SHARE

คัดลอกแล้ว

ในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมาคดีเสือดำยังคงเป็นข่าวที่อยู่ในความสนใจของสังคม และรอลุ้นว่าบทสรุปของผู้กระทำความผิดจะจบลงอย่างไร ซึ่งในวันที่ 19 มีนาคมนี้ ศาลชั้นต้นนัดฟังคำพิพากษา นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหารบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ จำกัด และพวกรวม 4 คน

ในอีกมิติหนึ่งของคดีนี้มีอีกคนที่เป็นที่พูดถึงมากที่สุดนั่นก็คือนายวิเชียร ชิณวงษ์ หัวหน้าเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตก ซึ่งเป็นหัวหน้าชุดจับกุมในคดีนี้ ตลอดการทำงานของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เริ่มเป็นที่พูดถึงและถูกจับตามองจากสังคมมากขึ้น

ภาพการทำงานของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าเริ่มฉายชัดเจนขึ้น จากการทำงานเพื่อดูแลผืนป่าให้กับคนไทยทั้งประเทศ พวกเขาเป็นเหมือนปราการด่านแรกก่อนที่คุณจะเข้าไปสู่ป่าผืนใหญ่ แม้ในวันที่ไม่มีเหตุการณ์อย่างคดีเสือดำ แต่พวกเขาก็ยังคงทำหน้าที่นี้อยู่ สวมชุดลายพราง ลากรองเท้าคอมแบท และเดินลาดตระเวนไม่ต่ำกว่า 15 วันต่อเดือน

ขณะที่รถจากมูลนิธิสืบนาคะเสถียรเคลื่อนเข้าไปยังทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตกเพื่อเข้าไปเยี่ยมเยียนหน่วยพิทักษ์ป่าที่ไกลออกไปหลายกิโล ผู้เขียนได้มีโอกาสพูดคุยกับหัวหน้าวิเชียรถึงการทำงานของหน่วยพิทักษ์ป่าในช่วง 1 ปีหลังคดีเสือดำถึงการทำงานตอนนี้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งก่อนจะเริ่มพูดคุยเรื่องการทำงานที่ว่านี้ ผู้เขียนได้ถามหัวหน้าวิเชียรถึงข้อสงสัยว่าทำไมเหตุการณ์ครั้งนี้ถึงเป็นที่พูดถึงของสังคมมากนัก คำตอบหลายอย่างที่หัวหน้าวิเชียรพูดออกมานั้นทำให้ผู้เขียนไม่แปลกใจเลยว่าทำไมเขาถึงยืนหยัดที่จะปกป้องป่าผืนนี้อยู่

ทำไมคดีเสือดำถึงได้เกิดในทุ่งใหญ่นเรศวรแห่งนี้

เหตุการณ์การล่าสัตว์ป่าหรือทำลายทรัพยากรธรรมชาติมันเกิดได้ทุกที่ที่มีทรัพยากรอยู่ มันสำคัญที่ว่าคนที่เข้ามา คุณเข้ามาเพื่ออะไร ถ้าหากคุณเข้ามาในพื้นทีเพื่อลักลอบกระทำความผิดแล้ว เจ้าหน้าที่ไม่สามารถที่จะเข้าไปติดตามหรือจับตามองคุณได้ทุกฝีก้าว หากคุณเข้ามาเพื่อฉกฉวยทรัพยากรออกไปมันก็สามารถเกิดเหตุการณ์แบบนี้ได้ทั้งสิ้นไม่ว่าอยู่ที่ไหน

ตัวผู้กระทำความผิดถ้าเป็นคนที่มีชื่อเสียง มีหน้าตาทางสังคม หรือมีความร่ำรวย ถ้ามีการทำความผิดไม่ว่าจะเกิดที่ทุ่งใหญ่นเรศวรหรือไปเกิดที่อุทยานเล็ก ๆ ไม่ค่อยมีใครรู้จัก แต่คดีนั้นก็จะเป็นที่จับตาของสังคม เพราะว่าสังคมไทยทุกวันนี้ยังมีความเคลือบแคลงสงสัยต่อกระบวนการยุติธรรม ซึ่งมันก็มีหลายคดีที่ผู้ที่มีฐานะทางสังคม มีชื่อเสียง ใช้พลังของตัวเองในคดีที่ผิดรูป หรือให้ได้รับโทษที่เบาลง หรือแม้กระทั่งการหลบหนี ถ้าเป็นชาวบ้านมาล่าเสือดำตัวนี้ในทุ่งใหญ่นเรศวรก็คงไม่เป็นข่าวนานขนาดนี้ สังคมอาจจะสนใจแค่ชั่วคราวเท่านั้น แต่ในวงการอนุรักษ์ก็จะมีการพูดถึงอยู่บ้างแต่สังคมโดยกว้างคงไม่สนใจขนาดนี้

หัวหน้าวิเชียร ยังเล่าอีกว่าจากการทำงานที่ต้องอยู่กับป่ามาหลายปี ทุ่งใหญ่นเรศวรเรียกได้ว่าเป็นป่ามหัศจรรย์ ที่แห่งนี้มีความพิเศษ ความอุดมสมบูรณ์ของป่าและสัตว์ป่า หากมีโอกาสอ่านนิยายเรื่องการท่องป่า เช่น ล่องไพร หรือเพชรพระอุมา ทุ่งใหญ่นเรศวรน่าจะเป็นป่าที่ใกล้เคียงที่สุดในนิยายเรื่องนี้ จากความสมบูรณ์ในเรื่องของสัตว์ป่า ประเภทป่าต่าง ๆ มันเหมาะสมแล้วที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ

 

ผู้พิทักษ์ป่าในทุ่งใหญ่วันนี้เป็นอย่างไรบ้าง

เรายังคงทำหน้าที่เหมือนเดิม แต่สิ่งที่ทำให้เรามีแรงที่จะทำงานต่อนั่นก็คือกำลังใจจากคนไทยโดยเฉพาะคำว่าสู้ ๆ อันนี้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดแล้ว ซึ่งก่อนเกิดเหตุการณ์มันก็มีกำลังใจเข้ามาอยู่แล้ว แต่วันนี้มันมีเพิ่มมากขึ้น

เจ้าหน้าที่ป่าไม้แทบทุกคน น่าจะคิดคล้าย ๆ กับผม หนึ่งมันเกิดจากความชอบ ชอบที่จะทำงานในพื้นที่ป่า อยู่กับธรรมชาติ เห็นต้นไม้สีเขียว เห็นสัตว์ป่า แล้วเราก็ภูมิใจที่ยังรักษาให้มันอยู่ อย่างคนทุ่งใหญ่ฯ ผมว่าเป็นความภาคภูมิใจที่ได้ดูแลป่าผืนใหญ่นี้ไว้ได้ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารเป็นฐานทรัพยากรในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของประเทศ

เจ้าหน้าที่บางคนเขาไม่ได้สนใจหรอกว่าเขาทำงานเพื่อดูแลฐานเศรษฐกิจและสังคม แต่เขาภูมิใจตรงที่ว่าต้นไม้ไม่ถูกตัด สัตว์ยังมีอยู่เยอะ ถ้าวันนี้เห็นเสือมันจะเกิดความรู้สึกที่ว่าเราจะต้องรักษาสัตว์ป่าพวกนี้ไว้ให้ได้ นี่คือสิ่งที่เจ้าหน้าที่เขามอง

ตลอด 4 วัน ในทุ่งใหญ่นเรศวรสำหรับผู้เขียนแล้วเหมือนเป็นการพาตัวเองไปอีกโลกหนึ่ง โลกที่มีแต่ความเงียบสงบ สวยงาม เราถูกรายล้อมด้วยธรรมชาติ ไม่มีเสียงแจ้งเตือนจากสังคมออนไลน์ ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต ทุกอย่างถูกตัดขาดจากโลกภายนอก แต่สิ่งนี้มันทำให้เราได้พูดคุยและรับฟังกับคนตรงหน้ามากขึ้น

เชื่อว่าธรรมชาติจะเยียวยาให้หัวใจของคุณแข็งแรงขึ้น และขอขอบคุณพวกเขาที่ช่วยดูแลป่าผืนนี้ให้กับพวกเราทุกคน

 

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก: มูลนิธิสืบนาคะเสถียร

  • บทความ นูรซาลบียะห์ เซ็ง เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสารองค์กร มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
  • ภาพประกอบ กชกร พันธุ์แสงอร่าม เจ้าหน้าที่สื่อสารองค์กร มูลนิธิสืบนาคะเสถียร

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า