SHARE

คัดลอกแล้ว

วันนี้ที่ประชุม ครม.ต้องตัดสินใจครั้งสำคัญ โดยมีเดิมพันหลายแสนล้านบาท ต้องจับตาว่าครม.จะเลือกยุติปัญหาความขัดแย้งทั้งหมดระหว่าง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย กับ บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ ด้วยการต่อสัญญาทางด่วนให้อีก 30 ปี แลกกับการจ่ายค่าชดเชย หรือที่บางคนเรียกว่า ค่าโง่นับแสนล้านบาทหรือไม่

วันนี้ (2ก.ค.62) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะต้องพิจารณาปัญหาความขัดแย้งระหว่างการทางพิเศษแห่งประเทศไทย กับบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ว่าจะยุติปัญหาด้วยการต่อสัญญาทางด่วนอีก 30 ปี ให้กับ BEM แลกกับการจ่ายค่าชดเชยหรือที่บางคนเรียกว่าค่าโง่นับแสนล้านบาทหรือไม่

ปัญหาขัดแข้งระหว่างการทางพิเศษ กับ BEM มีหลายกรณีที่ฟ้องร้องกัน แต่กรณีที่ยุติแล้วคือ ทางด่วนเส้นอุดรรัถยา ศาลปกครองสูงสุดให้การทางพิเศษจ่ายชดเชยBEM รวมดอกเบี้ยแล้ว 4,000 ล้านบาท

ทำไมถึงต้องจ่ายเส้นทางอุดรรัถยา สร้างจากแจ้งวัฒนะ ไปถึงบางปะอิน การทางพิเศษให้ BEM สร้างเสร็จเปิดให้บริการปี 2541 ในขณะเดียวกันรัฐ ก็ไปให้เอกชนอีกรายสร้างทางพิเศษจากดอนเมืองไปถึงรังสิต หรือดอนเมืองโทลเวย์ ส่วนที่ 2 ต่อขยายไปจากสนามบินดอนเมือง

แน่นอนเป็นเรื่องดี ของคนใช้รถมีทางเลือกมากขึ้น แต่คนเดือดร้อนคือ BEM เพราะรัฐไปเชิญมาทำสร้างทาง ในสัญญากับเขาว่าจะไม่ให้เจ้าอื่นมาแข่งขัน แต่ 2 เส้นทางแทบจะคู่ขนานกัน ทำให้รายได้นี้ของ BEM ไม่เป็นไปตามเป้าถึงฟ้องอนุญาโตตุลาการ มาจนถึงศาลปกครองสูงสุดให้จ่ายชดเชย 4,000 ล้านบาท

“นี่คือระเบิดลูกแรก แต่อีกไม่นานระเบิดลูกอื่นคงตามมา เพราะข้อพิพาทระหว่าง BEM กับการทางพิเศษอีกหลายเรื่องรวมมูลค่าหลักแสนล้านบาท”

บอร์ดการทางพิเศษมีแนวคิดว่า ถ้าแบบนี้เดี๋ยวต่อสัญญาทางด่วนให้ BEM ออกไปอีก 30 ปี ไม่ต้องจ่ายค่าสัมปทานแต่มีข้อแม้ว่า ต้องถอนเรื่องฟ้องร้องออกทั้งหมด ข้อเสนอนี้การทางพิเศษส่งให้อัยการพิจารณาคาดการณ์ว่ากระทรวงคมนาคม จะนำเสนอต่อ ครม.พรุ่งนี้ ( 2 ก.ค.)

ปัญหาคือสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการทางพิเศษ และนพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.พรรคพลังธรรมใหม่ ไม่เห็นด้วย กับการนำสัมปทานไปแลกการไม่จ่ายชดเชย อธิบายประเด็นนี้ว่า

“รายได้ 30 ปี การทำงานร่วมกันระหว่างการทางพิเศษ กับเอกชน 750,000 ล้านบาท เอกชนได้ 400,000 ล้านบาท การทางพิเศษ 300,000 ล้านบาท แลกไม่ต้องจ่ายค่าโง่ 130,000 ล้านบาท จะคุ้มหรือไม่ถ้ารัฐบาลให้การทางพิเศษทำเอง ไม่ต้องลงทุนใหม่มีแต่ค่าซ่อมบำรุงเท่านั้น” นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.พรรคพลังธรรมใหม่ กล่าว

พูดง่ายๆ นพ.ระวี บวกลบคูณหารแล้ว ให้ BEM ต่อสัมปทาน ไม่คุ้ม ยอมสู้คดีแล้วจ่ายค่าชดเชยไปดีกว่า ส่วนทางด่วน เมื่อหมดสัญญาแล้วก็ดึงมาทำเอง เก็บค่าผ่านทางเอง ไม่ต้องแบ่งรายได้ให้ BEM

เส้นทางที่การทางพิเศษจะต่อให้ BEM อัตโนมัติ ส่วน A, B, C จะหมดสัญญาปี 2563 ส่วน D จะหมดสัญญาปี 2570 และให้สิทธิ BEM พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ใต้ทางด่วนก่อนรายอื่นๆ แค่ให้สิทธิก่อนไม่ใช่ให้ฟรี ที่สำคัญคือ BEM ต้องสร้างทางด่วนอีกชั้นหนึ่ง หรือเรียกว่า Double Deck จากประชาชื่นมาถึง พระราม 9 โดยไม่เก็บค่าผ่านทางเพิ่ม ภาพที่จะเกิดขึ้นคือจะมีทางด่วนคร่อมทางด่วนอีกชั้น ตรงมาพระราม 9 เพื่อแก้รถติด

นายประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าการการรถไฟ (รฟท.) เห็นด้วยกับวิธีการให้สัมปทานแลกกับไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย แต่เคยอยู่ในการทางพิเศษมานาน โดยการไม่ต่อสัญญาไม่ใช่รัฐมีแต่ได้กับได้เท่านั้น

“รายได้ที่เกิดจาก Double Deck ต้องเป็นของการทางพิเศษทั้งหมด แต่ถามว่าที่เขาพูดทั้งหมด ไม่ได้พูดเรื่องการก่อสร้างอีกเท่าไหร่ อีกกี่หมื่นล้านบาท คิดหรือไม่ ส่วนนี้ต้องนำมาพูด ไม่ใช่พูดว่าการทางพิเศษได้ทั้งหมดแล้วเป็นจริงหรือไม่ เช่น พื้นที่ใต้ทางด่วน ถ้านำมาพัฒนาก็ต้องลงทุนทำใหม่ทั้งหมด” อดีตผู้ว่าการการรถไฟ กล่าว

วันนี้ (2 ก.ค.) ต้องติดตามว่าวาระนี้จะเข้าหรือไม่ ถ้าเข้า ครม.จะตัดสินใจอย่างไร เรื่องนี้ก็คล้ายโฮปเวลล์ ยังไงรัฐก็ต้องจ่าย แต่จ่ายในรูปแบบไหนจึงจะคุ้มที่สุด ส่วนว่า ค่าโง่นี้เกิดจากความผิดพลาดของใครก็อีกเรื่อง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า