SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เตือนระวังอันตรายยา ลอร์คาเซริน (Lorcaserin) พบมีแนวโน้มนำมาใช้ในทางที่ผิดเป็นยาควบคุมน้ำหนัก ซึ่งไม่เคยพบมาก่อนในประเทศไทย ยาชนิดนี้ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทมีผลทำให้ลดความอยากอาหารได้ แต่มีผลข้างเคียง ได้แก่ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ มีผลต่อจิตและประสาท และหัวใจ ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ที่มีภาวะบกพร่องของตับและไต ในต่างประเทศจัดเป็นยาควบคุมและการใช้ยาต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

วันที่ 4 ก.ค.62 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รับตัวอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ลักษณะแคปซูลสีขาวในแผงอลูมิเนียมพลาสติก จำนวน 180 แคปซูล และตัวอย่างจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ลักษณะผงสีน้ำตาล สีขาว และสีดำ บรรจุขวด จำนวนมาก น้ำหนักรวม 70 กิโลกรัม ส่งมาตรวจพิสูจน์เพื่อหาไซบูทรามีน ยา และวัตถุออกฤทธิ์

จากการตรวจพิสูจน์ในห้องปฏิบัติการ ไม่พบไซบูทรามีน แต่ตรวจพบ ลอร์คาเซริน ซึ่งเป็นยาควบคุมน้ำหนักที่ยังไม่มีจำหน่าย และไม่เคยพบมาก่อนในประเทศไทย ออกฤทธิ์ควบคุมความอยากอาหารผ่านระบบประสาทส่วนกลาง แต่มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ มีผลต่อหัวใจ และภาวะทางจิตและประสาท เนื่องจาก ลอร์คาเซริน มีข้อบ่งใช้ที่ต้องระวังสำหรับผู้ที่มีภาวะอ้วน น้ำหนักเกินหรือมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ดังนั้นการใช้ลอร์คาเซริน จะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์เท่านั้น ไม่ใช้ร่วมกับยาควบคุมน้ำหนักชนิดอื่นๆ และเมื่อใช้แล้วพบอาการข้างเคียง ต้องหยุดใช้ยาและรีบมาพบแพทย์ทันที เนื่องจากยานี้เมื่อรับประทานจะถูกดูดซึมได้ดีผ่านตับและขับออกทางปัสสาวะ จึงต้องระมัดระวังการใช้ในผู้ที่ภาวะบกพร่องทางตับและไต ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากมีผลต่อทารกในครรภ์ การปนปลอมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจึงอาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างมาก เมื่อรับประทานในขนาดยาที่สูงจนเกิดผลข้างเคียงต่อจิตและประสาท หรือในหญิงตั้งครรภ์ หรือผู้มีภาวะหลอดเลือดและหัวใจ หรือผู้ที่มีภาวะบกพร่องของตับและไต

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

ลอร์คาเซริน ยังไม่มีการควบคุมในประเทศไทย
ในสหรัฐอเมริกาจัดเป็นสารควบคุมในกลุ่ม Schedule IV drugs คือ สามารถใช้ในทางการแพทย์ แต่มีแนวโน้มการนำมาใช้ในทางที่ผิดเช่นเดียวกับเฟนเตอมีน รวมทั้งยาควบคุมน้ำหนักอื่นๆ เช่น อีเฟดรีน แอมฟีพราโมน นอร์ซูโดอีเฟดรีน และมาซินดอล เป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 2 เนื่องจากมีการใช้ในทางการแพทย์ แต่มีแนวโน้มการนำมาใช้ในทางที่ผิดสูง ซึ่งปัจจุบัน ลอร์คาเซริน ยังไม่มีการควบคุมในประเทศไทย

“ลอร์คาเซริน ที่พบการปนปลอมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในประเทศไทย คาดว่านำมาใช้ทดแทนไซบูทรามีน เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกฎหมาย ซึ่งไซบูทรามีน จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 ดังนั้นจึงมีแนวโน้มการนำ ลอร์คาเซริน มาใช้ในทางที่ผิดสูง ทั้งนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้นำเสนอข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อใช้ในการพิจารณาควบคุมทางกฎหมาย เฝ้าระวังการแพร่ระบาดต่อไป” อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า