Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ได้เพียงเป็นการเลือกตั้งครั้งแรกในรอบเกือบ 8 ปี ของชาวไทย แต่ยังเป็น “ที่สุด” ของการเลือกตั้งในรอบ 18 ปีมานี้ด้วย

การเลือกตั้ง 62 นี้ ยืนหนึ่ง มีจำนวนพรรคที่ได้ ส.ส. เยอะสุดในรอบ 18 ปีมานี้ โดยจะมีพรรคการเมืองในสภามากถึง 27 พรรค รองลงมาคือการเลือกตั้งปี 2554 สมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่สภาประกอบด้วยพรรคต่าง ๆ 11 พรรค

ส่วนสถิติสภาที่มาจากการเลือกตั้งแล้วมีจำนวนพรรคการเมืองที่ได้ที่นั่งส.ส.น้อยที่สุด ตกเป็นของการเลือกตั้งปี 2548 หรือที่เรียกว่าการเลือกตั้งสมัย “ทักษิณ 2” มีพรรคการเมืองแค่ 4 พรรค ได้แก่พรรคไทยรักไทย ประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทย และพรรคมหาชน

สาเหตุที่จำนวนพรรคที่ได้รับการเลือกตั้งในการเลือกตั้งแต่ละครั้งแตกต่างกันมากขนาดนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะระบบการเลือกตั้ง รัฐธรรมนูญ 2540 ได้ใช้ระบบเลือกตั้งแบบผสม (Mixed-Member System: MMS) โดยส.ส. 400 คนจะได้มากจากระบบเขตเดียวเบอร์เดียว และอีก 100 คนจะมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนตามบัญชีรายชื่อ โดยมีการกำหนดว่าพรรคการเมืองที่ได้คะแนนแบบบัญชีรายชื่อไม่ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ จะไม่ได้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อเลย ระบบเลือกตั้งแบบนี้ที่ส่งเสริมให้เกิดพรรคการเมืองขนาดใหญ่ โดยพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กจะเสียเปรียบ

ขณะที่การเลือกตั้ง ในครั้งนี้ใช้วิธีการเลือกตั้งระบบจัดสรรปันส่วนผสม (Mixed Member Apportionment:MMA) ที่จำกัดจำนวน “ส.ส.พึงมี” ของแต่ละพรรคเพื่อสกัดไม่ให้พรรคการเมืองมีขนาดใหญ่เกินไป ทั้ยังไม่มีเกณฑ์ขั้นต่ำทำให้ได้พรรคการเมืองขนาดเล็กมามากมาย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจักษ์ ก้องกีรติ เผยผ่านทวิตเตอร์วันนี้ว่า ที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์ชาติไทย เราเคยมีการเลือกตั้งที่มีพรรคเล็กพรรคน้อยมากกว่า 20 พรรคมาแล้วในการเลือกตัง 2518 ที่พรรคกิจสังคมของม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชท์ ซึ่งไม่ใช่พรรคอันดับหนึ่งเป็นแกนนำรวบรวมพรรคแนวร่วม 8 พรรคจัดตั้งรัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ รัฐบาลี้มีอายุ 10 เดือนก่อนต้องยุบสภาในที่สุด

การเลือกตั้งครั้งนี้มีพรรคการเมืองแจ้งจดทะเบียนใหม่มากที่สุดในรอบ 18 ปี และมีพรรคการเมืองขนาดเล็กหน้าใหม่ได้รับที่นั่งส.ส. จำนวนมากที่สุดเช่นเดียวกัน

พรรคที่ได้รับที่นั่งส.ส. 1 ที่นั่ง ได้แก่ พรรคพลังปวงชนไทย, พรรคพลังชาติไทย, พรรคประชาภิวัฒน์, พรรคไทยศรีวิไลย์, พรรคพลังไทยรักไทย, พรรคครูไทยเพื่อประชาชน, พรรคประชานิยม, พรรคประชาธรรมไทย, พรรคประชาชนปฏิรูป, พรรคพลเมืองไทย, พรรคประชาธิปไตยใหม่, พรรคพลังธรรมใหม่ และพรรคไทยรักธรรม

สาเหตุที่มีเยอะเช่นนี้ มาจากการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตีความการคิดที่นั่งส.ส.แบบปาร์ตี้ลิสต์ว่าการปัดเศษทศนิยมที่เหลือต้องนำมาแจกจ่ายให้พรรคเล็ก พรรคที่มีจำนวนส.ส.พึงมีไม่ถึง 1 จึงได้คนละ 1 ที่นั่งตามลำดับคะแนนที่ได้รับมาจากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั่วประเทศ

อย่างไรก็ดี เป็นที่ถกเถียงว่าการตีความดังกล่าวของกกต. ผิดรัฐธรรมนูญหรือไม่ เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 91(4) และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 128(4) ระบุไว้ชัดเจนว่า “ต้องไม่มีผลทำให้พรรคการเมืองใด มีส.ส. เกินกว่าจำนวนที่พึงจะมีได้” การที่พรรคที่ได้จำนวนส.ส.พึงมีไม่ถึง 1 คน จะได้รับส.ส. 1 ที่นั่ง ผิดรัฐธรรมนูญหรือไม่ และยังต้องพูดถึงความชอบธรรมในการเป็นตัวแทนประชาชน เนื่องจากส.ส.พรรคอื่น ๆ ที่ได้เลือกตั้งถูกคิดมาแล้วว่าได้รับเสียงสนับสนุนจากประชาชนอย่างน้อย 71168.5141 คน ขณะที่ผู้แทนของพรรคการเมืองเล็กทั้ง 13 พรรคนี้ได้ที่นั่งมาด้วยคะแนนเสียงเพียงกว่า 30,000 คะแนนเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ “สมชัย” เตือนกกต. ส่อผิดกฎหมายปมสูตรคำนวณ ส.ส. 

ที่ผ่านมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 พรรคที่ได้ที่นั่งส.ส.ต้องได้รับคะแนนเสียงอย่างน้อย 5% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ผู้สมัครจากพรรคกิจสังคมและพรรคถิ่นไทยจึงพิสูจน์ได้ว่าเป็นตัวแทนของคนไทยอย่างน้อย 5% ถึงจะได้มีที่นั่งในสภา ส่วนการเลือกตั้งในปี 2554 ไม่มีการปัดคะแนนเหลือให้พรรคเล็ก แต่ให้รวมคะแนนทุกพรรค หารด้วย 25 แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มาเป็นเกณฑ์เฉลี่ยในการได้ส.ส. 1 คน หากรวมทุกพรรคแล้วได้ส.ส.ไม่ครบ 125 คน (จำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อตามรัฐธรรมนูญ 2550) จะไม่มีการปัดเศษให้พรรคเล็ก แต่ให้บวกเพิ่มเข้ากับพรรคที่มีเศษเหลือมาที่สุดและเพิ่มจำนวนผู้แทนให้พรรค จึงไม่มีปัญหาในการได้ส.ส.มาโดยได้คะแนนต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยที่ควรได้

การเลือกตั้ง พ.ศ. 2662 ใช้ระยะเวลาระหว่างปิดหีบและการประกาศผลการเลือกตั้งนานที่สุดในรอบ 18 ปี

โดยตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา กกต.ทำสถิติการประกาศคะแนนเร็วขึ้นมาตลอด ตั้งแต่ปี 2544 ใช้เวลา 17 วัน โดยเลือกตั้งวันที่ 6 มกราคม 2544 และ ประกาศผลวันที่ 23 มกราคม 2544), ปี 2548 ใช้เวลาลดลงมาเหลือ 16 วัน นับจากวันเลือกตั้งวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548

แชมป์ประกาศผลการเลือกตั้งไว เป็นของกกต.ชุดนายอภิชาต สุขัคคานนท์ ที่จัดการเลือกตั้งปี 2550 และ ปี 2554 ที่ใช้เวลานับคะแนนเพียง 11 วันในปี 2550 (เลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ประกาศผลวันที่ 3 มกราคม 2551) และ 9 วันในปี 2554 (เลือกตั้งวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ประกาศผลวันที่ 12 กรกฎาคม 2554)

 

ที่มาข้อมูล

สถิติการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 22 วันที่ 6 มกราคม 2544 โดย สถาบันพระปกเกล้า

ผู้จัดการ, กกต.ประกาศผลรายชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ปี พ.ศ. 2540

มติชน, “อัยการ” จี้จุด 7 ประเด็น ที่ กกต. เลือกอยู่ในเซฟตี้โซน

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า