SHARE

คัดลอกแล้ว

กรณีแพทย์ไทยได้ประกาศเตือน ระวัง “โรคลายม์” ภาวะสมองอักเสบ ความจำเสื่อม หลังพบผู้ป่วยรายแรกในประเทศไทย เป็นหญิงวัย 47 ปี ติดเชื้อหลังจากกลับมาจากท่องเที่ยวที่ประเทศตุรกี ใช้เวลารักษากว่า 2 เดือนจนหาย แต่ทำให้เกิดผลกระทบความทรงจำขาดหายไปบางส่วน นั้น

ข้อมูลจาก หน่วยปฏิบัติการวิจัยโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำในสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า โรคลายม์ (Lyme disease) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Borrelia spp. ติดต่อโดยการแพร่เชื้อผ่านเห็บ อาการของโรคแตกต่างกันไป ส่วนใหญ่จะมีผื่นขึ้นบนผิวหนังและปวดตามข้อ หรือข้ออักเสบ โรคนี้พบได้ทั่วโลก

สัตว์ชนิดใดเป็นโรคลายม์ได้บ้าง

สัตว์ที่สามารถเป็นโรคลายม์ได้ ได้แก่ สุนัข ม้า และโคสามารถเป็นโรคลายม์ได้ นอกจากนี้ กวางหางขาว หนูไมซ์ สัตว์จำพวกกระรอกเทา และแรคคูนสามารถเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน

 

สัตว์ติดโรคลายม์ได้อย่างไร

โดยสัตว์ติดโรคลายม์ได้โดยการถูกเห็บที่มีเชื้อกัด สัตว์ป่าโดยเฉพาะสัตว์ฟันแทะขนาดเล็กและกวางสามารถเป็นพาหะของเชื้อตามธรรมชาติได้ เห็บได้รับเชื้อจาการดูดเลือดสัตว์ป่าที่มีเชื้อ และสามารถแพร่ไปยังสัตว์อื่นหรือคนได้เมื่อถูกเห็บกัด

 

โรคลายม์มีผลต่อสัตว์อย่างไร

สัตว์ป่าที่ติดเชื้อโรคลายม์มักไม่แสดงอาการป่วย สุนัขอาจใช้เวลาถึง 2-5 เดือนจึงแสดงอาการป่วย อาจพบอาการ ขากะเผลก ข้ออักเสบ โดยเป็นมากที่สุดที่ข้อศอกและข้อเข่า อาการกะเผลกอาจเป็นสลับกันจากขาหนึ่งไปอีกขาหนึ่ง อาจพบไข้สูง ส่วนใหญ่โรคจะหายไปเอง แต่ในบางรายอาจป่วยเป็นระยะเวลานานและอาจพบปัญหาที่ไตและหัวใจซึ่งอาจทำให้ตายได้ ในม้าและโคมักไม่แสดงอาการของโรคให้เห็น อาจมีอาการขากะเผลกหรือขาแข็ง

(Photo by JEAN-CHRISTOPHE VERHAEGEN / AFP)

คนติดโรคลายม์ได้หรือไม่

คนติดโรคนี้ได้จากการถูกเห็บที่มีเชื้อกัด โดยเห็บต้องเกาะอยู่อย่างน้อย 24 ชั่วโมงจึงจะสามารถแพร่เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ เห็บในระยะตัวอ่อน (nymph) เป็นตัวแพร่โรคที่สำคัญที่สุด

โรคลายม์ที่พบในคนอาจไม่แสดงอาการป่วยเลยหรืออาจทำให้เกิดอาการรุนแรงมากได้ โดยอาจเริ่มแสดงอาการ 1-2 สัปดาห์หลังจากถูกเห็บกัด โดยเริ่มจากเป็นรอยบวมแดงบริเวณที่ถูกเห็บกัดแล้วกลายเป็นผื่นวงกลมคล้ายเป้ายิงปืนขนาดใหญ่ซึ่งไม่พบในทุกรายที่ติดเชื้อ อาการอื่นๆ ได้แก่ มีไข้ ปวดตามตัว คอแข็ง และปวดหัว

อาการในระยะที่สองของโรคเกิดขึ้นเมื่อผ่านไปหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือนต่อมา โดยจะพบว่ามีอาการปวดตามข้อมากกว่าหนึ่งข้อโดยพบมากที่สุดที่ข้อเข่า เกิดการปวดและหายสลับกันไปเป็นระยะๆ และอาจพบข้อบวมซึ่งอาการนี้อาจเป็นอยู่นานเป็นปี ในระยะนี้อาจพบเห็นผื่นรูปกลมคล้ายเป้ายิงปืนจำนวนมากขึ้น และในบางรายพบว่ามีการแพร่ของแบคทีเรียไปสู่หัวใจหรือสมองด้วย

 

ควรติดต่อใครเมื่อสงสัยว่าเกิดโรคลายม์

กรณีสัตว์ : แจ้งสัตวแพทย์

กรณีคน : พบแพทย์

 

จะป้องกันสัตว์จากโรคลายม์ได้อย่างไร

ใช้สารกำจัดและป้องกันเห็บ ดูแลสัตว์ให้อยู่ห่างจากเขตป่าและสัตว์ป่า ควรตรวจหาและกำจัดเห็บทันทีที่พบ ควรใส่ถุงมือป้องกันตนเองเมื่อทำการกำจัดเห็บ

 

จะป้องกันตัวจากโรคลายม์ได้อย่างไร

ควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีเห็บอาศัยอยู่ เช่น กองใบไม้ บริเวณป่า พุ่มไม้ ถ้าต้องทำงานในบริเวณดังกล่าวควรใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว รองเท้าที่ปิดนิ้วเท้า เสื้อที่มีสีสว่างจะช่วยให้มองเห็นเห็บได้ง่าย ควรตรวจร่างกายเพื่อหาเห็บบ่อยๆ และกำจัดเห็บทันทีที่พบ ควรใส่ถุงมือเมื่อกำจัดเห็บและล้างมือหลังจากเสร็จทุกครั้ง

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า