SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – พระภิกษุวัดนครทิพย์ ต.เตาปูน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ได้บวชเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลเดช รัชกาลที่ 9 ขึ้นไปพัฒนาพื้นที่บนเขาสูงประมาณ 350 เมตร พบอิฐแดงสมัยโบราณลักษณะเป็นเจดีย์เก่าแก่สมัยอยุธยาอายุกว่า 400 ปี ขณะนั่งสวดมนต์มีฝูงกาบินวนกว่า 50 ตัว

วันที่ 1 พ.ย. 60 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายโชคดี ตั้งตรงจิตร เกษตรอำเภอวัดเพลง จ.ราชบุรี อดีตพระภิกษุที่เคยบวชอยู่ที่วัดนครทิพย์ หมู่ที่ 3 ต.เตาปูน อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ในพิธีอุปสมบทหมู่เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ช่วงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พร้อมพระสมุดิเรก อติเรกสุโภ เจ้าอาวาสวัดนครทิพย์ ได้เดินขึ้นไปเยี่ยมพระลูกวัดที่ได้ไปนั่งวิปัสสนากรรมฐานอยู่บนบริเวณยอดเขาที่สูงชัน มีระยะทางจากพื้นล่างสู่ยอดสูงประมาณ 350 เมตร เป็นทางเดินเท้าที่ต้องใช้ความระมัดระวัง

หลังพระลูกวัดที่บวชถวายในหลวง รัชกาลที่ 9 ไปพัฒนาพื้นที่ พบเจดีย์เก่าโบราณมีอายุประมาณกว่า 400 ปี  มีร่องรอยโบราณสถานหลายจุด และยังพบหินศิลาแลงเก่าสมัยโบราณ มีตระไคร่น้ำเกาะขึ้นอยู่บริเวณก้อนจำนวนมาก มีลักษณะของการก่อขึ้นไปเป็นชั้นๆ วางเรียงต่อกัน เมื่อขึ้นไปด้านบนจะพบอิฐศิลาแลงวางเรียงก่อเป็นรูปวงกลม ตรงกลางมีรอยยุบลงไปจนเห็นได้ชัด ชาวบ้านได้กล่าวขานเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ เคยเข้าไปหาเห็ดโคนและของป่าได้หลงเดินเข้าไปในป่า หายตัวไปนานกว่า 2 วัน แต่ตามตัวพบ ชาวบ้านบางคนขึ้นไปหาของป่าพบเจองูจงอางตัวใหญ่นอนขดอยู่บนฐานเจดีย์ บางคืนได้ยินเสียงเครื่องดนตรีดังแว่วมาแต่ไกล

พระสมุดิเรก อติเรกสุโภ เจ้าอาวาสวัดนครทิพย์ เปิดเผยประวัติความเป็นมาว่า เจดีย์เขาน้ำพุที่วัดนครทิพย์มาจากคำบอกเล่าของชาวบ้านได้เล่าสืบต่อกันมาว่า ปู่ย่าตายายได้เห็นกันมานานแล้ว และเดิมพื้นที่เจดีย์นี้มีก้อนหินที่สวยงามอยู่เต็มไปหมด มีต้นโพธิ์อยู่ด้านทิศตะวันออกขึ้นคู่ขนาบเจดีย์อยู่ 2 ต้น เป็นต้นโพธิ์ใหญ่ที่ชาวบ้านขึ้นมากราบไหว้บูชากัน บริเวณต้นโพธิ์จะมีแผ่นหิน ซึ่งโคนต้นโพธิ์ต้นหนึ่งเป็นแผ่นหินที่สามารถเป็นที่นอนได้ อีกโคนต้นหนึ่งเป็นแผ่นหินทีสามารถนั่งได้ 2 – 3 คน มาจากคำบอกเล่าของชาวบ้านในขณะนั้น

ต่อมามีชาวบ้านตัดไม้เอาไปทำฟืนกระทั่งไม้ในพื้นหมดจึงเผาป่า สุดท้ายไฟได้ลุกไหม้ต้นโพธิ์ไปด้วย จึงเหลือแต่เจดีย์และก้อนหิน ชาวบ้านจึงช่วยกันขนก้อนหินเอาไปประกอบกิจการ  ทางพระครูโสภณมงคลกิจ เจ้าอาวาสรูปแรก และอดีตเคยเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ได้ขอความร่วมมือชาวบ้านให้ช่วยกันปลูกป่ารักษาต้นไม้ ช่วยกันดูแลเจดีย์แห่งนี้ ทางวัดได้ให้การช่วยเหลือชาวบ้าน โดยนำลูกหลานในชุมชนมาบวชสามเณร จัดฝึกอบรม มีอาหารมอบให้ มีเรื่องเดือดร้อนก็จะช่วยเหลือ และขอให้ชาวบ้านมาปลูกป่าทุกวันพระ ให้ปลูกคนละ 1 ต้น จะช่วยให้ทุกคนรักต้นไม้จนกลับมาเป็นป่าที่มีสภาพสมบูรณ์เหมือนเดิม

และเมื่อวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา มีทหาร ตำรวจ และหน่วยงานต่างๆ รวมถึงประชาชน ได้จัดพิธีบวชถวายเป็นพระราชกุศลแด่ในหลวง รัชกาลที่ 9 ซึ่งได้บวชที่วัดเขาช่องพราน แต่มาปฏิบัติธรรมวัดนครทิพย์ และขึ้นมาบนยอดเขาจนมาพบเห็นสภาพเจดีย์เก่าที่รกร้างเป็นป่าทึบไม่เห็นอะไร จึงได้มาบอกพระสมุดิเรกขอพัฒนาพื้นที่เจดีย์เพื่อถวายพ่อหลวง เพราะพ่อหลวงเป็นนักพัฒนา พระสมุดิเรกจึงบอกไปว่าเป็นเรื่องที่ดี จนมาเป็นพื้นที่ที่โล่ง มองเห็นสภาพเก่าโบราณอย่างที่เห็น

จากคำบอกเล่าของกรมศิลปากรที่ได้เดินทางมาสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้ คาดว่า พื้นที่ตั้งเจดีย์มีอายุประมาณ 400 – 500 ปี หรือประมาณสมัยอยุธยาตอนต้นถึงตอนกลาง มีบางส่วนเป็นก้อนอิฐของเจดีย์ มีขนาด 7 – 9 นิ้ว ซึ่งบล็อกไม่เท่ากัน สันนิษฐานว่าคงจะทำด้วยมือ ภายในเจดีย์ที่เป็นพื้นเรียงกันเป็นชั้นๆ แสดงว่าภายใต้เจดีย์อาจจะมีชั้นของแผ่นหินอยู่ข้างในอีก ต้องรอการสำรวจอย่างละเอียด นอกจากนี้ ยังมีอิฐบางก้อนที่เป็นรูปบัว โดยเกิดขึ้นจากการแกะสลัก ซึ่งเป็นรูปบัวของหิน น่าจะเป็นสมัยทวาราวดี แต่ยังไม่ยืนยันเป็นที่แน่นอน

พระสมุดิเรก บอกอีกว่า มีท่านผู้ใหญ่มาเล่าให้ฟังว่าสมัยก่อนเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ มีการทำศึกสงครามและใช้เจดีย์เป็นที่สังเกตการณ์ ใช้หน่วยสอดแนมขึ้นมาอยู่ สามารถมองเห็น เพราะเจดีย์นี้ทางด้านทิศหนึ่งมองเห็นพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม และในแต่ละทิศยังมองเห็นได้รอบทิศ จะเห็นสภาพการเคลื่อนไหวของแนวทหารตามคำบอกเล่าต่อกันมา

นายโชคดี ตั้งตรงจิตร เกษตรอำเภอวัดเพลง เปิดเผยว่า ขณะนั้นมาบวชร่วมกับพระรูปอื่นๆ และมาจำวัดแห่งนี้ จำนวน 14 รูป จากที่บวชวัดเขาช่องพรานทั้งหมด 31 รูป เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลก็ได้มาปฏิบัติธรรมที่บริเวณเจดีย์บนยอดเขาที่เงียบสงัด ก่อนลาสิกขาบทได้ขึ้นมาสวดมนต์ปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิแผ่เมตตา โดยพบสิ่งที่ไม่คาดคิดเกินความคาดหมายอยู่หลายอย่าง ด้วยจิตเมตตาของพระทุกรูปที่ตั้งใจได้อุทิศแผ่ส่วนบุญให้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์และวิญญาณต่างๆ ที่สิงสถิต ณ บริเวณป่าเขาและเจดีย์แห่งนี้

ประวัติที่นี่เมื่อหลายร้อยปีมาแล้วได้ถูกสร้างขึ้นมาและถูกปกปิดไม่ว่าจะคำร่ำลือว่าเป็นเมืองลับแล มีถ้ำที่ถูกปิดตายที่นี่ และพระที่บวชถวายในหลวง รัชกาลที่ 9 มีจิตตรงกัน ไม่ใช่เหตุบังเอิญที่เจดีย์นี้ได้รับการเปิดเผยในช่วงนี้ แต่ด้วยบุญบารมีหลายอย่างที่จะต้องมาทำบุญ ต้องอุทิศส่วนกุศลให้กับสถานที่โบราณนี้

พระอธิษฐ์ จิตตะปุณโญ พระลูกวัด เปิดเผยว่า ก่อนที่พระจะลาสิขาบทนั้นได้ขึ้นมาสวดมนต์และมีเรื่องแปลกๆ อยู่ก่อนหน้านั้น แต่ก็ยังไม่ค่อยมีใครเชื่อมากนัก คิดว่าเป็นเสียงของสัตว์ต่างๆ ที่อยู่แถวนั้น แต่ที่ชัดเจนที่สุดคือ มีพระรูปหนึ่งได้ลงจากเจดีย์ไปและลงไปเล่าบอกกันว่าที่ข้างบนมีสิ่งแปลกๆ เราจะทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้เจ้าที่เจ้าทางหรือเจ้าป่าเจ้าเขาที่ดูแลป่าและเจดีย์นี้ดีไหม เมื่อเห็นว่าดีก็จึงถือตาลปัตรนำหน้าจะขึ้นบนเจดีย์

“วันนั้นอาตมากำลังกางเต็นท์อยู่ ซึ่งมีพระอีกหลายรูปจะขึ้นมาปฏิบัติธรรมด้วย พอพระรูปนั้นที่ถือตาลปัตรเดินถึงฐานเจดีย์และจะก้าวขึ้นไปบนฐานเจดีย์ ก็มีฝูงนกกากว่า 50 ตัว บินมาทางทิศตะวันออก ช่วงประมาณ 17.00 – 18.00 น. บินมาวนไปวนมาทั่วเขาประมาณ 15 – 20 นาที แล้วก็บินกลับไปทางเก่า ขณะที่นกอีกาแถวนี้ปกติเคยพบเห็นแค่ 2 – 3 ตัว ตามวัดก็เคยพบไม่มาก ไม่เคยพบอีกาฝูงใหญ่มากขนาดนี้ จากวันนั้นจนถึงวันนี้ก็ยังไม่เคยพบเห็นฝูงนกอีกาอีกเลย” พระอธิษฐ์ กล่าว

ด้าน นายประทีป เหิมพยัคฆ์ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี จ.ราชบุรี ให้ข้อมูลว่า พื้นที่ราชบุรีเท่าที่สำรวจทราบว่ายังไม่เคยพบนกอีกาฝูงใหญ่ขนาด 40 – 60 ตัวมาก่อน แต่จากข้อมูลจะพบอยู่บริเวณสวนสัตว์ดุสิต ใกล้กับสวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร ส่วนพื้นที่จังหวัดใกล้เคียงยังไม่เคยมีข้อมูลปรากฎพบเห็นมาก่อนเช่นกัน เป็นสิ่งที่แปลกที่สามารถพบเห็นฝูงอีกาขนาดใหญ่ได้ในพื้นที่แห่งนี้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า