SHARE

คัดลอกแล้ว

13 มิ.ย. 62 เฟซบุ๊ก จ่าพงศ สารคาม ลงภาพและข่าวนายรักเกียรติ สุขธนะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เสียชีวิตแล้วที่ จ.เชียงราย ด้วยวัย 65 ปี ทำให้หลายคนนึกย้อนไปถึงคดีสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่บันทึกไว้ว่า มีนักการเมืองใหญ่ระดับรัฐมนตรีต้องถูกจำคุกและยึดทรัพย์ เพราะถูกตัดสินว่าทุจริตรับสินบน

พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ

ในช่วงเหตุการณ์งูเห่าการเมืองไทยครั้งแรกที่มีการสลับขั้วของพรรคการเมือง หลังการลาออกของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ มีการพยายามรวมเสียงจาก 2 ขั้วการเมืองเพื่อชิงนายกรัฐมนตรี

ในขณะที่คนส่วนใหญ่จำกลุ่มของนายวัฒนา อัศวเหม จากพรรคประชากรไทย ที่ถูกเรียกว่า “งูเห่า” 18 เสียงย้ายข้าง จนนายชวน หลีกภัย ชนะ พล.อ.ชาติชาย ชุณหวัณ ขึ้นเป็นนายกฯ

แต่ก่อนหน้านั้น มี 2 พรรคการเมืองที่สลับขั้วย้ายข้างก่อน คือ กิจสังคม 20 เสียง และเสรีธรรม 4 เสียง ทำให้เสียงไล่ตามมา 196-197 ก่อนจะได้กลุ่มที่แยกจากพรรคประชากรไทยมาพลิกเกมให้ชนะ

ชวน หลีกภัย

ในการจัดตั้งรัฐบาลชวน หลังจากนั้น กลุ่มที่ย้ายข้างได้รับการตอบแทนด้วยตำแหน่งรัฐมนตรี นายรักเกียรติ สุขธนะ จากพรรคกิจสังคมได้รับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

ภาพจาก”ถ้ารู้ธรรมะพระพุทธเจ้า อาตมาคงไม่ติดคุก” (สนพ.อมรินทร์ธรรมะ 2554)

ระหว่างดำรงตำแหน่งนายรักเกียรติได้สั่งยกเลิกบัญชีราคากลางยา โดยให้เหตุผลว่าการลอยตัวค่าเงินบาท อัตราแลกเปลี่ยนจาก 24 บาท/ดอลล่าร์ เป็น 56-57 บาท/ดอลล่าร์ ทำให้ราคายาจากต่างประเทศสูงกว่าราคากลางมาก โรงพยาบาลจึงไม่สามารถจัดซื้อยาได้ แต่ก็ไม่มีการประกาศราคากลางใหม่โดยอ้างว่าค่าเงินบาทยังแกว่งตัว

ขณะที่ชมรมแพทย์ชนบทเปิดเผยว่า ก่อนหน้านั้นมีการเปลี่ยนแปลงโยกงบจากบัตรสุขภาพคนจน 1,400 ล้านบาท ไปเป็นงบจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์แทน เหมือนเป็นการเตรียมไว้

หลังจากยกเลิกบัญชีราคากลางยา มีการสั่งด้วยวาจาและนามบัตรให้โรงพยาบาลซื้อยาและเวชภัณฑ์ตามที่เจาจงด้วยราคาแพงขึ้น เช่น เข็มฉีดยา จากประมาณ 50 สตางค์ ขยับเป็น เกือบ 2 บาท ยาบางชนิดแพงกว่าเดิม 40 บาทต่อหลอด ประเมินว่าส่วนต่างที่แพงขึ้นทั้งหมดประมาณ 500 ล้านบาท (ชื่อ ฉายาและสมญานามทางการเมืองไทย เล่ม 2 โดยวีระ เลิศสมพร เล่ม 2 : 2546)

จากแรงกดดัน นายรักเกียรติ สุขธนะ ได้ตั้งกรรมการขึ้นมาสอบเรื่องดังกล่าว แต่ไม่ได้รับการยอมรับ มีการล่าชื่อเพื่อถอดถอนนายรักเกียรติ จากรัฐมนตรี จนต้องตัดสินใจลาออกก่อนผลสอบจะออก ต่อมาผลสอบสรุปว่าคนใกล้ชิดของรัฐมนตรีเข้าไปเกี่ยวข้อง (ซึ่งต่อมาคนใกล้ชิดจะถูกศาลสั่งลงโทษจำคุก 6 ปี) เรื่องเหมือนจะจบโดยไปไม่ถึงตัวรัฐมนตรี

ต่อมามีผู้ไปยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้รื้อคดีนายรักเกียรติขึ้นพิจารณาใหม่ และ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด 3 คดี
1.แจ้งบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเป็นเท็จ ให้ฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ ห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง 5 ปี
2.กระทำความผิดต่อหน้าที่ราชการ เรียกรับสินบนจากบริษัทยา 5 ล้านบาท ส่งสำนักงานอัยการฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
3.กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่งสำนักงานอัยการฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้ยึดทรัพย์กว่า 233 ล้านบาท

วันที่ถูกจับกุม (ภาพ วิกิพีเดีย)

ตุลาคม 2546 ศาลมีคำพิพากษา ลงโทษจำคุกจากการรับสินบน 15 ปี ยึดทรัพย์ทั้งหมด และห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง 5 ปี

นายรักเกียรติ เล่าไว้ในหนังสือ “ถ้ารู้ธรรมะพระพุทธเจ้า อาตมาคงไม่ติดคุก” (อมรินทร์ธรรมะ 2554) ว่าตอนนั้นตัดสินใจระหว่าง มอบตัว หนีไปต่างประเทศ หรือ ฆ่าตัวตายด้วยการขับรถชนตอม่อให้ระเบิดหรือกระโดดจากตึกใบหยก แต่ตัดสินใจไม่ได้ สุดท้ายเลือกหนีไปตั้งหลัก ด้วยการหลบไปอาศัยแต่ละที่ไม่เกิน 2-3 เดือน ระหว่างนั้นไปหาหมอที่รู้จักกันให้ไปตัดไฝที่หน้าที่เป็นที่จดจำออก การกินอยู่ต้องไปกินข้าวจุดที่แท็กซี่กินกันเยอะๆ เพราะประหยัด มีบางคนจำได้ก็ปฏิเสธไปว่าไม่ใช่

ระหว่างนั้นโทรหาเพื่อนที่เป็นนักการเมือง มีแต่คนปฏิเสธไม่คุยด้วยเพราะกลัวจะเดือดร้อนไปด้วย

สุดท้าย 30 ต.ค. 2547 ก็ถูกจับได้ เพราะป่วยเป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูงต้องไปเดินออกกำลังกาย มีคนจำได้จึงแจ้งตำรวจจับ รวมเวลาหนีได้ประมาณ 1 ปี จากคดีที่มีอายุความ 20 ปี

นายรักเกียรติ เล่าในภายหลังว่า ตอนที่ถูกจับได้รู้สึกโล่งใจว่าไม่ต้องหนีอีกแล้ว อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด

ภาพจากเฟซบุ๊ก รักเกียรติ สุชธนะ

เขาถูกจำคุก 15 ปี ตามที่ศาลตัดสิน ได้รับพระราชทานอภัยโทษ 2 ครั้ง เหลือจำคุก 7 ปี 6 เดือน เมื่อติดจริงครบ 5 ปีได้พักโทษ จึงได้บวชถวายเป็นพระราชกุศล ระหว่างนั้นได้รับการอภัยโทษอีกครั้ง จึงทำให้พ้นโทษ

ระหว่างบวช ได้ฉายาว่า พระรักเกียรติ รักขิธัมโม และเดินสายบรรยายถึงความผิดพลาดในอดีตเพื่อเป็นบทเรียนแก่ผู้อื่น ก่อนจะลาสิกขาบทเมื่อต้นปี 2556

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า