Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

อธิการบดี ม.วลัยลักษณ์ เผยโครงการก่อสร้างศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ มีความคืบหน้าแล้วร้อยละ 90 คาดแล้วเสร็จปลายปี ’62 นี้ ตั้งเป้าเป็นโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ชั้นนำที่ทันสมัยที่สุดของภาคใต้ตอนบน

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างศูนย์การแพทย์ ม.วลัยลักษณ์ พร้อมระบบสาธารณูปการ มูลค่า 2,128 ล้านบาท ซึ่งบริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) กำลังดำเนินการก่อสร้างบนพื้นที่ 405 ไร่ ซึ่งประกอบด้วย อาคารอำนวยการ (อาคาร A) ขนาด 5 ชั้น อาคารโรงพยาบาล (อาคาร B, C และ D) ขนาด 9 ชั้น และกลุ่มอาคารบ้านพักบุคลากร ได้แก่ อาคาร R1 บ้านพักสูง 4 ชั้น ขนาด 160 หน่วย อาคาร R2 บ้านพักบุคลากรโสด สูง 3 ชั้น จำนวน 1 หลัง 80 หน่วย อาคาร R3 บ้านพักบุคลากรครอบครัว 3 หลัง หลังละ 60 หน่วย อาคาร R4 และบ้านพักเดี่ยว 2 ชั้น จำนวน 25 หน่วย ขณะนี้การก่อสร้างโดยภาพรวม ณ เดือนสิงหาคม 2562 ได้ดำเนินการไปแล้วร้อยละ 90 ซึ่งถือเป็นผลงานที่น่าพอใจเป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้ ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนงานสถาปัตยกรรมและงานระบบต่างๆ คาดว่าจะแล้วเสร็จทันภายในปี 2562นี้

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ กล่าวต่อไปอีกว่า หลังการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2562 จากนั้นในปี 2563 เริ่มรับผู้ป่วยใน จำนวน 120 เตียง และปี 2564 ขยายเพิ่ม 419 เตียง ส่วนระยะต่อไปจะขยายให้ครบ 750 เตียง ซึ่งจะกลายเป็นโรงพยาบาลศูนย์ขนาดใหญ่ของภาคใต้ตอนบน มีบุคลากรทางการแพทย์ไม่น้อยกว่า 3,000 คน มีการให้บริการทางการแพทย์ใน 14 สาขาความเชี่ยวชาญ รองรับการให้บริการเฉลี่ยปีละ 5 แสนคน

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ดำเนินการเปิดโรงพยาบาลนำร่องมาแล้วตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2560 มีการเปิดให้บริการคลินิกตา เวชศาสตร์ฟื้นฟู เวชศาสตร์ครอบครัว คลินิกอายุรกรรม คลินิกเด็ก คลินิกโรคภูมิแพ้และหอบหืด คลินิกเรื้อรัง คลินิก หู คอ จมูก คลินิกทั่วไป คลินิกศัลยกรรมกระดูกและข้อ คลินิกถันยเมตต์ คลินิกศัลยกรรม คลินิกสูตินารีเวช คลินิกจิตเวช คลินิกตรวจสุขภาพ รวมถึงแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โดยบริการผู้ป่วยนอก 300 คนต่อวัน ส่วนใหญ่เป็นบุคลากรและนักศึกษารวมกว่า 9,000 คน

“เราตั้งเป้าเป็นโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ชั้นนำที่ทันสมัยที่สุดของภาคใต้ตอนบน เป้าหมายการก่อตั้งโรงพยาบาลศูนย์ฯ จึงไม่ใช่เพียงการบริการเท่านั้น แต่เป็นการส่งเสริมให้แพทย์มีการค้นคว้าวิจัยและบูรณาการกับการผลิตแพทย์ ดังนั้น การสร้างโรงพยาบาลศูนย์ภาคใต้ตนบนจึงไม่ใช่เพียงการแบ่งเบาภาระการให้บริการของโรงพยาบาลรัฐ แต่เป็นการเพิ่มทางเลือกการรักษาโรคซับซ้อนและบูรณาการผลิตผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรการแพทย์เพื่อประชาชนในภาคใต้ตอนบนอีกด้วย” ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ กล่าว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า