SHARE

คัดลอกแล้ว

ในขณะที่สถานการณ์การจับขั้วจัดตั้งรัฐบาลระหว่างขั้วพรรคเพื่อไทยกับพรรคพลังประชารัฐ ยังอยู่ในสภาพเสมือนตรึงกำลัง เพราะยังมีความไม่ชัดเจนในระบบการคำนวณเก้าอี้ ส.ส.แบบปาร์ตี้ลิสต์ ของ กกต. ที่แม้จะถอดรหัสตามกฎหมายก็ยังออกมาได้เป็น 2 สูตร

ยิ่งไปกว่านั้น 2 สูตรที่ว่า สูตรหนึ่งจะทำให้ขั้วเพื่อไทย รวบรวมเสียงได้มากกว่า 250 แต่ถ้าคำนวณอีกสูตรจะกลับเป็นขั้วพลังประชารัฐ รวบรวมเสียงได้มากกว่า

นอกจากนั้น พรรคที่เป็นตัวแปรสำคัญ ทั้ง ภูมิใจไทย และ ชาติไทยพัฒนา ยังเลือกที่จะขอยืดเวลาตัดสินใจด้วยการรอผลอย่างเป็นทางการจาก กกต.ก่อน ซึ่งอาจจะกินเวลาไปจนถึง 9 พ.ค. ยังไม่รวมกับการพิจารณาของ กกต. ที่อาจจะทำให้มีการเลือกตั้งในบางเขต ซึ่งจะส่งผลต่อคะแนนที่มาคำนวณ ส.ส.ไปด้วย ทำให้สภาพการแข่งกันจับขั้วแบบตรึงกำลังน่าจะต้องยืดระยะไปอีกพักใหญ่

ทั้งนี้ ระหว่างยังไม่มีความชัดเจน  ถ้าดูกรณี พรรคภูมิใจไทย ที่นำโดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล ท่ามกลางข่าวลือว่า ฝั่งเพื่อไทยยอมทุกอย่างแม้กระทั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรี หากภูมิใจไทยจะยอมเลือกมาร่วมงานกับขั้วนี้ น่าสนใจว่าเก้าอี้ผู้นำ เบอร์ 1 จะดึงดูดใจหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ได้มากน้อยแค่ไหน เราจะลองอ่านใจเขาดู

หากย้อนกลับไปตั้งแต่ข่าวการร่างรัฐธรรมนูญและกำหนดกติกาการเลือกตั้งแบบใหม่ ที่ใช้บัตรเลือกตั้งใบเดียวคำนวณทั้งคะแนนเขตและบัญชีรายชื่อ “ภูมิใจไทย” ได้รับการจับตามมองว่า จะเป็นพรรคที่ได้รับประโยชน์จากระบบใหม่ที่ทำให้ได้ ส.ส.เพิ่มขึ้น และจะเป็นตัวแปรสำคัญ

ในบทสัมภาษณ์เมื่อ 5 มี.ค. 2559 อนุทิน ตอบคำถามที่ว่า ถ้าพรรคอันดับ 1-2 คะแนนใกล้กันมากและทั้งคู่อยากคุยกับภูมิใจไทย จะตัดสินใจอย่างไร (ดูช่วง นาทีที่ 7.54 เป็นต้นไป)

“ก่อนจะถึงจุดนี้ จะต้องมีการแก้ไขปัญหากำหนดแนวทางก่อนจะมาถึงพรรคเล็กๆ กลางๆ อย่างผมอยู่แล้ว ซึ่งก็ดีเหมือนกันนะการที่ไม่ได้เป็นพรรคแกน บางทีทางเลือกอยู่ที่เรา ซึ่งในหลายปีที่ผ่านมาเราไม่ค่อยมีทางเลือกเท่าไร บางครั้งเมื่อเราสามารถกำหนดทางเลือกเองได้เนี่ย เราก็จะได้เป็นตัวของตัวเอง สามารถทำอะไรโดยที่ไม่ต้องฝืนใจ ฝืนความรู้สึก แต่หลักการว่าจะไปทางใด ในความเป็นนักการเมืองก็คือดูประโยชน์ของการที่เราจะสามารถคืนให้กับบ้านเมือง คืนให้กับผู้มีสิทธิออกเสียง ทุกอย่างผลลัพธ์ปลายทางคือประโยชน์ของบ้านเมือง ของประชาชนที่เลือกพวกเราเข้ามา”

“ถ้าคิดแค่ตรงนี้ผมไม่ต้องคิดอะไรล่วงหน้า Come what may มันจะมีคำตอบลอยอยู่ในอากาศ ที่เราจะต้องเลือก และก็เลือกให้ถูกครับ”

และต่อมาในหนังสือ “มีรู…มีหนู” ที่เขียนถึงประวัติและมุมมองของอนุทิน โดย “ราม สนธิ” พิมพ์ครั้งแรก ธ.ค. 2559 เขาก็ต้องตอบคำถามเรื่องเป็นตัวแปรสำคัญของทุกขั้วการเมืองอีกครั้ง รวมไปถึงกลไกการเลือกตั้งที่อาจจะทำให้พรรคขนาดกลางถึงขนาดต่อรองในการจัดตั้งรัฐบาล หากพรรคใหญ่ทำไม่ได้

อนุทิน ตอบในตอนนั้นว่า ถ้าฉวยโอกาสไปต่อรองเพื่อให้ภูมิใจไทยได้เก้าอี้นายกรัฐมนตรี แม้ว่าจะได้แต่จากนั้นแค่ 2-3 เดือนสถานภาพนายกฯ จะหมดลง พรรคใหญ่กว่าจะมาขอทุกอย่าง หากตอนมี 50 เสียงจะสู้กับพรรคแกนนำ 200 เสียงขึ้นไปได้อย่างไร

พร้อมย้ำว่า การได้ตำแหน่งต้องมีความสง่างามทำงานได้ ได้รับเกียรติจากเพื่อร่วมงาน ถ้าอย่างนั้นเลือกเป็นนั่งร้านให้คนอื่นได้ดี แต่บ้านเมืองเดินไปได้ดีกว่า

บทสัมภาษณ์อีกครั้ง ก่อนการเลือกตั้งที่ชัดเจนที่สุด คือเมื่อ 7 ธ.ค. 2561 โดยพูดถึงประโยคสำคัญว่าไม่เป็นนายกฯ ตาอยู่ และ ไม่อยากอยู่ในสภาพตกนรก

“ผมทำงานการเมือง ผมมีศักดิ์ศรี ที่ผ่านมามีคนบอกว่าผมจะเป็นนายกรัฐมนตรีตาอยู่ ผมบอกเลย ตาอินกับตานา เขาแย่งปลากัน แล้วตาอยู่ มาคว้าพุงปลาไปกิน ในขณะที่เขาทะเลาะกัน แสดงว่าตาอยู่เป็นคนไม่ดี เพราะแทนที่จะไปไกล่เกลี่ย ดันไปฉวยโอกาส วิถีของตาอยู่ไม่ใช่แนวทางของผม”

และขยายความว่า หากพรรคภูมิใจไทย มีเสียงเป็นอันดับรอง จะไม่เป็นนายกฯ และไม่ต่อรองขอตำแหน่ง เนื่องจากพรรคอันดับต้นเขารู้แล้วว่าเราไม่ใช่ตัวจริง ตนไม่อยากตกนรก

เมื่อประกอบกับการที่อนุทินมีบุคลิกเข้าได้กับทุกฝ่ายและไม่อยากเป็นศัตรูกับใคร จึงมีโอกาสมากที่เขาจะเลือกแนวทางที่ไม่แตกหักกับใคร

ครั้งก่อนหน้านี้ที่เขาเลือกจะแตกหัก คือ ครั้งงูเห่าการเมืองภาค 2 ที่ ส.ส. พรรคพลังประชาชน กลุ่มเพื่อนเนวิน เลือกจะเปลี่ยนขั้วหลังพรรคถูกยุบไม่ร่วมกับเพื่อไทยที่ตั้งขึ้นใหม่ แต่ไปยกมือโหวตให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกฯ ตามการเดินเกมของสุเทพ เทือกสุบรรณ

ในตอนนั้นทุกคนจับตาไปที่ เนวิน ชิดชอบ ในฐานะหัวหน้ากลุ่ม แต่หนึ่งในคนที่ร่วมตัดสินใจ คือ อนุทิน แม้สถานภาพตอนนั้นเขาจะยังถูกตัดสิทธิ์การเมืองจากการเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกยุบไปเมื่อปี 2550 เช่นเดียวกัน แต่เพราะผู้นำของกลุ่มที่มีบทบาทในฐานะ ส.ส.ก็คือ “ปู่จิ้น” ชวรัตน์ ชาญวีรกูล พ่อของเขานั่นเอง

เข้าได้กับทุกพรรคการเมือง ภาพจาก FB Anutin Charnvirakul (5 เม.ย.2561)

หลายปีหลังจากนั้น เขาตัดสินใจเดินทางไปขอปรับความเข้าใจกับ ทักษิณ ชินวัตร ที่ยังคงมีอิทธิพลทางการเมืองแม้ตัวจะอยู่แดนไกล เพื่อไม่ให้กระทบกับพรรคภูมิใจไทย ที่มี ชวรัตน์ พ่อของเขาเป็นหัวหน้าพรรคอยู่ ก่อนที่เขาจะรับไม้ต่อ เมื่อปี 2555 โดยมี “เนวิน ชิดชอบ” ที่เขานับถือเป็นพี่ชาย ต่างสายเลือดเป็นที่ปรึกษาคนสำคัญ

และยังรักษาจุดยืนอย่างเหนียวแน่นที่จะเป็นมิตรกับทุกฝ่ายและเลือกที่จะไม่ “หัก” กับใครอีก

ภาพจาก FB Anutin Charnvirakul (2 ต.ค.2560)

เส้นทางการเมือง อนุทิน ชาญวีรกูล
– 2539 ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ประจวบ ไชยสาส์น)
– 2547 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ประมาณ 3 เดือน ) (คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็น รมว.สาธารณสุข)
– 2547 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (5 เดือน) (วัฒนา เมืองสุข เป็น รมว.พาณิชย์)
– 2548 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (เกือบ 1 ปี) (สุชัย เจริญรัตนกุล และ พินิจ จารุสมบัติ เป็น รมว.สาธารณสุข)
– 2550-2555 ถูกตัดสิทธิการเมืองจากการเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย
– 2555 หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ฝ่ายค้านหลังการเลือกตั้ง 2554)

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า