SHARE

คัดลอกแล้ว

ทุกๆ 1 ชั่วโมง คนไทยเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันประมาณ 6 คน หรือเท่ากับเสียชีวิตมากถึง 54,000 คนต่อปี  ภาวะหัวใจหยุดเต้นถือเป็น “ภัยเงียบ” ที่เกิดขึ้นกับใครก็ได้  โดยไม่จำกัดอายุและไม่อาจคาดการณ์ล่วงหน้า

      หากพบคนที่หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน  เรามีเวลาเพียงแค่ 4 นาทีเท่านั้น  ที่จะช่วยชีวิตผู้ป่วยด้วยการทำ CPR (ปั๊มหัวใจผายปอดกู้ชีพ) เพราะทันทีที่หัวใจหยุดทำงาน  เลือดจะไม่ถูกสูบฉีดไปเลี้ยงสมองทำให้สมองตายเนื่องจากขาดเลือดและออกซิเจน 

      การทำ CPR ไม่ยากอย่างที่คิด  แต่สิ่งที่สำคัญคือผู้ช่วยเหลือต้องไม่ตื่นเต้นตกใจ  แล้วทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

https://www.facebook.com/WorkpointNews/videos/2438532769530545/?__xts__[0]=68.ARDDzwkqfUe1dRFXu0O0uX-JxDkEsqTmonBJvpKFq_oJwztxOH0Uodf4jeXMsiWJwEddvzAdOThoIIlbfAhTP56sZuwbfaqGrMOS-09Ok3KypeGXmcAx8B5BRIjHHTz-E_iRb6axlS8h_8KHQqm8J-5OVD-DZ3uWqQsk2EWEftx8An7bOd_u8yR12P4SY0rCRF4pknhLwuZc9o7RCud2kZBOeqlO2VXbTa4xygw2K-boH1tE5qDT7lv-3dS1k9w1awgDru_1zAQC0OhZANbFwfXjV6JLnZRSHRqT9MDm5bVjPAYxOsQX4XkzyWEVID02EVupJW3vnb3sOuDhzvaQwHDzXzJY9d5jEA&__tn__=H-R

  1. เพื่อพบคนหมดสติ  ให้ตบไหล่พร้อมปลุกเรียก “คุณ! คุณ! คุณ!
  2. ถ้าผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว  รีบตะโกนขอความช่วยเหลือและโทรแจ้ง 1669 (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ)
  3. เช็กดูว่าผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นหรือไม่  โดยเอาหูแตะบริเวณจมูกของคนไข้  ตามองที่หน้าอก  หากหน้าอกคนไข้ไม่ขยับ  หน้าท้องไม่กระเพื่อม  แสดงว่าหยุดหายใจให้ปั๊มหัวใจทันที
  4. สำหรับการปั๊มหัวใจ  ให้ปั๊ม 100-120 ครั้งต่อนาที  ปั๊มต่อเนื่องนาน 2 นาที  แล้วสลับคนปั๊ม  ควรปั๊มไปเรื่อยๆ จนกว่าทีมกู้ภัยจะมาถึง
  5. ในขณะเดียวกัน  ถ้าในสถานที่เกิดเหตุมีเครื่อง AED (เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ) ให้รีบไปนำมาช่วยผู้ป่วยให้เร็วที่สุด
  6. ส่วนวิธีการใช้เครื่อง AED นั้น  ให้กดปุ่มเปิดเครื่อง  แปะแผ่นนำไฟฟ้าในตำแหน่งที่ลูกศรบอก  จากนั้นทำตามที่เครื่องสั่งระหว่างรอทีมกู้ภัย

 

เหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา  ทักษะการทำ CPR จึงสำคัญ

      ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า  แต่ละปีมีคนไทยเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันกว่า 54,000 คน หรือเฉลี่ยแล้วเท่ากับเสียชีวิตประมาณ 6 คน ทุกๆ 1 ชั่วโมง  ในทางการแพทย์ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันถือเป็น “ภัยเงียบ” ที่เกิดขึ้นกับใครก็ได้  ไม่เว้นแม้แต่คนที่ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ

      ปรัชญา โสภา  หนุ่มวัยยี่สิบปลาย  เคยหัวใจหยุดเต้นขณะวิ่ง  โดยปกติเขาเป็นคนสุขภาพแข็งแรงและซ้อมวิ่งระยะ 5-10 กิโลเมตรอย่างสม่ำเสมอ  เฉลี่ย 3 วันต่อสัปดาห์  แต่เหตุไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นในเช้ามืดวันหนึ่งของการแข่งขันมินิมาราธอนที่ จ.อยุธยา

ปรัชญา โสภา นักวิ่งอายุ ที่เคย ‘หัวใจหยุดเต้น’ – ภรรยาและลูกสาว

      “ประมาณกิโลเมตรที่สาม  มันเหมือนจะขาดใจครับ  แต่ไม่คิดว่าผิดปกติอะไร  ทีนี้ผมก็วิ่งต่อไปเรื่อยๆ จนรู้สึกว่าร่างกายเริ่มอยู่ตัว  ไม่ค่อยเหนื่อยแล้ว  จำได้ว่าวิ่งไปสักพักภาพก็ตัดเลย”  ปรัชญาเล่าย้อนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2560

      โชคดีในครั้งนั้นคนที่วิ่งตามหลังเขามาคือ  พงษ์ศักดิ์ อุบลวรรณี  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ  ซึ่งมีความรู้เรื่องการทำ CPR  “พี่ก็ปั๊มไปตามรอบ ขณะที่ปั๊มหน้าเริ่มเขียวแล้ว  มีน้องอีกคนหนึ่งที่เป็นนักวิ่งด้วยกันคอยช่วยอยู่ข้างๆ  แล้วหน่วยกู้ชีพก็มา ใช้เครื่อง AED ช่วยคนไข้จนหัวใจเริ่มกลับมาเต้น”  พงษ์ศักดิ์เล่า

พงษ์ศักดิ์ อุบลวรรณี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ‘ผู้ช่วยชีวิต’ นักวิ่งที่หัวใจหยุดเต้น

      ปรัชญารู้สึกตัวอีกทีที่โรงพยาบาล  เขาบอกว่า “เหมือนได้โอกาสที่สอง”  และนึกไม่ออกเลยว่าหากวันนั้นเขาเสียชีวิตไปจริงๆ ภรรยากับลูกสาวอีก 2 คนที่ยังเล็กอยู่ทั้งคู่ จะใช้ชีวิตต่อไปอย่างไร 

      แต่การรอดชีวิตของปรัชญาถือว่าเป็นส่วนน้อย  เมื่อเทียบกับสถิติการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันของคนไทยที่ได้กล่าวไปข้างต้น

 

ถ้าทำ CPR พร้อมกับใช้เครื่อง AED สามารถเพิ่มโอกาสรอดชีวิตได้ 10 เท่า

      CPR เป็นการกดนวดหัวใจเพื่อกระตุ้นอัตราการไหลเวียนของเลือด  ส่วนการผายปอดคือการช่วยเติมออกซิเจนเข้าไป  แต่ไม่ได้ทำให้หัวใจกลับมาทำงาน  ดังนั้น AED หรือเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจจึงมีความสำคัญ  เพราะการทำงานของเครื่อง AED คือปล่อยกระแสไฟฟ้าไปกระตุกหัวใจของผู้ป่วยให้กลับมาเต้นอีกครั้ง

      “ในกลุ่มคนไข้ที่หมดสติแล้วมีภาวะหัวใจหยุดเต้น  การทำ CPR อย่างเดียวอัตราการรอดชีวิตจะอยู่ที่ประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์  แต่ถ้าใช้เครื่อง AED ร่วมด้วยอัตราการรอดชีวิตเพิ่มขึ้นได้ประมาณ 10 เท่า”  ผศ.นพ.นครินทร์ ศิริทรัพย์  หนึ่งในกรรมการดำเนินงานโครงการกระตุกหัวใจเพื่อคนไทยทุกคน อธิบาย

      ผศ.นพ.นครินทร์  ยังกล่าวอีกว่า  มีโรคหลายโรคที่ทางการแพทย์พยายามป้องกัน  เช่น  โรคหัวใจ  บางชนิดสามารถตรวจทราบสาเหตุได้  แต่บางชนิดก็ไม่อาจทราบ  เพราะสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติมีมากมาย  โรคเหล่านี้ถือเป็น “ภัยเงียบ”  ดังนั้นแม้ผู้ป่วยจะดูแลสุขภาพอย่างดี  ออกกำลังกายดี  โรคเหล่านี้ก็อาจเกิดขึ้นได้

      อย่างไรก็ตาม  ปัจจุบันประเทศไทยยังขาดแคลนเครื่อง AED ในพื้นที่สาธารณะ  โดยเฉพาะพื้นที่ต่างจังหวัด  นอกจากนั้นคนไทยส่วนใหญ่ก็ยังขาดความเข้าใจวิธีการทำ CPR และใช้เครื่อง AED  ทำให้ผู้พบเห็นเหตุการณ์คนแรกๆ ไม่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทันเวลา

 

รู้ไว้  ไม่ได้ใช้  ดีกว่าต้องใช้…แล้วไม่รู้

      สำหรับแฟนข่าวเวิร์คพอยท์ที่ต้องการเรียนรู้วิธีการทำ CPR และใช้เครื่อง AED  เพื่อเตรียมความพร้อมไว้สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน  สามารถเลื่อนขึ้นไปชมคลิปสาธิตที่ด้านบนซึ่งอธิบายไว้โดย พว.พนมกรณ์ แสงอรุณ  พยาบาลวิชาชีพแผนกฉุกเฉิน  ฟังง่ายๆ แต่ละเอียดและครบทุกขั้นตอนภายใน 4 นาที

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า