SHARE

คัดลอกแล้ว

บก.นรข. แฉในเวทีสถานการณ์แม่น้ำโขงและสิทธิชุมชน (ปสม.) รุ่นที่ 1 ระบุผลกระทบวิกฤตโขง-สูญเสียธรรมชาติ คนริมน้ำหันมาค้ายาเสพติด ขณะที่นักวิชาการ เผย ผลการศึกษาของ UN ระบุประชาชนลาวได้ประโยชน์จากเขื่อนน้อยมากส่วนใหญ่ตกอยู่ในมือผู้นำไม่กี่ครอบครัว

วันที่ 23 ก.ค.2562 สำนักข่าวชายขอบ รายงานวานนี้ว่า ที่ห้องประชุมโรงแรมฟอร์จูน อ.เชียงของ จ.เชียงราย มีการจัดเวทีสถานการณ์แม่น้ำโขงและสิทธิชุมชน ของหลักสูตรประกาศนียบัตรสิทธิมนุษยชนสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปสม.) รุ่นที่ 1 โดยนายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว หรือครูตี๋ ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ กล่าวว่า แม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลงจนเป็นวิกฤติต่อเนื่องมาในขณะนี้ เนื่องจากปัจจัยหลัก ที่สำคัญคือ เขื่อน การเดินเรือพาณิชย์ การใช้สารเคมีเกษตรและที่ดิน ขยะ ทั้งนี้พบว่า เขื่อน เป็นปัจจัยหลักที่เปลี่ยนแม่น้ำโขงอย่างรวดเร็ว วิกฤติแม่น้ำโขงสาหัสมากยิ่งขึ้น ในปี 2539 เขื่อนมานวานในจีน เริ่มกักเก็บน้ำ ระดับน้ำโขงขึ้นลงผิดปกติ เกิดน้ำท่วม 2553 ในพื้นที่ 3 อำเภอ เสียหาย 85 ล้านบาท

นายนิวัฒน์ กล่าวว่า ระดับน้ำผิดปกติ จีนระบายน้ำเพิ่ม 30% ในหน้าแล้ง ซึ่งไม่สัมพันธ์กับธรรมชาติเพียงแค่ใช้แม่น้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าและเดินเรือ ขณะที่ไกหรือสาหร่ายแม่น้ำโขง ซึ่งปกติสามเดือนมีรายได้เกือบแสนบาท เป็นวัฒนธรรมของผู้หญิง ปีนี้เก็บไกได้แค่ 2 วันเพราะจีนระบายน้ำตั้งแต่ต้นกุมภาพันธ์-เมษายน ไม่มีช่วงให้เก็บไกได้เลย ฤดูแล้ง เกาะแก่งหินผา เป็นที่ขยายพันธุ์วางไข่ของนก แต่ก็โดนน้ำพัดไป ขณะที่จีนจะเดินเรือเพื่อพาณิชย์ขนาดใหญ่ แต่การค้าขายต้องค้าขายให้เป็นธรรม และหากมีการระเบิดแก่งแม่น้ำโขงมีแต่จีนเท่านั้นที่ได้ แต่ท้องถิ่นและระบบนิเวศคงอยู่ไม่ไหว

ดร.อภิสม อินทรลาวัลย์ นักวิชาการมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวว่า แม่น้ำโขงแห้งมากที่สุดในรอบ 50 ปี แม่น้ำโขงเกิดจากความอุดมสมบูรณ์เป็นวงจรระดับน้ำจากฝน ประชาชนกว่า 60 ล้านคนต่างพึ่งพิงแม่น้ำโขงและทรัพยากร แม้ว่าเขื่อนต่างๆ บนแม่น้ำโขง มีเอกสาร EIA สำหรับแต่ละเขื่อน แต่ยังขาดการศึกษาในภาพรวม cumulative impacts assessment จำเป็นต้องมองยุทธศาสตร์ของภูมิภาค และประเมินการใช้พลังงานไฟฟ้า เมื่อเปรียบเทียบปลาแม่น้ำโขง

“เขื่อนตอนบนสร้างแล้วทำให้การไหลของน้ำเปลี่ยนแปลงไป มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ทุกสถานีวัดระดับน้ำ มีข้อมูลทางวิชาการยืนยัน ตะกอนดินทีไหลมากับแม่น้ำโขง ทับถมริมฝั่ง เป็นความอุดมสมบูรณ์ เมื่อตะกอนดินลดลงจากเขื่อนทำให้เกิดการใช้สารเคมี คณะมนตรีแม่น้ำโขงศึกษาพบว่า ปลาจะลดลงอย่างมากทั้งภูมิภาค จากการตรวจสอบข้อมูลและข่าว พบว่าจากสื่อนานาชาติ ออกมาให้เห็นว่าผลกระทบจากเขื่อนรุนแรง แต่ข่าวจากสำนักข่าวจีน พยายามแสดงถึงว่าเขื่อนที่ลงทุนโดยจีนในลาว ทำให้ประชาชน มีความเป็นอยู่ดีขึ้น มีอาชีพทำงานที่เขื่อน”

นักวิชาการมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวว่า ในการศึกษา BDP2 ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ระบุว่า ลาวจะมีรายได้และผลประโยชน์จากการลงทุนในโครงการเขื่อนเพียงเล็กน้อย เพราะเป็นการลงทุนของเอกชนจากต่างประเทศ สำหรับการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์แล้ว การสูญเสียทางธรรมชาติเทียบไม่ได้กับผลประโยชน์ การศึกษาขององค์การสหประชาชาติก็ชี้ชัดว่าในลาว ประชาชนไม่สามารถได้ผลประโยชน์จากการลงทุน แต่ตกอยู่กับครอบครัวชนชั้นนำเพียงไม่กี่รายเท่านั้น

ขณะที่นายสุรนาท ศิริโชติ ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาเชียงราย กล่าวว่า กรมเจ้าท่ามีภารกิจหลักเรื่องการเดินเรือ ในแม่น้ำโขงโดยเริ่มมีกรอบความร่วมมือในการใช้แม่น้ำโขงเพื่อการขนส่งระหว่าง 4 ประเทศ เริ่มในปี 2546 ปริมาณเรือจีนปัจจุบันมี 76 ลำ เรือไทย 30 พม่า 30 ลาว 500 ลำ ซึ่งไทยได้ประโยชน์จากการส่งออกสินค้า ได้ดุลการค้า 1.5 หมื่นล้านต่อปี

ทั้งนี้ในการประชุม 4 ประเทศ ไทย ระบุว่า ต้องการมีส่วนร่วมของประชาชนในเวทีหารือในไทย พบว่าร้อยละ 90 ผู้ร่วมประชุมไม่เห็นด้วย เนื่องจากคนริมโขงได้รับผลกระทบจากเขื่อนมาตั้งแต่ พ.ศ.2539 ขนาดส่วนราชการเองก็ยังไม่มีข้อมูลการปล่อยน้ำจากจีน มีแค่จาก MRC ที่รับแจ้งข้อมูลบางช่วงจากจีน เช่น ในฤดูฝนแจ้งผ่านเว็บไซต์

ด้าน นอ.วุฒิชัย ภู่เจริญยงค์ ผู้บัญชาการหน่วยรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำน้ำโขง(นรข.) กล่าวว่า นรข.ดูแลความมั่นคง และบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งพื้นที่นี้ทับซ้อนด้านความมั่นคงและมั่งคั่ง หากเข้มงวดระหว่าง 2 ฝั่งจะทำมาหากินได้ยาก ที่ผ่านมาต้องไปช่วยเรือที่เกยตื้น ทั้งนี้การทำประมงและเกษตร ถูกเปลี่ยนแปลงไปหมดตลอดระยะทาง 96 กิโลเมตรจากสามเหลี่ยมทองคำและแก่งผาได พบว่าเรือหาปลากลายเป็นเรือหายา ถนนเลียบสองฝั่งโขงเอื้อต่อการค้ายาเสพติด น้ำโขงแคบลงๆ ผู้ค้ายาแบกยาได้ 1 แสนเม็ด แต่ที่แม่น้ำโขง ขับรถลงไปส่ง 5 นาที ขณะที่ประชาชนเดือดร้อน จับปลาทำเกษตรไม่ได้ก็อาจต้องหันหาทางรอด “ตลอดฝั่งมีเรือจอดจำนวนมาก ไม่มีงานทำ หาปลาไม่ได้ นำไปสู่การค้ายาเสพติด เราเห็นผลกระทบสืบเนื่อง จากการสูญเสียธรรมชาติ สู่ปัญหาความมั่นคงและปัญหาสังคมอื่นๆ หากถามเรื่องการค้าขาย จากท่าเรือที่สิบสองปันนา ล่องตามน้ำลงมาถึงเชียงแสน ใช้เวลาเพียง 9-10 ชั่วโมง แต่การส่งสินค้าขึ้นไป ต้องใช้เวลาคูณสอง ที่สำคัญเรือสินค้าจีนลงมาได้ เรือคุ้มกันก็ลงมาได้” นอ.วุฒิชัย กล่าว

https://www.facebook.com/Khonanurak/posts/2328590363923355

รายละเอียดเพิ่มเติม สำนักข่าวชายขอบ 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า