SHARE

คัดลอกแล้ว

กว่าที่ผู้หญิงคนหนึ่งจะเป็นแม่ได้อย่างสมบูรณ์ไม่ใช่เรื่องง่ายและก็มีที่เคยพลาดผิด เพราะอย่างไรแม่ก็คือมนุษย์คนหนึ่งที่ทำอะไรผิดพลาดได้ แต่ในสุดแล้วการจะพลิกชีวิตกลับมาได้อีกครั้ง แรงบันดาลใจจากคนที่รักที่สุดจึงเป็นสิ่งสำคัญ

นัยนา ยลจอหอ แม่ที่เคยเผชิญมรสุมชีวิตจากการติดเหล้า ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของตัวเอง ในกิจกรรมวันแม่ เพื่อเติมเต็มพลังใจในการสู้ชีวิตของคนเป็นแม่ โดยเธอยอมรับว่า ชีวิตเกือบพังเพราะเหล้า ด้วยสามีเป็นคนชอบดื่มไปไหนมาไหนก็จะดื่มด้วยกันตลอด เพราะเราคิดว่า เป็นการเสียเปรียบเขาดื่มได้เราก็ดื่มได้ เมาแล้วเกิดความหึงหวง จนถึงขั้นทะเลาะตบตีกันเป็นประจำ โดยไม่ได้นึกถึงลูกจนกระทั่งสามีเสียชีวิต เนื่องจากดื่มเหล้าสูบบุหรี่หนัก จากนั้นก็อยู่กับลูกมาตลอด ซึ่งปกติเวลาดื่มเหล้าหนักมากเมาแล้วนอนได้ทุกที่ไม่สนใจอะไร เพราะรู้สึกสนุกสนานกล้าแสดงออก

“จุดเปลี่ยนที่ทำให้เลิกดื่มเหล้า คือลูก ถือเป็นแรงบันดาลใจสำคัญ อยากมีชีวิตอยู่เพื่อลูก เขาเป็นเด็กดีมาก ไม่เคยทำให้แม่เสียใจ ทำให้เราคิดได้ว่า การที่ไม่ดื่มให้ลูกเห็นน่าจะเป็นสิ่งดี ประกอบกับทางมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลเข้ามาให้ข้อมูลและคำปรึกษาเหล้าก่อให้เกิดความรุนแรงครอบครัว ได้รับผลกระทบโดยตรงจากนั้นจึงอยากถ่ายทอดให้กับคนอื่น เป็นต้นแบบในการชวนคนเข้ามาทำงาน ร่วมกันในโครงการงดเหล้าเข้าพรรษาจนบางคนสามารถเลิกดื่มเหล้าได้จริง ส่งผลให้เขามีสุขภาพดีขึ้นการเงินการงานครอบครัวดีขึ้นด้วย

ตอนนี้ใช้ชีวิตอยู่กับลูกมีความสุขมาก สุขภาพก็ดีขึ้นมีเงินเหลือมากขึ้นด้วย อยากสะท้อนชีวิตที่ผ่านมรสุมเลวร้ายของตัวเองให้เป็นวิทยาทานกับคนอื่นๆ จึงผันตัวมาทำงานจิตอาสาช่วยเหลือสังคมอย่างทุกวันนี้  และขอฝากว่าการที่คิดว่าเหล้าคือทางออก คือ ที่พึ่งนั้นมันไม่จริงเลย เป็นการหลอกตัวเอง สถานการณ์จะยิ่งเลวร้ายดำดิ่ง พอขาดสติเราจะทำอะไรก็ได้ซึ่งมีแต่เสียหาย”

ขณะที่ น.ส.อังคณา อินทสา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล วิเคราะห์สถานการณ์ความเป็นแม่ ความเป็นเมีย กับภาระที่แบกรับท่ามกลางสังคมชายเป็นใหญ่ ว่า ความรุนแรงในครอบครัวต่อผู้หญิงทั้งในฐานะความเป็นแม่และความเป็นเมียเกิดขึ้นทั้งระหว่างสามีภรรยา คู่รักแบบแฟน พ่อแม่ ลูก หรือเครือญาติ ซึ่งจากการทบทวนปัญหาความรุนแรงในครอบครัว จากหนังสือพิมพ์ของมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ปี 2559 พบว่า มีจำนวน 466 ข่าว ข่าวฆ่ากันตายมากที่สุด รองลงมา ข่าวฆ่าตัวตายและข่าวทำร้ายกัน

ส่วนอายุผู้ถูกกระทำความรุนแรง คืออายุ 31-40 ปี รองลงมาอายุ 41-50 และอายุ 21-30 ปี ซึ่งถือเป็นผู้หญิงอยู่ในวัยทำงานที่มีสถานะความเป็นเมียและความเป็นแม่ สำหรับอายุของผู้กระทำ พบว่า อายุ 31-40 ปี ตามด้วยอายุ 41-50 ปีและอายุ 51-40 ปีตามลำดับซึ่งสอดคล้องกับผู้เข้ามาใช้บริการของฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงมีปัจจัยร่วมจากเครื่องดื่มมึนเมา สารเสพติด และสื่อลามก เหตุการณ์ความรุนแรงส่งผล กระทบต่อการใช้ชีวิต สภาวะทางจิตใจ หลายรายสูญเสียความเชื่อมั่นในตัวเอง โทษตัวเอง ทำร้ายตัวเองตลอดเวลา

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า