SHARE

คัดลอกแล้ว

สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย ประกาศเจตนารมณ์ด้านความยั่งยืน จัดงาน Dutch-Thai Sustainability Conference พร้อมลงนามปฏิญญาความร่วมมือ เพื่อผลักดันเรื่องความยั่งยืนร่วมกับ 14 องค์กรใหญ่ เพื่อสนับสนุนการทำธุรกิจที่มองไกลไปถึงเรื่องสังคม

เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน Dutch-Thai Sustainability Conference งานประชุมสัมมนาเพื่อการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านความยั่งยืน โดยจัดขึ้นที่ C asean จุดประสงค์ของงานประชุมสัมมนาครั้งนี้ เพื่อสร้างพื้นที่ที่จะนำไปสู่ความร่วมมือกันเรื่องความยั่งยืนภายในองค์กรต่างๆ โดยเน้นการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ระหว่างผู้ที่สนใจประเด็นเรื่องความยั่งยืนและเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมถึงการแบ่งปันประสบการณ์ระหว่างประเทศไทยและเนเธอร์แลนด์อีกด้วย

ยัน เพเตอร์ บัลเคอเนนเดอ (Jan Peter Balkenende) อดีตนายกรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์

งานนี้ทางสถานทูตเนเธอร์แลนด์ฯ ยังได้รับเกียรติจาก ยัน เพเตอร์ บัลเคอเนนเดอ (Jan Peter Balkenende) อดีตนายกรัฐมนตรีของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานของ Dutch Sustainable Growth Coalition องค์​กรความร่วมมือกันระหว่างบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก ที่มีเป้าหมายในการทำธุรกิจแบบยั่งยืน และคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคม มาเป็นหนึ่งในวิทยากรของงานนี้

โดยอดีตนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงเรื่องการพัฒนาที่จะนำไปสู่ความยั่งยืนว่า หัวใจสำคัญอยู่ที่ความพยายามในการทำงานร่วมกัน การเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และการผลักดันสิ่งต่างๆ ให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องเริ่มต้นจากการถามคำถามที่ถูกต้องกับตัวเอง

พร้อมกันนี้ นายบัลเคอเนนเดอยังได้ย้ำว่า “การสร้างความยั่งยืนนั้นเป็นเรื่องที่ต้องลงมือทำทันที และในโลกธุรกิจแล้ว สิ่งหนึ่งที่ทุกองค์กรควรตระหนักก็คือ ความสำเร็จทางธุรกิจที่แท้จริงนั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในโลกที่ล้มเหลว”

นอกจากอดีตนายกรัฐมนตรีจากเนเธอร์แลนด์แล้ว ยังมีวิทยากรอื่นๆ ทั้งจากเนเธอร์แลนด์และไทย ได้แก่ สุริยา จินดาวงษ์ อธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ที่พูดถึงความร่วมมือด้านนี้ระหว่างประเทศอาเซียนด้วยกัน และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นวาระสำคัญของประเทศไทยในปี 2030, เฮอร์มาน เฮาส์แมน (Herman Huisman) ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมของกระทรวงสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลเนเธอร์แลนด์​ ที่มาแบ่งปันประสบการณ์ในการทำให้ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเกิดขึ้น ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ และสถาบันความรู้, คอนสต็อง ฟาน อาร์โชต์ (Constant van Aerschot) ไดเรกเตอร์ผู้รับผิดชอบภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกของ World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) กับประสบการณ์ในการทำงานขับเคลื่อนองค์ความร่วมมือระดับโลก ที่รวมเอาซีอีโอจากกว่า 200 บริษัทชั้นนำที่ให้น้ำหนักกับการทำธุรกิจที่นำไปสู่ความยั่งยืน และ นพเก้า สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้ากลุ่มงานพัฒนาเพื่อสังคม และสื่อสารองค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

นอกจากนี้ ยังมีวิทยากรพิเศษ ฉัตรศนัน มาสว่างไพโรจน์ ผู้ก่อตั้ง GooGreens ธุรกิจเพื่อสังคมที่เน้นในด้านสิ่งแวดล้อม โดยพัฒนาแอปพลิเคชันในการจัดการขยะส่วนบุคคล ที่นำคอนเซปต์ขยะแลกแต้มมาเป็นกลไกในการทำให้เกิดพฤติกรรมการแยกขยะ ซึ่งหลังจากทดลองเปิดให้ใช้แอปพลิเคชันนี้แล้ว ฉัตรศนันพบว่า คนไทยพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการแยกขยะ หากมีระบบการจัดการขยะที่ดีพอ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนี้จะช่วยลดปัญหาขยะของคนไทยลงได้ เพราะจากสถานการณ์ปัจจุบัน ในแต่ละวันคนไทยก่อขยะเฉลี่ยแล้วคนละ 1.14 กิโลกรัม และสร้างปริมาณขยะมูลฝอยรวมวันละ 74,000 ตัน ซึ่งนำไปสู่ค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะมากถึงปีละ 13,000 ล้านบาท

ไฮไลต์ของงานครั้งนี้อยู่ที่การลงนามในปฏิญญาความร่วมมือเพื่อผลักดันความยั่งยืนของสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ร่วมกับอีก 14 องค์กร ได้แก่ 1. สถาบันคลังสมองของชาติ 2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3. C asean 4. เครือเจริญโภคภัณฑ์ 5. FrieslandCampina 6. บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) 7. เคแอลเอ็ม สายการบินแห่งชาติของเนเธอร์แลนด์ 8. บริษัท ฟิลิปส์ ประเทศไทย จำกัด 9. บริษัท จีซี จำกัด (มหาชน) 10. บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) 11. บริษัท เชลล์ ประเทศไทย จำกัด 12. บริษัท Synova จำกัด 13. บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และ 14. บริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย จำกัด

โดยรายละเอียดของปฏิญญาความร่วมมือด้านความยั่งยืนครั้งนี้ มี 4 ข้อ ได้แก่

  1. ลดการใช้พลาสติก ทั้งในภาครัฐบาลและภาคเอกชน

2. สร้างแนวทางในการปฏิบัติเพื่อสนับสนุนการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน

3. พัฒนาประเทศไทยให้สามารถเป็น Circular Economy Hotspot ที่จะเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาความรู้และความร่วมมือกัน รวมถึงเป็นแพลตฟอร์มในการสร้างความยั่งยืน

4. สร้างการรับรู้เกี่ยวกับเรื่องพลาสติกผ่านแคมเปญต่างๆ เพื่อนำไปสู่พฤติกรรมลดการใช้พลาสติกของผู้บริโภค

ปิดท้ายงานด้วยสุนทรพจน์จาก เคส ราเดอ (H.E. Kees Rade) เอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย ที่ย้ำถึงความสำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นในทุกภาคส่วน และความตั้งใจที่หวังให้งานประชุมสัมมนาครั้งนี้เป็นอีกก้าวที่สำคัญของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ระหว่างประเทศไทยและเนเธอร์แลนด์ ที่จะนำไปสู่ก้าวต่อๆ ไปในระยะยาวด้วย

Dutch-Thai Sustainability Conference ครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Dutch Sustainability Days ที่จัดขึ้นโดยสถานทูตเนเธอร์แลนด์ฯ ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน – 17 พฤษภาคม 2562 เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของความยั่งยืนในหลากหลายแง่มุมผ่านทางกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นตลอดระยะเวลา 3 สัปดาห์ ทั้งความยั่งยืนในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า