SHARE

คัดลอกแล้ว

ด้วยระยะเวลาห่างกัน 8 ปี และกติกาการเลือกตั้งใหม่ ส่งผลให้ผลการเลือกตั้งในแต่ละภูมิภาคเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง ทีมข่าวเวิร์คพอยท์สรุปผลการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต เปรียบเทียบระหว่างปี 2554 กับ 2562 มาให้ผู้อ่านได้ดูกันชัดๆ

ภาคเหนือ

ย้อนไปปี 2554 พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งในภาคเหนือแทบทั้งภาค โดยเหมา ส.ส.เขต ไปทั้งหมด 8 จังหวัด จาก 9 จังหวัด ได้ ส.ส. รวม 35 ที่นั่ง คิดเป็น 97% ของจำนวนที่นั่งทั้งหมด มีเพียงเขตเดียวเท่านั้นที่พรรคเพื่อไทยแพ้ให้กับพรรคประชาธิปัตย์ นั่นคือที่ จ.แม่ฮ่องสอน

ในปี 2562 พรรคเพื่อไทยยังคงเป็นพรรคที่ชนะ ส.ส.เขต มากที่สุดในภาคเหนือ ได้ ส.ส. ไปทั้งหมด 25 ที่นั่ง จาก 33 ที่นั่ง หรือคิดเป็น 76% ของจำนวนที่นั่งทั้งหมด แต่เมื่อเทียบสัดส่วนกับผลการเลือกตั้งปี 2554 แล้ว พรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.เขต ลดลงกว่า 21% ขณะที่พรรคอนาคตใหม่ได้ ส.ส. ไป 5 ที่นั่ง คิดเป็น 15% และพรรคพลังประชารัฐได้ ส.ส. ไป 3 ที่นั่ง คิดเป็น 9% ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ ส.ส.เขต ในพื้นที่ภาคเหนือเลยสำหรับการเลือกตั้งครั้งล่าสุดนี้

อย่างไรก็ดี ว่าที่ ส.ส.เขต พรรคเพื่อไทย 1 คน คือนายสุรพล เกียรติไชยากร ผู้ชนะการเลือกตั้ง เขต 8 จ.เชียงใหม่ ถูก กกต. แจกใบส้ม และถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งชั่วคราวเป็นเวลา 1 ปี เนื่องจากทำผิด พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. จึงส่งผลให้มีการเลือกตั้งซ่อม ซึ่งนางศรีนวล คำลือ ผู้สมัครจากพรรคอนาคตใหม่ ได้รับคะแนนโหวตอย่างท่วมท้น ชนะได้เป็น ส.ส.เขต

ภาคใต้

ถือเป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคประชาติปัตย์ ในปี 2554 พรรคประชาธิปัตย์กวาดที่นั่ง ส.ส. ในพื้นที่ภาคใต้ไปถึง 50 ที่นั่ง จาก 53 ที่นั่ง หรือคิดเป็น 94% ของจำนวนที่นั่งทั้งหมด โดยที่นั่งที่เหลืออีก 3 เขต ตกเป็นของผู้สมัครจากพรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคมาตุภูมิ พรรคละ 1 เขต

แต่สำหรับการเลือกตั้ง 2562 พรรคประชาธิปัตย์เสียที่นั่งในภาคใต้ซึ่งเป็นฐานเสียงสำคัญไปมากกว่าครึ่งหนึ่ง คือชนะ ส.ส.เขต เพียง 22 ที่นั่ง จาก 50 ที่นั่ง หรือคิดเป็น 44% ของจำนวนที่นั่งทั้งหมด ลดลงจากปี 2554 ถึง 50%

ขณะที่พรรคพลังประชารัฐได้ ส.ส. ไป 13 ที่นั่ง คิดเป็น 26% พรรคภูมิใจไทยได้ ส.ส. เพิ่มขึ้นเป็น 8 ที่นั่ง คิดเป็น 16% และพรรคประชาชาติได้ ส.ส. ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนไป 6 ที่นั่ง คิดเป็น 12% ส่วนอีก 1 เขตที่เหลือเป็นของพรรครวมพลังประชาชาติไทย

ภาคอีสาน

อีกหนึ่งฐานเสียงสำคัญของพรรคเพื่อไทย เมื่อปี 2554 พรรคเพื่อไทยกวาด ส.ส. ภาคอีสานไปมากถึง 104 ที่นั่ง จาก 126 ที่นั่ง หรือคิดเป็น 84% ของจำนวนที่นั่งทั้งหมด ขณะที่พรรคภูมิใจไทยได้ ส.ส. ไป 13 ที่นั่ง พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดินและพรรคประชาธิปัตย์แบ่ง ส.ส. กันไปพรรคละ 4 ที่นั่ง ส่วนอีก 1 ที่นั่งเป็นของพรรคชาติไทยพัฒนา

ปี 2562 พรรคเพื่อไทยยังครองฐานเสียงเดิมได้เป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ได้ ส.ส. ลดลงเหลือ 84 ที่นั่ง หรือคิดเป็น 72% ของจำนวนที่นั่งทั้งหมด ซึ่งลดลง 11% จากปี 2554

ขณะที่พรรคภูมิใจไทยได้ ส.ส. ไป 16 ที่นั่ง ชนะเลือกตั้งใน จ.บุรีรัมย์ แบบเหมาครบทั้ง 8 เขต ส่วนพรรคพลังประชารัฐได้ ส.ส. ไป 11 ที่นั่ง พรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส. 2 ที่นั่ง พรรคอนาคตใหม่ พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคชาติพัฒนาได้ ส.ส. ไปพรรคละ 1 ที่นั่ง

ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก (ไม่ร่วม กทม.)

เป็นพื้นที่แข่งขันระหว่างหลายพรรคการเมือง โดยในปี 2554 พรรคที่ได้ ส.ส. รวมมากที่สุดคือพรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส.เขต ไป 55 ที่นั่ง จาก 127 ที่นั่ง หรือคิดเป็น 43% ของจำนวนที่นั่งทั้งหมด รองลงมาเป็นพรรคประชาธิปัตย์ได้ ส.ส. 37 ที่นั่ง พรรคภูมิใจไทยตามมาเป็นอันดับ 3 ได้ ส.ส. 15 ที่นั่ง ถัดไปเป็นพรรคชาติไทยพัฒนาได้ ส.ส. 13 ที่นั่ง พรรคพลังชลได้ ส.ส. 6 ที่นั่ง จาก จ.ชลบุรี และพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดินได้ ส.ส. 1 ที่นั่ง

มาในปี 2562 พรรคพลังประชารัฐเป็นพรรคที่ชนะ ส.ส.เขต มากที่สุดในพื้นที่นี้ โดยได้ ส.ส. ไป 58 ที่นั่ง จาก 121 ที่นั่ง หรือคิดเป็น 48% ของจำนวนที่นั่งทั้งหมด รองลงมาคือพรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส. ไป 18 ที่นั่ง ลดลงจากปี 2554 ถึง 28%

ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเคยได้ ส.ส.เขต มากเป็นอันดับ 2 ขับเคี่ยวกับพรรคเพื่อไทยเมื่อปี 2554 กลับได้ ส.ส. เพียง 15 ที่นั่ง ร่วงลงไปอยู่อันดับ 5 ในการเลือกตั้ง 2562 นี้ ส่วนพรรคอนาคตใหม่ได้ ส.ส. ไป 16 ที่นั่ง พรรคภูมิใจไทยได้ ส.ส. 15 ที่นั่ง และพรรคชาติพัฒนาได้ ส.ส. 5 ที่นั่ง

กรุงเทพฯ

ในการเลือกตั้งปี 2554 กรุงเทพฯ เป็นพื้นที่ขับเคี่ยวระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับพรรคเพื่อไทย โดยพรรคประชาธิปัตย์ได้รับชัยชนะไป 23 ที่นั่ง จาก 33 ที่นั่ง คิดเป็น 70% ของจำนวนที่นั่งทั้งหมด ส่วนพรรคเพื่อไทยได้ ส.ส.เขต ใน กทม. ไป 10 ที่นั่ง

แต่ในปี 2562 นี้ พรรคประชาธิปัตย์กลับไม่ได้ ส.ส.เขต ในกรุงเทพฯ แม้แต่คนเดียว ขณะที่พรรคพลังประชารัฐขึ้นมาครองอันดับ 1 ใน กทม. แทน โดยได้ ส.ส. ไป 12 ที่นั่ง จาก 30 ที่นั่ง หรือคิดเป็น 40% ของจำนวนที่นั่งทั้งหมด ส่วนพรรคเพื่อไทยและพรรคอนาคตใหม่ได้ ส.ส.เขต ไปพรรคละ 9 ที่นั่ง

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า