SHARE

คัดลอกแล้ว

โค้งท้าย “เพื่อไทย” ชูนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคมาต่อยอดเป็นนโยบายระยะ 2 เน้นสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค พร้อมเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพประชาชนติดตามผลได้ง่าย พ่วงขายไอเดีย หวยบำเหน็จ ยังเสี่ยงโชคได้แบบมีเงินเก็บแม้รางวัลจะน้อยกว่า

วันที่ 21 มี.ค. นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทย และนายสุรชาติ เทียนทอง ผู้สมัคร ส.ส. กทม. เขต 9 (หลักสี่) เดินตลาดเคหะท่าทราย ตักบาตร ทักทายพ่อค้าแม่ค้าและประชาชนในพื้นที่

นายชัชชาติ กล่าวตอนหนึ่งว่า ชุมชนท่าทรายเป็นชุมชนที่เข้มแข็งและอบอุ่นน่ารัก ชุมชนรู้ปัญหาดีกว่าส่วนกลาง ดังนั้นต่อไปหากใช้รูปแบบการกระจายอำนาจและให้ชุมชนบริหารจัดการกันเอง เช่น กองทุน SML ทำให้ชุมชนยิ่งเข็มแข็ง รู้ความต้องการของชุมชนเอง และเป็นการฝึกประชาธิปไตยขั้นพื้นฐานให้คนมาคุยกันตรวจสอบกัน ทำชุมชนเล็กๆ เป็นหน่วยเล็กสุดให้เข้มแข็งแล้วประเทศจะเข้มแข็งขึ้น ดังนั้นกองทุน SML ที่เคยทำมาในอดีตก็เป็นตัวอย่างที่ดีที่ชุมชนตอบโจทย์ตัวเองได้

ส่วนปัญหาที่พบเจอในการพูดคุยกับประชาชนวันนี้ เช่น การผูกขาดสลากกินแบ่งรัฐบาล แม่ค้าอยากได้โควต้าเพิ่มเนื่องจากรับมาจากยี่ปั๊วในราคา 83 บาททำให้ขายในราคา 80 บาทไม่ได้ ซึ่งตนคิดว่านโยบายหวยบำเน็จจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับพ่อค้าแม่ค้า ขายร่วมกับสลากกินแบ่งรัฐบาล ขณะเดียวกันจะช่วยแก้ปัญหาผู้สูงอายุจนก่อนรวยเพราะไม่มีเงินออม

“คนจะอยู่ได้ต้องมีเงินอย่างน้อย 50% ของเงินเดือนสุดท้าย แต่ทุกวันนี้มีแค่ข้าราชการ ส่วนประกันสังคมเองก็ให้เงินแค่ 24% ปัจจุบันมีคนร่วมกองทุนการออมแห่งชาติ 5 แสนคนจากเป้าหมาย 25 ล้านคน ดังนั้นหวยบำเน็จจะตอบโจทย์เรื่องการออมและสังคมผู้สูงวัยของประเทศไทย ให้มีแรงจูงใจในการออม แม้รางวัลอาจจะไม่เยอะเท่ากับสลากกินแบ่งรัฐบาลแต่จะได้เงินต้นคืนในรูปแบบของการออม”

นอกจากนี้จะเห็นได้ว่าในชุมชนมีผู้สูงอายุเยอะ ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ พรรคเพื่อไทยมีโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคระยะ 2 ที่มีหัวใจคือการดูแลป้องกันให้สุขภาพแข็งแรงขึ้น การมีสวนสาธารณะมีที่ออกกำลังกาย การให้ความรู้เรื่องการกินทำให้ผู้สูงอายุเข้าใจในการดูแลสุขภาพ ช่วยลดภาระในการดูแลและทำให้สังคมผู้สูงอายุมีความเข้มแข็งและมีสุขภาพที่ดี แทนที่จะต้องไปรักษาตอนหลัง

และจะกระจายหน่วยพยาบาลลงไปให้ถึงเส้นเลือดฝอยของไทย ตามนโยบายไทยเท่าเทียม ทุกคนต้องเข้าถึงสิทธิ์ที่เท่าเทียมกันด้วยระยะเวลาที่เร็ว โรงพยาบาลอาจจะเป็นโซน ลงทะเบียนได้หลายโรงพยาบาล คือเอาประชาชนเป็นที่ตั้งและตอบโจทย์ตรงนั้น ใช้แอปพลิเคชั่นในการตรวจชีพจรวัดความดันและส่งไปที่ส่วนกลาง บุคลากรอาจจะไม่ต้องลงไปเอง แต่ให้คนในหมู่บ้านหรือ อสม. ลงไปเยี่ยมและเอาเทคโนโลยีไปใช้ถ่ายข้อมูลเข้ามาคลังข้องมูลกลางในโรงพยาบาลที่ลงทะเบียนไว้ แล้วบุคลากรเฝ้าติดตามผลตรวจสุขภาพของประชาชนจะทำให้แก้ปัญหาได้ตรงและรวดเร็วขึ้น เห็นความต่อเนื่องและแพทย์สามารถดูประวัติย้อนหลังได้ หากทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ จะทำให้ข้อมูลเชื่อมโยงสื่อสารกันง่าย เพราะปัจจุบันโรงพยาบาลยังมีฐานข้อมูลที่ต่างกันอยู่ ถ้าทำให้ฐานข้อมูลให้เป็นอันเดียวกัน การให้บริการก็จะสะดวกขึ้น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า