SHARE

คัดลอกแล้ว

การเมืองไทยในระยะ 10 กว่าปีที่ผ่านมา เต็มไปด้วยความผันผวน ทั้งการเลือกตั้ง การรัฐประหาร แต่ตัวละครที่โลดแล่นอยู่ในปัจจุบันนี้ หากย้อนกลับไปจะพบว่าล้วนมีความสัมพันธ์กันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

ในช่วงปลายรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พรรคเพื่อไทยที่เป็นแกนนำฝ่ายค้านยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายอภิสิทธิ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอีก 9 คน  ระหว่างวันที่ 15-17 มีนาคม 2554

หัวหน้าทีมอภิปรายของพรรคเพื่อไทย คือ นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์

การตัดสินใจวางตัวหัวหน้าทีมของ “ทักษิณ ชินวัตร” ทำให้เกิดรอยร้าวขึ้นในพรรค เพราะหัวหน้าทีมอภิปรายไม่ไว้วางใจ 2 ครั้งก่อนหน้า คือ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประกาศไม่ร่วมอภิปราย โดยอ้างว่าอยากให้ “มิ่งขวัญ” ได้ทำหน้าที่ได้เต็มที่ แต่หลายคนเชื่อว่าน่าจะเกิดความไม่พอใจ จน “ทักษิณ” ต้องมีการเคลียร์ใจกันในภายหลัง

 

โฟกัสในตอนนั้นมองกันว่า “ทักษิณ” เลือกแล้วให้ “มิ่งขวัญ” ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำพรรค

ผู้ติดตามการขึ้นเวทีดีเบตของ มิ่งขวัญ ใน พ.ศ.นี้ อาจจะไม่แปลกใจกับการเตรียมชาร์ตมากมายประกอบการพูด แต่ในยุคนั้นต้องถือว่า แปลกใหม่ ซึ่ง มิ่งขวัญ เริ่มใช้ตั้งแต่การอภิปรายงบประมาณที่เกิดขึ้นก่อนไปแล้ว ส่วนศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ เขาใช้เพาเวอร์พอยต์และแผ่นชาร์ตรวมกันถึง 119 แผ่น

จนได้รับฉายาตอนนั้นว่า “นักรบเพาเวอร์พอยต์”

ส่วนผลการอภิปรายแม้ในภาพรวมนักวิเคราะห์จะมองว่า ข้อมูลไม่ใหม่และไม่มากพอที่จะส่งผลต่อรัฐบาล แต่ก็ทำให้เครดิตทางการเมืองของ “มิ่งขวัญ” ที่ถูกมองว่าไร้ประสบการณ์ดูดีขึ้น

ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 158 กำหนดไว้ว่า ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ต้องเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปด้วย

นั่นเท่ากับว่า “มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์” ได้ขึ้นแท่นเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี แม้จะเป็นเพียงในขั้นตอนของกฎหมายก็ตาม

 

หลังจากนั้นไม่นานจะเข้าสู่การเลือกตั้ง เพราะนายกฯ อภิสิทธิ์ ประกาศจะยุบสภาในเดือน พฤษภาคม 2554 “มิ่งขวัญ” ที่มั่นใจว่า ทำหน้าที่ผู้นำในศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ดี ก็ย่อมคาดหวังถึงการได้รับเลือกเป็นผู้นำลงสนามเลือกตั้งครั้งต่อไป

ประกอบกับการที่เขาสามารถดึง ส.ส.พรรคเพื่อไทย มาสังกัดกลุ่มของเขาได้ถึง 70-80 คน กลายเป็นมุ้งใหญ่มุ้งหนึ่งในตอนนั้น

อย่างไรก็ตาม “ทักษิณ ชินวัตร” เจ้าของพรรคตัวจริง คือ ผู้ตัดสินใจในขั้นตอนสุดท้าย

สมัคร สุนทรเวช

เขาเคยไว้ใจเลือก นายสมัคร สุนทรเวช มาเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคพลังประชาชน แต่เมื่อขึ้นสู่อำนาจก็เกิดระยะห่างจนควบคุมไม่ได้
จนต่อมาต้องเลือกใช้น้องเขยอย่าง “สมชาย วงศ์สวัสดิ์” แต่อยู่ได้เพียง 75 วันก็ถูกยุบพรรคและตัดสิทธิทางการเมือง

คุณสมบัติสำคัญของ “มิ่งขวัญ” คือ เขาสามารถพูดคุยเจรจากับหลายฝ่าย ซึ่งน่าจะเหมาะกับสถานการณ์

แต่ที่สุดแล้วตัวเลือกของทักษิณ กลับเป็นคนใกล้ชิดอย่าง “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” น้องสาวแท้ๆ ที่เปิดตัวทางการในฐานะปาร์ตี้ลิสต์อันดับ 1 เมื่อ 16 พฤษภาคม 2554 และพาพรรคชนะการเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาลในการเลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ในระยะเวลา 49 วัน

ข้อมูลที่น่าสนใจ ในหนังสือ “กระบี่แพรพรรณ ยิ่งลักษณ์ การเมืองนำการเมือง” โดยสำนักพิมพ์มติชน อ้างถึงรายงานข่าวของแกรนต์ เพ็ก ผู้สื่อข่าวเอพี ที่อ้างถึง เอกสารของเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทยที่ส่งถึงกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ เมื่อปี 2552 ซึ่งเป็นชุดเอกสารที่หลุดมาเว็บไซต์วิกิลีกส์นำมาเผยแพร่

เอกสารนั้นระบุถึงการพบกันระหว่างทูต เอริก จี จอห์น กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ และนายนพดล ปัทมะ คนสนิทของ “ทักษิณ” โดยท่านทูตเขียนในบันทึกว่า ใครบางคนอาจเข้ามาในท้ายเกมเพื่อดูแลพรรคและเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป และอ้างอิงถึงประโยคที่ “นพดล” พูดตอนจะกลับว่า “คุณเพิ่งจะเช็กแฮนด์กับนายกรัฐมนตรีคนต่อไปของประเทศไทย” หลังการจับมืออำลาระหว่างท่านทูต กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์

วันที่พูดคุยคือ 23 พฤศจิกายน 2552 หรือประมาณ 1 ปี ของอายุรัฐบาล “อภิสิทธิ์” เท่านั้น และห่างจากศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ “มิ่งขวัญ” นำทัพ มากกว่า 1 ปี

แต่ที่จริง “ยิ่งลักษณ์” ก็เริ่มเข้ามาทำกิจกรรมกับพรรคแล้วตั้งแต่ปี 2551

มิ่งขวัญ รับบทบาทหัวหน้าทีมเศรษฐกิจในรัฐบาล สมัคร สุนทรเวช

นั่นเท่ากับว่า ในระหว่างที่ “มิ่งขวัญ” กำลังทำหน้าที่ของตนเองและคาดหวังถึงการตอบแทนการทุ่มเท ด้วยตำแหน่งแม่ทัพลงสนามเลือกตั้ง แต่ผู้มีอำนาจตัดสินใจตัวจริงอาจจะมีคำตอบในใจไว้นานแล้ว เมื่อประกอบกับการที่ในพรรคประเมินว่าศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจยังไม่เข้าเป้าเท่าที่ควร ชื่อของ “มิ่งขวัญ” ก็ถูกลดลำดับลงไป

การเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม 2554 พรรคเพื่อไทย ชนะ พรรคประชาธิปัตย์ ไปขาดลอย 265 – 159 เสียง

“ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ได้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย ส่วน “มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์” ที่ถูกวางเป็นปาร์ตี้ลิสต์ ลำดับที่ 6 ไม่ได้รับตำแหน่งใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งที่เคยเป็นถึงหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีพาณิชย์ และรัฐมนตรีอุตสาหกรรม ในยุครัฐบาลสมัคร สุนทรเวช

บทบาทในพรรคจากนั้นก็ลดลงเรื่อยๆ และยื่นใบลาออกจากพรรคในที่สุด  ทิ้งเรื่องราวของการเข้าใกล้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมากที่สุดไว้เบื้องหลัง

ก่อนจะกลับมาอย่างน่าตื่นตาตื่นใจ ในบทบาท “ลุงมิ่ง” ของหลานๆ ในการเลือกตั้ง 24 มี.ค. 2562 และกลายเป็นตัวแปรสำคัญในการจัดตั้งรัฐบาล

นักวิเคราะห์มองว่า ถ้าเข้าใจเหตุการณ์ในหนหลัง จะเข้าใจระยะห่างที่ “มิ่งขวัญ” เว้นไว้กับพรรคเพื่อไทยใน พ.ศ.นี้

แม้ว่าจะประกาศแนวทางไปทางเดียวกันก่อนหน้านี้ก็ตาม

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า