SHARE

คัดลอกแล้ว

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ แถลงข่าวจัดค่ายวัฒนธรรมนานาชาติ ครั้งที่ 3 ดึงจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเจ้าภาพร่วม มุ่งเสริมสร้างบรรยากาศความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัย พร้อมประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของ จ.นครศรีฯ ให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก มีนักศึกษาจาก 58 ประเทศ 5 ทวีป 491 มหาวิทยาลัย สนใจสมัครเข้าร่วม

เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมด้วย นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ในฐานะผู้แทน นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศธร เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสถาบันภาษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในฐานะผู้อำนวยการโครงการค่ายวัฒนธรรมนานาชาติ ร่วมกันแถลงข่าวการจัดค่ายวัฒนธรรมนานาชาติ ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน – 1 กรกฏาคม 2562 มุ่งเสริมสร้างบรรยากาศความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัยฯ สร้างทูตทางวัฒนธรรม พร้อมส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดและของประเทศไทย โดยมีแขกผู้เกียรติจากภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนสื่อมวลชนแขนงต่างๆ รวม 50 คน เข้าร่วม ณ ห้องรัตนโกสินทร์ โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพมหานคร

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีเป้าหมายในการก้าวสู่ความเป็นนานาชาติ โดยเริ่มจากปฏิรูปการเรียนการสอน โดยนำมาตรฐาน UKPSF (UNITED KINGDOM PROFESSIONAL STANDARDS FRAMEWORK) มาใช้ การให้ความสำคัญกับการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษของนักศึกษา มีการจัดตั้ง “สถาบันภาษา” เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะสากลให้แก่นักศึกษา สนับสนุนให้นักศึกษาไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในต่างประเทศ รวมทั้งการส่งเสริมวัฒนธรรมสู่สากล

โดยตั้งแต่ปี 2560 มหาวิทยาลัยริเริ่มจัดค่ายวัฒนธรรมนานาชาติ และได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องทุกปี และในปี 2562 มหาวิทยาลัยได้รับความร่วมมือจากจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเจ้าภาพร่วมจัดค่ายวัฒนธรรมนานาชาติครั้งที่ 3 มีเยาวชนผู้เข้าร่วมค่าย 200 คน แบ่งเป็นเยาวชนไทย 70 คน และเยาวชนต่างชาติ 130 คน  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนต่างชาติได้มารู้จักวัฒนธรรมไทย อันเป็นเอกลักษณ์สำคัญของชาติ และกลายเป็นทูตวัฒนธรรมที่จะช่วยในการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยไปสู่สากลต่อไป ขณะเดียวกันเยาวชนไทยที่เข้าร่วมโครงการก็จะมีโอกาสสร้างเครือข่ายกับเยาวชนต่างชาติ จากนานาประเทศทั่วโลก และเพิ่มพูนประสบการณ์การใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตจริงด้วย

“SCImago ประกาศผลการจัดอันดับ ผลงานด้านนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยทั่วโลก ผลปรากฏว่า ในปี 2562 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ติดอันดับที่ 6 ของประเทศไทย อันดับที่ 148 ของเอเชีย และอันดับที่ 429 ของโลก นอกจากนี้ ทางมหาวิทยาลัยยังมุ่งเน้นการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ โดยมีเป้าหมายคือ นักศึกษาทุกคนที่เรียนจบจากที่นี่ จะต้องสามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารในชีวิตประจำวันได้ โครงการค่ายวัฒนธรรมนานาชาติ ถือเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมที่นักศึกษาทั้งของไทยและนานาชาติจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกัน ในรูปแบบ Cultures without Borders หรือวัฒนธรรมไร้พรมแดน ซึ่งนักศึกษานานาชาติที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ ออกค่าใช้จ่ายเองเพียงค่าเครื่องบินเท่านั้น นอกเหนือจากนี้ทางมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ช่วยดูแลให้ ซึ่งมีกิจกรรมมากมายเตรียมให้นักศึกษา ทั้งด้านการท่องเที่ยวและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เป็นการประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมและสถานที่ท่องเที่ยวของไทย ให้เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ รวมทั้งที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เองยังมี Public Park ที่ใหญ่ที่สุดในมหาวิทยาลัยของไทย กลายเป็นจุดเช็กอินและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดนครศรีธรรมราชด้วย ซึ่งตลอดระยะเวลา 3 ปี ที่จัดโครงการค่ายฯ ได้รับความสนใจจากเยาวชนทั้งจากไทยและนานาชาติเพิ่มขึ้นทวีคูณ” อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าว

นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี กล่าวว่า นครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดในภาคใต้ ประมาณ 1.55 ล้านคน และมีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ ค่ายวัฒนธรรมนานาชาติเป็นหนึ่งในความร่วมมือระหว่างจังหวัดนครศรีธรรมราชและมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลไทย ที่มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์ทางด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดเมืองรอง ให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก ซึ่งจังหวัดนครศรีธรรมราช ถือเป็น 1 ใน 55 จังหวัดเมืองรองของประเทศไทย

“จังหวัดนครศรีธรรมราชขอขอบคุณมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่ได้ริเริ่มโครงการค่ายฯ ซึ่งได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560 และมีส่วนช่วยในการประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัด เช่น วัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร, หมู่บ้านคีรีวง, ทะเลสิชลและขนอม ให้เป็นที่รู้จักในระดับสากล ใน 74 ประเทศ และ 5 ทวีปทั่วโลก ทางจังหวัดมีความยินดีที่ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดค่ายวัฒนธรรมนานาชาติประจำปี 2562 และพร้อมที่จะสนับสนุนและร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในมิติต่างๆ ต่อไป” นายขจรเกียรติ กล่าว

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศธร เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา กล่าวถึงรายละเอียดในการจัดค่ายวัฒนธรรมนานาชาติครั้งนี้ว่า ได้รับความสนใจจากเยาวชนสมัครเข้าร่วมโครงการฯ กว่า 1,130 คน จาก 491 มหาวิทยาลัย จาก 58 ประเทศ และ 5 ทวีปทั่วโลก และมีการคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดจำนวน 200 คน เข้าร่วมค่ายเป็นระยะเวลา 8 วัน

โดยในระหว่างวันที่ 24 – 28 มิถุนายน 2562 ซึ่งอยู่ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์และจังหวัดนครศรีธรรมราช จะมีการแสดงวัฒนธรรมประจำชาติจากเยาวชนทุกชาติจำนวน 26 ชุด และเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการจะมีโอกาสเรียนรู้วัฒนธรรมไทยผ่านกิจกรรมต่างๆ คือ ต่อยมวยไทย รำไทย และดนตรีไทย ตลอดจนการศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองนครศรีธรรมราช เยี่ยมชมวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร และเยี่ยมชมหมู่บ้านคีรีวง อ. ลานสกา และชายหาดทรายขาวน้ำทะเลฟ้าใส อ.สิชล รวมถึงการเดินทางโดยรถไฟไปยังกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย

ส่วนวันที่ 29 มิถุนายน – 1 กรกฏาคม 2562 ที่กรุงเทพมหานคร เยาวชนจะมีโอกาสเยี่ยมชมวัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รวมถึงการชมการแสดงโขน ซึ่งอนุเคราะห์จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรม และในพิธีปิดค่ายฯ เยาวชนจะร่วมกันแสดงชุด “Cultures without Borders” ซึ่งจะเป็นการผสมผสานเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของแต่ละชาติเข้าด้วยกัน

“โครงการนี้ได้รับความสนใจ ทั้งจากเยาวชนไทยและต่างชาติ โดยปีแรก (พ.ศ. 2560) มีเยาวชนสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 300 คน ปีที่สอง (พ.ศ. 2561) จำนวน 750 คน และล่าสุดปีที่ 3 ในครั้งนี้ จำนวนถึง 1,130 คน ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีผู้สนใจเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในแต่ละปี มีเยาวชนจากแทบทุกทวีปทั่วโลกสนใจสมัคร ขาดเพียง 2 ทวีป คือ ทวีปออสเตรเลีย ซึ่งตรงกับช่วงสอบของเด็กที่นั่น และทวีปแอนตาร์กติก ปีนี้เยาวชนจากต่างประเทศ เป็นเยาวชนจากประเทศเวียดนามผ่านการคัดเลือกมากที่สุดถึง 13 คน โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกคือ ให้เยาวชนทำคลิปว่าทำไมจึงอยากมาประเทศไทย แล้วเผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์กิจกรรมไปในตัว สำหรับไฮไลต์ของกิจกรรมที่ จ.นครศรีฯ คือพิธีเปิด ที่จะมีการแสดงของนักศึกษาทั้งจากไทยและนานาชาติ เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกัน ส่วนไฮไลต์ที่กรุงเทพฯ คือพิธีปิด ที่จะมีคณะทูตจากแต่ละประเทศที่มีนักศึกษาที่มาร่วมในกิจกรรมนี้ มาร่วมงานด้วย รวมทั้งให้นักศึกษาออกแบบการแสดง โดยการแบ่งกลุ่มที่ต่างคนต่างมาจากนานาชาติ”

“วัตถุประสงค์สำคัญประการหนึ่ง ของการจัดโครงการค่ายฯ คือ การพัฒนาเยาวชนให้เป็นพลเมืองโลก ผู้ยอมรับในความแตกต่างทางวัฒนธรรม สีผิว และความเชื่อ ของพลเมืองแต่ละประเทศ เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาสังคมโลกให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง โอกาสนี้ขอขอบคุณจังหวัดนครศรีธรรมราช รวมถึงองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ สํานักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช กระทรวงวัฒนธรรม การรถไฟแห่งประเทศไทย หลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย ธนาคารออมสิน บริษัท ฉัตรทวีกิจคอร์เปอเรชั่น จํากัด และ บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จํากัด (มหาชน) ที่ให้การสนับสนุนโครงการเป็นอย่างดี” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศธร กล่าวในตอนท้าย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า