในประเทศไทยต่อไป”

ทั้งนี้ ปัจจุบัน ยังมีผู้หนีภัยจากการสู้รบกว่า 97,000 คน จากประเทศเมียนมา อาศัยในพื้นที่พักพิงชั่วคราวจำนวน 9 แห่งบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธ์ชาวกะเหรี่ยง และกะเหรี่ยงแดง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า