SHARE

คัดลอกแล้ว

รศ.สพ.ญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีการอนุบาลมาเรียม เป็นประโยชน์ต่อการทำงานด้านการอนุบาลสัตว์น้ำที่กำพร้า และส่งทอดต่อไปถึงการดูแลยามีล ที่จะต้องให้หย่านมก่อน จะปล่อยคืนธรรมชาติ หากทดลองปล่อยแล้วไม่ได้ ก็จำเป็นต้องเลี้ยงในอควาเรียม เหมือนในต่างประเทศ

วันที่ 18 ส.ค. 62 รศ.สพญ.ดร.นันทริกา ชันซื่อ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า กรณีการอนุบาลมาเรียมในระบบเปิดตามธรรมชาติ และการตายของมาเรียม เกิดประโยชน์อย่างมากต่อทางวิชาการและการแพทย์ด้านสัตว์น้ำ ทำให้เราเห็นว่าแนวทางที่จะปฏิบัติที่จะช่วยเหลือลูกสัตว์กำพร้า ลูกสัตว์ทะเลหายากกำพร้า ควรจะเป็นยังไง ก่อนที่เราจะปล่อยเขาคืนสู่ธรรมชาติ

เพราะว่าบางทีธรรมชาติก็ไม่ได้สวยงามและก็ดีอย่างที่เราคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่มีพวกมลภาวะต่างๆ เกิดขึ้น หรือว่าขยะต่างๆ เกิดขึ้น ดังนั้น เราก็ได้เรียนรู้ว่า ถ้ามีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีกครั้งเราจะจัดการยังไง และก็ในทางสัตวแพทย์เอง ก็ได้เรียนรู้ถึงการให้ยา การดูแลรักษาโรคของพะยูน และก็วิธีการเจาะเลือด วิธีการป้อนอาหารอะไรต่างๆ จากมาเรียม และการดูแลสิ่งแวดล้อมเรื่องปัญหาขยะไม่ให้มีในทะเล เพื่อความปลอดภัยของสัตว์ และจะส่งต่อไปถึงการดูแลยามีลหลังจากนี้

เพราะเนื่องจากว่า ยามีล อยู่ในสภาพที่แตกต่างจากมาเรียมมาก ยามีลอยู่ในพื้นที่ที่ปกป้อง ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งเจ้าหน้าที่จากทางกรมอุทยาน ทหารเรือ สัตวแพทย์ แล้วก็ทางสัตวแพทย์จุฬา ก็ต้องเข้าไปช่วยดูแลอย่างเต็มที่เช่นกัน

และคิดว่าตอนนี้เราก็คงจะต้องปรับให้ยามีลอยู่ในพื้นที่กว้างขึ้น เพื่อให้สบายขึ้น หวังว่าน่าจะยังไม่มีปัญหา ส่วนในเรื่องที่จะนำยามีลไปเลี้ยงตามแนวทางตามธรรมชาติ ตามที่ทุกฝ่ายคาดหวังไว้เดิมนั้น คงจะต้องให้ยามีลเลิกนมก่อน เพราะว่าในธรรมชาติไม่มีนมให้กิน แต่พวกคนมีนมให้กิน เพราะฉะนั้นถ้าหย่านมเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็อาจต้องลองนำไปปล่อยดูก่อนในธรรมชาติ

ถ้าค่อยๆ ปล่อยแล้วเขาดูแลตัวเองได้ ก็จะปล่อยไป แต่ถ้าดูแลตัวเองไม่ได้ ก็จะต้องเอากลับมาอยู่ในอควาเรียม เหมือนในต่างประเทศเขาก็ทำกันแบบนี้ หลายแห่งเช่นที่ซิดนีย์ คือ ถ้าสัตว์อยู่ได้เราก็ให้อยู่ ถ้าอยู่ไม่ได้แล้วก็กลับมาเลี้ยงต่อ ในส่วนกรณีสัตว์สัมผัสกับคนสามารถติดเชื้อได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นในการที่ทุกคน ผู้อาสาสมัครที่จะมาช่วยดูแล ก็จะต้องมีการคัดเลือกแล้วก็ห้ามป่วย แล้วก็ต้องทำความสะอาดฆ่าเชื้อก่อนที่จะเข้าไป หรือดูแลสัตว์แล้วก็ไม่เปิดให้คนนอกเข้า เพราะเกรงว่าเชื้อโรคต่างๆ จะเข้าไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า