Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 11 ส.ค. นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นห่วงถึงผลกระทบของสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและสงครามการค้าและกำชับให้รายงานข้อมูลผลกระทบดังกล่าว เพื่อเตรียมการหารือในคณะรัฐมนตรี (ครม.) เศรษฐกิจ

การส่งออกของไทยได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงและสถานการณ์ของสงครามการค้าตั้งแต่ต้นปี 2561 ทำให้มูลค่าการส่งออกสินค้าช่วง 5 เดือนแรกของปี หดตัวลงร้อยละ 2.7 แต่ยังถือว่าหดตัวต่ำกว่าประเทศอื่นๆ เช่น อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้ ที่มีอัตรามูลค่าการส่งออกช่วง 5 เดือนแรกของปีหดตัวลงร้อยละ 8.7 และร้อยละ 7.4 ตามลำดับ

ส่วนผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจในประเด็นข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน คาดจะอยู่ในวงจำกัด เนื่องจากมีผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบ ผลกระทบทางลบ คือ กลุ่มสินค้าที่สหรัฐฯ ปรับขึ้นภาษีกับทุกประเทศทั่วโลก เช่น แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ส่วนผลกระทบทางบวก คาดว่าจะมาจากการส่งออกสินค้าที่ไทยสามารถคว้าโอกาสทดแทนในตลาดจีน เช่น กลุ่มสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร และในตลาดสหรัฐฯ เช่น กลุ่มสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น

นอกจากนี้ ผลกระทบจากความตึงเครียดทางการค้า ยังอาจส่งผลให้เกิดการย้ายการลงทุนจากจีนมาไทย เพราะจีนเป็นแหล่งเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่สำคัญอันดับ 7 ของไทยในปี 2561 โดยมีมูลค่าคงค้าง 5,012 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.12 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.0 ในปีก่อนหน้า และขยับสูงขึ้นมาเป็นอันดับที่ 2 ในไตรมาส 1 ปี 2562 โดยจีนขอรับการส่งเสริมการลงทุนในไทยถึง 38 โครงการ มีมูลค่ารวม 9,072 ล้านบาท

ท่านนายกฯ จึงได้มอบหมายให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศึกษาหาแนวทางรองรับผลกระทบทางลบ และปรับเปลี่ยนมาตรการที่ระดับโครงสร้างเพื่อให้ไทยเราได้รับประโยชน์จากผลกระทบทางบวกให้ได้มากที่สุด โดยจะได้นำเรื่องเหล่านี้เข้าสู่การพิจารณาใน ครม. เศรษฐกิจต่อไป ท่านนายกฯ กำชับว่าการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ จะต้องดูแลเศรษฐกิจทั้งสามระดับ คือ บน กลาง และ ล่าง เน้นให้เกิดการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า