SHARE

คัดลอกแล้ว

ผู้แทนประเทศไทย นำเสนอผลงานการจัดตั้ง กสศ. ในที่ประชุมสหประชาชาติ ย้ำเป็นความก้าวหน้าของไทยในวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 ลดความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษา

นางสาวธันว์ธิดา วงศ์ประสงค์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมความร่วมมือนวัตกรรมและทุนการศึกษา กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับคณะผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมเวทีหารือทางการเมืองระดับสูง ว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (2019 High-Level Political Forum on Sustainable Development: HLPF 2019) ระหว่างวันที่ 9-18 ก.ค. 62 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก ซึ่งเป็นการประชุมประจำปีที่สหประชาชาติจัดขึ้นเพื่อให้ประเทศต่างๆ ได้ร่วมทบทวนความคืบหน้าการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 (2030 Agenda for Sustainable Development) นับแต่ผู้นำประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทยได้ร่วมรับรองวาระดังกล่าวเมื่อเดือน ก.ย. 58 โดยในปีนี้มีหัวข้อหลักคือการเสริมสร้างพลังประชากรทุกกลุ่มผ่านการพัฒนาที่ทั่วถึงและอย่างเสมอภาค (Empowering people and ensuring inclusiveness and equality) และมีการทบทวนความคืบหน้าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เชิงลึกที่ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการลดความเหลื่อมล้ำ (SDG10)

นางสาวดุริยา อมตวิวัฒน์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

รศ.ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

นางสาวดุริยา อมตวิวัฒน์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวรายงานความก้าวหน้าในการสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียมและสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ รศ.ดร.ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวรายงานความก้าวหน้าในการลดความเหลื่อมล้ำด้านต่างๆ เพื่อยืนยันความมุ่งมั่นของไทยในการขับเคลื่อนวาระเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยปี 2030 ที่จะไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง รวมทั้งความก้าวหน้าของการดำเนินงานของรัฐบาลไทยในวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษาและการลดความความเหลื่อมล้ำที่เป็นรูปธรรม เช่น การจัดตั้งกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาขึ้น เมื่อปี 2561 จากข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ตามบทบัญญัติของมาตรา 54 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือด้อยโอกาส20 เปอร์เซ็นต์ท้ายสุดของประเทศ

นอกจากนี้ คณะผู้แทนประเทศไทยได้นำส่งรายงานวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจ ถึงผลงานความก้าวหน้าตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านต่างๆ ที่ถึงครบกำหนดรายงานในปีนี้ โดยในการรายงานตามเป้าหมายที่ 4 การสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียมและสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ได้มีการรายงานผลการดำเนินงานในปีแรกของ กสศ. ใน 2 ประเด็นสำคัญได้แก่

1) ปีการศึกษา 2561 การปฏิรูประบบการจัดสรรงบประมาณด้วยหลักความเสมอภาค ด้วยมาตรการการจัดสรรเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไข ให้ตรงตามความต้องการของนักเรียนเป็นรายบุคคล พร้อมกำหนดเงื่อนไขที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา เช่น อัตราการมาเรียน และดัชนีมวลกาย โดยใช้ระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (iSEE) ในการชี้เป้าและติดตามกลุ่มเป้าหมายที่แม่นยำและใช้นวัตกรรมการคัดกรองนักเรียนยากจนด้วยระบบ Proxy Means Tests: PMT พบนักเรียนยากจนระดับก่อนประถมศึกษา – มัธยมศึกษาตอนต้น ในสถานศึกษาสังกัด สพฐ. อปท. และ ตชด. ประมาณ 2 ล้านคนทั่วประเทศและจัดสรรเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไขเพิ่มเติมให้แก่นักเรียนยากจนพิเศษ 600,000 คน คิดเป็นร้อยละ 30 ของนักเรียนยากจนทั้งหมด เพื่อป้องกันการหลุดออกจากระบบการศึกษาของเด็กเยาวชนวัยเรียน ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาที่เสมอภาค และเพิ่มอัตราการเข้าเรียนสุทธิระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของประชากรเด็กเยาวชนในประเทศไทยตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา

2) ให้ความสำคัญกับการนำเด็กตกหล่นและเด็กออกกลางคันให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาเชื่อมกับฐานข้อมูลเลขประจำตัว 13 หลัก เพื่อให้สำรวจเด็กตกหล่นจากฐานข้อมูลผู้เรียนทั้งในและนอกระบบที่มีกว่า 15 ล้านคน และส่งข้อมูลให้หน่วยงานในพื้นที่ติดตามและนำเด็กตกหล่นกลับสู่ระบบการศึกษาในรูปแบบที่เหมาะสม การขยายผลการจัดสรรเงินอุดหนุนแบบมีเงื่อนไขเพิ่มเติมให้แก่นักเรียนยากจนพิเศษในในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และโรงเรียนพระปริยัติธรรม รวมทั้งอยู่ระหว่างการจัดทำต้นแบบการสนับสนุนทุนเพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา อาทิ ทุนนวัตกรรมสายอาชีพชั้นสูงให้เยาวชนจากครัวเรือนที่ยากจนได้เรียนต่อประกาศนียบัตรสายอาชีพชั้นสูงมากกว่า 2,000 คน ระบบต้นแบบการพัฒนาทักษะแรงงานด้อยโอกาส ให้เป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่และแรงงานฝีมือโดยใช้ชุมชนเป็นฐานนำร่องใน 50 พื้นที่ทั่วประเทศ และทุนครูรุ่นใหม่สำหรับนักเรียนในพื้นที่ห่างไกล เพื่อพัฒนาคุณภาพโรงเรียนของชุมชน ปีละ 300 คน ต่อเนื่อง 5 ปี

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า