SHARE

คัดลอกแล้ว

ดร.ธรณ์ จัดอันดับ 5 เรื่องดี ที่มีผลต่อการอนุรักษ์ทะเลไทย โดยหวังว่าในปีหน้าจะมีเรื่องดีๆ เช่นนี้ เกิดขึ้นอีก

วันที่ 8 มิ.ย. 62 ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เนื่อง ได้ข้อความผ่านเฟซบุ๊กของตัวเอง จัดอันดับ 5 เรื่องดีๆ ที่มีผลต่อการอนุรักษ์ทะเล ดังนี้

วันทะเลโลกมาถึงอีกครั้ง ผมจึงเลือก 5 เรื่องดีที่มีผลต่อการอนุรักษ์ทะเล มาสรุปให้เพื่อนธรณ์ เรื่องดีเหล่านี้จัดลำดับโดยผมเอง ไม่คำนึงถึงความดัง แต่ดูจากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1. ฟื้นฟูอ่าวมาหยา / ฝูงฉลาม

การปิดอ่าวมาหยาและฝูงฉลามที่กลับเข้ามา กลายเป็นข่าวดัง ไม่ใช่เฉพาะเมืองไทย แต่ดังไปทั่วโลก มีข่าวจากหลายประเทศต่อเนื่องจนถึงตอนนี้ ถือเป็นการพลิกโฉมภาพลักษณ์เมืองไทย หลังจากเราถูกมองว่าเป็นประเทศเที่ยวยังไงก็ได้ มาหลายปี

ผมเลือกเรื่องนี้มาเป็นอันดับหนึ่ง เพราะการสร้างภาพลักษณ์ในระดับโลก มันยากมากๆ ครับ ต้องอาศัจังหวะและความประจวบเหมาะหลายอย่าง กรณีอ่าวมาหยา จะส่งผลต่อการท่องเที่ยว / การอนุรักษ์ทะเลไทยไปอีกนาน

2. สัตว์สงวนทั้งสี่

ประกาศอย่างเป็นทางการพร้อมกับ พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า (2562) ถือเป็นการสิ้นสุดการรอคอย 27 ปีที่ไม่มีการประกาศสัตว์สงวนเพิ่ม กรผลักดันครั้งนี้ ยังทำให้พบช่องโหว่ของ กม. ก่อนได้รับการแก้ไขเป็นที่เรียบร้อยใน พรบ.ใหม่

เป็นอันดับสองเพราะเป็นกฎหมายมีผลต่อไป และเป็นการร่วมมือร่วมใจครั้งใหญ่ของคนไทยในการอนุรักษ์สัตว์ในธรรมชาติครับ

ภาพจาก เพจ Thon Thamrongnawasawat

3. หลุด IUU

ช่วยกันทำมานาน ในที่สุดก็สำเร็จ ผลที่เกิดขึ้นคือสัตว์น้ำในทะเลเริ่มกลับมา ที่สำคัญคืองานวิชาการถูกนำมาใช้อย่างที่ควรจะเป็น และเราสามารถควบคุมการใช้ประโยชน์ให้เหมาะสม โดยไม่รุกรานทะเลจนเกินไปครับ

4. โรดแมปแบนพลาสติก

เมื่อครม.มีมติรับทราบโรดแมปแบนพลาสติกหลายชนิด เช่น ถุงบาง หลอด แก้วใช้แล้วทิ้ง ฯลฯ ทำให้การสู้ขยะพลาสติก / ขยะทะเล มีข้ออ้างอิง

สำหรับความเป็นไปได้ตามโรดแมป บอกตามตรงว่ายังไม่ค่อยเห็นเท่าไหร่ แต่เมื่อมีมติให้อ้าง การผลักดันจะง่ายขึ้นกว่าก่อน เรื่องนี้ยังต้องไปกันอีกนาน มตินี้จึงสำคัญตามความคิดผม

5. ปะการังฟื้นเต็มเกาะยูง

เมื่อเทียบความดัง ยังน้อยกว่าหลายข่าว เช่น เต่ามะเฟือง แต่เลือกเรื่องนี้เป็นอันดับสุดท้าย เพราะแม่เต่ามาแล้วก็ไป กระตุ้นจิตสำนึกได้เยอะ แต่ไม่ค่อยมีผลต่อเนื่อง

ผิดจากเกาะยูงที่ปะการังฟื้น เราสามารถติดตามต่อได้เรื่อยๆ หากมีเรื่องดีๆ ก็ออกข่าวได้เป็นระยะ ยังสามารถใช้เป็นพื้นที่อ้างอิงสำหรับเหตุผลในการควบคุมดูแลฟื้นฟูทะเลในอนาคตครับ

เมื่อดู 5 เรื่องนี้ บวกกับเรื่องดีๆ ที่เกิดอีกหลายเรื่อง ผมถือว่าในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา เป็นปีที่คนรักทะเลยิ้มได้

ทว่า…ไม่มีปัญหาเลย มันก็กระไรอยู่ ปัญหาสาหัสในมุมมองผมคือน้ำเสีย ข้อมูลที่ได้รับทราบคือใน 5 ปี มีน้ำเสียเข้าระบบบำบัดเพิ่มขึ้นแค่ 1%

เวลามีข่าวน้ำเสีย ผมแทบไม่แชร์ไม่ให้ความเห็น เพราะรู้ดีว่า หากเราไม่รื้อระบบแบบพลิกฟ้าสะเทือนดิน ก็คงทำอะไรไม่ได้

สุดท้าย ผมหวังว่า ในรอบปีหน้า จะมีเรื่องดีๆ เกิดขึ้นอีก แต่เรื่องดีที่สุดในความคิดผม คงไม่พ้น คนไทยรักทะเลมากขึ้นกว่าเดิม นั่นแหละคือหัวใจของความสำเร็จทั้งมวล เพราะฉะนั้น เริ่มต้นจากวันนี้ วันทะเลโลกช่วยกันส่งยิ้มหวานและทำเรื่องดีๆ ให้ท้องทะเลนะครับ

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat , ทีมวิจัยกรมอุทยาน / ม.เกษตรศาตร์ 

https://www.facebook.com/thon.thamrongnawasawat/posts/2793945617287290

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า