Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เปิดใจ “อังคณา นีละไพจิตร” หลังยื่นหนังสือลาออกจาก กสม. พร้อม “เตือนใจ ดีเทศน์” ยอมรับอึดอัดมานาน โดยเฉพาะการวางแนวปฏิบัติให้สัมภาษณ์และแสดงความคิดเห็น 

อังคณา นีละไพจิตร

อังคณา นีละไพจิตร เปิดใจกับทีมข่าวเวิร์คพอยท์ หลังยื่นหนังสือลาออกจากการเป็น กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม./กรรมการสิทธิฯ) พร้อมนางเตือนใจ ดีเทศน์ ซึ่งมีผลในวันนี้ (31 ก.ค. 62) ว่า ตนรู้สึกมานานแล้วในเรื่องของการทำงานที่ทำได้ยาก จึงอยากจะยุติการปฏิบัติหน้าที่ รู้สึกว่าปฏิบัติงานต่อไปไม่น่าจะเกิดประโยชน์เพราะว่า บรรยากาศในการทำงานไม่สร้างสรรค์

และเห็นว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 2560 เปิดช่องให้มีการสรรหาบุคคลมาทำหน้าที่กรรมการสิทธิฯ แทน ซึ่งคณะกรรมการสรรหา จะมีการประชุมในวันที่ 2-3 สิงหาคมนี้ก่อนเสนอรายชื่อให้ ส.ว. เห็นชอบ โดยระหว่างนี้ประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองสูงสุดสามารถที่จะแต่งตั้งบุคคลมาปฏิบัติแทนให้กรรมการสิทธิฯ ครบ 7 คนได้ จึงเห็นเป็นเรื่องดีที่การลาออกในวันนี้ไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายอะไร

(เตือนใจ ดีเทศน์ – อังคณา นีละไพจิตร)

ส่วนที่บางสื่อรายงานว่าที่ลาออก เพราะระเบียบกรรมการสิทธิฯ มีการแก้ไขไม่ให้รับปัญหาร้องเรียนจากประชาชนนั้น นางอังคณา ยืนยันว่า ไม่จริง ไม่รู้ใครเป็นคนปล่อยข่าว ตกใจมาก เพราะโดยส่วนตัวลงพื้นที่ตลอด เช่นเดียวกับคุณเตือนใจ (ดีเทศน์) เมื่อได้รับเรื่องร้องเรียนเราทำงานตลอด ลงพื้นที่ไปพบเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ร้อง

แต่ถ้าจะพูดถึงความอึดอัด คือเรื่องอื่น เช่น การออกระเบียบทำให้เราทำงานได้ยากขึ้น แม้กระทั่งการแสดงความคิดเห็น การให้สัมภาษณ์สื่อ เราเองเป็นคนที่พยายามต่อสู้เรื่องสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นมาโดยตลอด พอมาถึงวันหนึ่งแล้วเรารู้สึก… อย่างมีจริยธรรมกำหนดว่า ไม่ให้พูดถึงเรื่องที่กำลังตรวจสอบ ซึ่งเราไม่เคยพูดถึงความลับในการตรวจสอบมาให้ข่าวกับสื่อ แต่ว่าการแสดงความเห็นเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิก็เป็นเรื่องสำคัญ

“บางทีเราก็รู้สึกว่าถูกตำหนิบ่อยๆ เลยเรื่องให้ข่าว เราก็แบบ… บางทีสื่อก็โทรมาถามความเห็น ซึ่งจริงๆ เราก็ต้องให้ความรู้ที่ถูกต้องกับสื่อด้วยในเรื่องหลักสิทธิมนุษยชน ก็บอกตรงๆ ว่าทำงานได้ยากขึ้นและเราก็รู้สึก… มันเป็นปัญหาการบริหารงานภายใน อย่างที่บอกบรรยากาศในการทำงานในคณะกรรมการไม่ทำให้เราทำหน้าที่ได้เต็มที่เราก็รู้สึกแบบนั้น”

(บรรยากาศในการประชุมกสม. 10 ก.ค. 62)

อังคณา บอกด้วยว่า ความรู้สึกอึดอัดในการทำงานเกิดขึ้นมานานแล้วแต่ช่วงหลังมากขึ้น ถูกร้องเรียนเยอะ แล้วเวลามีการร้องเรียนเรา กรรมการบางคนก็เห็นว่า น่าจะส่งเรื่องเราให้ ป.ป.ช. (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) อย่างเดียว ทั้งที่เราไม่ได้ทำอะไรผิด เราก็รู้สึกเบื่อเหมือนกัน กรรมการบางคนว่าเราเป็น “สายล่อฟ้าประจำกสม.” อีกทั้งเวลามีคนติดต่อมา ร้องเรียน หรือสื่อมาขอข้อมูลเราไม่เคยปฏิเสธ ยินดีจะให้เท่าที่ให้ได้ เพราะบางเรื่องเป็นประโยชน์สาธารณะ ซึ่งคุณเตือนใจก็มีเหตุผลในการลาออกคล้ายๆ กันนี้

ส่วนที่มีข่าวระบุถึงความอึดอัดนั้นเกี่ยวข้องกับ นายวัส ติงสมิตร ประธานกสม. อังคณา ยืนยันว่า ไม่ได้พูดเลย แต่ตอนนี้จะมีการกลั่นกรองเรื่องที่กสม.จะรับหรือไม่รับ (มีบางเรื่องไม่รับ) ซึ่งชาวบ้านสามารถมาโต้แย้งได้หากกสม.ไม่รับ และส่วนตัวไม่อยากพาดพิงใคร ประธานก็ไม่อยากไปยุ่งกับเขา

ทั้งนี้ในฐานะเป็นกรรมการสิทธิฯ มาเกือบ 4 ปี ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2558 อังคณา ย้ำว่า สถาบันสิทธิมนุษยชนเป็นสถาบันสำคัญระดับโลก เป็นสถาบันที่พึ่งของประชาชน ที่จะให้คำแนะนำกับรัฐในการปฏิบัติโดยเคารพสิทธิมนุษยชน มี “หลักการปารีส” เพื่อให้สถาบันสิทธิมนุษยชนทั่วโลกได้ปฏิบัติตาม

ซึ่งในส่วนของไทย ต้องยอมรับว่า ไทยมีปัญหาเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชนมานาน กรรมการสิทธิฯ ตั้งแต่ชุดที่ 1 เป็นต้นมา ก็มีบทบาทสำคัญในการปกป้องสิทธิ รับตรวจสอบรายบุคคล กลุ่ม ชุมชนมาร้องไม่ว่าจะถูกเอกชน หรือรัฐมาละเมิด นำไปสู่การปรับเปลี่ยนให้เกิดความเคารพสิทธิ เป็นที่คาดหวังของประชาชน แต่ด้วยข้อจำกัดด้านกฎหมายบางอย่างทำให้ไม่ได้ทำตอบสนองคนทั้งหมดได้ โดยเธอหวังว่า กรรมการสรรหาจะสามารถเลือกคนมาทำหน้าที่ได้ดีกว่าตัวเอง แล้ว ส.ว.จะให้ความเห็นชอบเพื่อให้มีโอกาสได้ทำงาน เพราะคนที่จะเข้ามาเป็นกรรมสิทธิฯ คงจะมีความตั้งใจมาทำงานตรงนี้

อย่างไรก็ตาม แม้ไม่ได้เป็น กรรมการสิทธิฯ อีกแล้ว แต่ อังคณา ยืนยันว่า จะยังทำงานร่วมกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนอื่น และเป็นวิทยากรในฐานอดีตกรรมการสิทธิฯ ต่อไป

วัส ติงสมิตร ประธานกสม.

ทางด้าน นายวัส ติงสมิตร ประธานกสม.ได้ออกมาชี้แจงเรื่องการลาออกของทั้งสองคน โดยสรุปว่า ยอมรับเสียดายกับสิ่งที่เกิดขึ้น การทำงานมีความเห็นแตกต่างกันได้ แต่ผลงานจะยืนยัน ซึ่งรายงานที่กสม.ออกไปมีข้อโต้แย้งน้อยมาก พร้อมปฏิเสธเรื่องการวางแนวปฏิบัติในเรื่องการให้ข่าวเคร่งครัด ยืนยันว่า ไม่ได้มีการห้าม เพราะไม่มีอำนาจห้ามเป็นการส่วนตัว แต่การให้ข่าวขององค์กรกลุ่ม ต้องมีมาตรฐานและมีระเบียบ โดยกำหนดว่า ถ้าเป็นเรื่องสำคัญให้เป็นหน้าที่ของ กรรมการหรือคนที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งกรรมการแต่ละคนสามารถให้ข่าวได้ แต่ให้ข่าวเรื่องที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบและข้อเท็จจริงยังไม่ได้สรุปต้องหลีกเลี่ยง

ทั้งนี้ ได้ทำหนังสือถึงประธานศาลฎีกาและประธานศาลปกครองเพื่อให้ทำการคัดเลือก กสม. มาทำหน้าที่ชั่วคราวระหว่างรอการสรรหา กสม.ชุดใหม่

การลาออกของ นางอังคณา และ นางเตือนใจ ส่งผลให้ กสม.เหลืออยู่ 3 คน คือ นายวัส ติงสมิตร, นางฉัตรสุดา จันทร์ดียิ่ง และนางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ ซึ่งตามกฎหมายหากกรรมการมีน้อยกว่า 4 คน จะไม่สามารถประชุมได้ โดยกรรมการที่ลาออกไปก่อนหน้านี้อีก 2 คน คือ นายสุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ลาออกเมื่อ 5 เมษายน 2560 และ นายชาติชาย สุทธิกลม ลาออกเมื่อ 1 มิถุนายน 2562

 

ขอบคุณภาพFBAngkhana Neelapaijit / สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า