Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เปิดขั้นตอนการเลือกนายกรัฐมนตรีใหม่ ในวันพุธที่ 5 มิถุนายน ตามรัฐธรรมนูญ 2560  เสียงรวม 2 ภาพจะโหวตให้ใครระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา – นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ 

ห้องประชุมทีโอที (แฟ้มภาพ)

ขั้นตอนการเลือกนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 272 วรรค 1 กำหนดว่า ในระหว่าง 5 ปีแรก นับแต่วันที่มีรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ การให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ให้ดำเนินการตามมาตรา 159 ซึ่งจะทำการเลือกนายกรัฐมนตรี ในบัญชีชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ ตามมาตรา 88

และต้องเป็นบัญชีชื่อของพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกเป็น ส.ส. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 หรือไม่น้อยกว่า 25 คน และผู้ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสองสภา

ในการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี จะต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร และการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีต้องลงคะแนนโดยเปิดเผย

(7 แคนดิเดตนายกฯ ที่พรรคมี ส.ส.มากกว่า 25 คน)

  • เลือกนายกรัฐมนตรี ใช้เสียงของสองสภา

ปัจจุบันรัฐสภา มีสมาชิกรัฐสภา ประกอบด้วย สมาชิกวุฒิสภา 250 คน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 500 คน รวมเป็น 750 คน ครบแล้ว แต่เนื่องจาก นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ และ นางจุมพิตา จันทรขจร ส.ส.นครปฐม พรรคอนาคตใหม่ ยังรักษาตัวจากอาการป่วย หากไม่ทันในวันที่ 5 มิถุนายน จะทำให้สมาชิกรัฐสภามี 748 คน เป็น ส.ส. 498 คน และ ส.ว. 250 ซึ่งเสียงของผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของรัฐสภา คือต้องมากกว่า 375 เสียง

  • การดำเนินการในสภา

– จะมีการลงคะแนนรอบเดียว ขานชื่อคนที่ 1-750

– กรณีมีแคนดิเดต มากกว่า 1 คน  ส.ส.และ ส.ว. จะออกเสียงโดยออกชื่อคนที่เลือก เช่น พล.อ.ประยุทธ์ / นายธนาธร หรืองดออกเสียง (แทนที่จะเป็น เห็นชอบ / ไม่เห็นชอบ)

– เท่ากับว่า สมาชิกสภา 1 คนจะเลือกใคร หรืองดออกเสียงได้แบบเดียว

  • หาก 5 มิถุนายนเลือกไม่ได้ ปิดประชุมเลือกใหม่

มาตรา 272 ในรัฐธรรมนูญ ระบุว่า หากการเลือกนายกรัฐมนตรี ไม่สามารถดำเนินการไปได้ตามขั้นตอน จะต้องสั่งปิดการประชุม เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนเลือกนายกรัฐมนตรี ตามวรรค 2 ที่ให้สมาชิกรัฐสภาเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต่อประธานรัฐสภา ขอให้รัฐสภามีมติยกเว้นเพื่อไม่ต้องเสนอชื่อจากนายกรัฐมนตรีที่มีชื่อในบัญชีพรรคการเมือง

จากนั้น ประธานรัฐสภาต้องนัดประชุมใหม่ เพื่อให้สมาชิกรัฐสภา ลงมติให้ได้เสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของสมาชิกที่มีอยู่สองสภา (500 เสียง) ให้ยกเว้นได้ ก็จะเปิดทางให้มีการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีที่อาจยังอยู่ในบัญชีพรรคการเมืองหรือคนนอกบัญชีได้

ทั้งนี้ หากการเลือกนายกรัฐมนตรีไม่เสร็จสิ้นภายในวันที่ 5 มิถุนายน รัฐธรรมนูญเปิดทางให้ดำเนินการได้ เพราะยังมีรัฐบาลชุดปัจจุบัน และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่

สำหรับแคนดิเดตจากทั้ง 2 ขั้วการเมืองที่ได้ข้อสรุปแล้ว ขั้นพรรคพลังประชารัฐ ที่ได้พรรคประชาธิปัตย์มาสนับสนุนล่าสุด มีเสียง ส.ส.รวม 254 เสียง จะเสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคพลังประชารัฐ

ส่วนขั้ว 7 พรรคการเมืองนำโดยพรรคเพื่อไทย-อนาคตใหม่ ที่มีเสียง ส.ส. 246 เสียง มีมติเสนอชื่อ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ  หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า