SHARE

คัดลอกแล้ว

ข่าวล่าสุดการเตรียมการจัดตั้งพรรค “พลังชาติไทย” ของ พล.ต.ทรงกลด ทิพยรัตน์   อดีตคณะทำงานเตรียมการปฏิรูปเพื่อคืนความสุขให้คนในชาติ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทำให้สังคมหันกลับมาจับตาว่า คสช. จะตั้งพรรคเพื่อลงเล่นการเมืองหรือไม่

แม้ “พล.ต.ทรงกลด” จะออกมาปฏิเสธว่ายังไม่มีการตั้งพรรค แต่ภาพที่ปรากฏออกมาก็มองเป็นอย่างอื่นยากว่า พวกเขาต้องการที่จะทำอะไร รวมถึงการทำงานที่ผ่านมาของเขานั้นก็ทำในนามของ คสช. มาโดยตลอด

แต่เอาเข้าจริงแล้วไม่ถือว่าแปลก เรื่องการเตรียมการจัดตั้งพรรคมารองรับการเข้าสู่การเมืองของ “ทหาร” เมื่อบ้านเมืองเข้าสู่สภาวะปกติ  เพราะหากดูประวัติศาสตร์การเมืองไทย และการรัฐประหารที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วง  ผู้ที่ครองอำนาจมักจะตั้งพรรคการเมืองเพื่อแต่งตัวเข้าสู่ระบบปกติ  รวมถึงเพื่อเตรียมหาฐานเสียงไว้ในวันข้างหน้าเผื่อต้องการที่จะมีตำแหน่งทางการเมือง

 

พรรคทหารพรรคแรกในประวัติศาสตร์ไทยคือ “พรรคเสรีมนังคศิลา” ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี 2498 โดยมี  “จอมพล ป. พิบูลสงคราม” อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าพรรค  “พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์” เป็นเลขาธิการพรรค และมี “จอมพลสฤษฎ์ ธนะรัชต์” เป็นรองหัวหน้าพรรค ซึ่งก็ชนะการเลือกตั้ง แต่ก็เกิดปัญหา ทำให้ถูกรัฐประหารโดย “จอมพลสฤษฎิ์”

 

ขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2500 ก็มีการตั้ง “พรรคสหภูมิ” โดยมี “สุกิจ นิมมานเหมินทร์” เป็นหัวหน้าพรรค แต่รับการสนับสนุนจาก “จอมพลสฤษฏิ์” และเมื่อเดือนกันยายนปีเดียวกัน ก็เกิดการรัฐประหารที่นำโดย “จอมพลสฤษฎิ์” และ “พล.ต.อ.เผ่า”

อย่างไรก็ตามในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2500 พรรคสหภูมิก็สนับสนุนให้ “พจน์ สารสิน” เป็นนายกฯ แต่เสียงที่ได้เมื่อไม่ถึงกึ่งหนึ่ง “จอมพลสฤษฎิ์” จึงตัดสินใจยุบรวม “พรรคเสรีมนังคศิลา” กับ “พรรคสหภูมิ” เกิดใหม่เป็น“พรรคชาติสังคม” ซึ่งจดทะเบียนตั้งเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2500

โดยพรรคพรรคชาติสังคมที่ก่อตั้งขึ้นคราวนี้มี “จอมพลสฤษฏิ์” เป็นหัวหน้าพรรคด้วยตัวเอง และมี “พล.ท.ถนอม กิตติขจร” และ “สุกิจ นิมมานเหมินทร์” เป็นรองหัวหน้าพรรค จากนั้นพรรคชาติสังคมก็สนับสนุนให้ “พล.ท ถนอม กิตติขจร” ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในปี  2501

อย่างไรก็ตามในปลายปี 2501 เมื่อเกิดความวุ่นวายในรัฐสภา “จอมพลสฤษฎิ์ ธนะรัชต์” จึงก่อรัฐประหารตัวเอง และคราวนี้เองที่เขานั่งเป็นนายกฯ ด้วยตัวเอง และครั้งนี้นี่เองที่มีการประกาศยุบเลิกพรรคการเมือง และไม่มีการเลือกตั้งจวบจน “จอมพลสฤษฏิ์” เสียชีวิตเมื่อปี 2506  จอมพลถนอม” ก็ขึ้นเป็นนายกฯ แทน

ต่อมามีการตั้ง“พรรคสหประชาไทย” ขึ้นในปี 2511  โดยมี “จอมพลถนอม กิตติขจร” เป็นหัวหน้าพรรค  มีรองหัวหน้าพรรค 3 คน คือ “จอมพลประภาส จารุเสถียร” “พลตำรวจเอกประเสริฐ รุจิรวงศ์” อธิบดีกรมตำรวจ และ “พจน์ สารสิน”

โดยการจัดตั้งพรรคเพื่อรองรับการเลือกตั้งในปี 2512  และ “พรรคสหประชาไทย” ก็ได้รับการเลือกตั้งมาเป็นที่ 1 ด้วยเสียง 74 เสียง แต่ก็เกิดความวุ่นวายในปี 2514 จอมพลถนอม” จึงยึดอำนาจตัวเอง และยกเลิกรัฐธรรมนูญ  ยกเลิกพรรคการเมือง  และห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน เป็นการปิดฉากพรรคสหประชาไทย

จากนั้นในปี 2534 ก็เกิดรัฐประหารขึ้นอีกครั้งโดย “คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ”  (รสช.) นำโดย “พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์” และ “พล.อ.สุจินดา คราประยูร”  จากนั้นก็มีการก่อตั้งพรรค “สามัคคีธรรม” ขึ้นในวันที่ 3 ม.ค. 2535  โดยมี “ณรงค์ วงศ์วรรณ” เป็นหัวหน้าพรรค เพื่อรองรับการลือกตั้งที่จะมีขึ้นในเดือน มี.ค. 2535

การเลือกตั้งครั้งนั้นพรรคสามัคคีธรรมได้คะแนนเสียงมาเป็นอันดับหนึ่ง 79 คนจาก 360 ที่นั่ง  แต่สุดท้าย “ณรงค์ วงศ์วรรณ” ก็ไม่ได้เป็นนายกฯ โดยมีการระบุว่าเขาถูกแบล็คลิสต์จากสหรัฐฯ ทำให้พรรคสามัคคีธรรมผลักดัน “สุจินดา คราประยูร” ขึ้นเป็นนายกฯ ภายใต้วาทกรรม “เสียสัตย์เพื่อชาติ” จนเป็นที่มาของ “พฤษภาทมิฬ” ในที่สุด สุดท้ายพรรคสามัคคีธรรมก็ยุติบทบาทในเดือนสิงหาคม 2535

ต่อมาการรัฐประหารปี 2549 โดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) นำโดย พล.อ.สนธิ  บุณยรัตกลิน  ครั้งนั้นไม่มีการระบุว่าพรรคใดเป็นพรรคของทหารชัดเจน มีเพียงกระแสข่าวและข้อสงสัยว่ามีพรรคนอมินี ไม่ว่าจะเป็นพรรคเพื่อแผ่นดิน หรือ พรรคมัชฌิมาธิปไตย แต่สุดท้ายการเลือกตั้งปี 2551 ทั้งสองพรรคก็เข้าร่วมกับรัฐบาลของพรรคพลังประชาชน

จนกระทั่งมีการตั้ง “พรรรคมาตุภูมิ” ซึ่งเป็นการสวมจากพรรคอื่น โดยเดิมเป็นชื่อ “พรรคราษฎร” ที่จดตั้งในปี 2551 และเปลี่ยนเป็นชื่อพรรคมาตุภูมิในปี 2552  และเชิญ “พล.อ.สนธิ บุณยรัตกลิน” อดีตหัวหน้า คมช. มาเป็นหัวหน้าพรรค แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้ง

สำหรับการรัฐประหหารในปี 2557 และการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในครั้งหน้าซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2561 จนถึงขณะนี้มีพรรคที่ถูกมองว่าจะตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนทหาร หนึ่งคือ “พรรคประชาชนปฏิรูป” ของนายไพบูลย์ นิติตะวัน ที่ประกาศชัดว่าจะสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ และอีกหนึ่งคือ “พรรคพลังชาติไทย”

ต้องดูว่าที่สุดแล้วจะมีพรรคใดเป็นพรรคของ คสช. จริงๆ หรือไม่  หรือที่สุดแล้วจะไม่มีความจำเป็นต้องใช้พรรคใดพรรคหนึ่งเพียงพรรคเดียว เพราะกติกาตามรัฐธรรมนูญใหม่ ไม่ต้องการพรรคใหญ่มาเป็นผู้สนับสนุน และหาก พล.อ.ประยุทธ์ ปรารถนาจะเป็นนายกฯจริง ก็ไม่จำเป็นต้องสมัครรับเลือกตั้ง เพราะมีช่อง “นายกฯ คนนอก” เปิดรอไว้อยู่แล้ว

เราจึงอาจเห็นหลายพรรค รวมตัวกันเพื่อร่วมมือร่วมใจสนับสนุน “คนนอก” นั่งตำแหน่งนายกฯ ก็เป็นได้

 

 

บทความโดย “อสรพิษ”

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า