SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 20 ส.ค.62 นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องหู ให้สัมภาษณ์กับ ทีมข่าวเวิร์คพอยท์ เกี่ยวกับอาการ “หูตึง” โดยระบุว่า อาการหูตึงในทางการแพทย์ คือระดับการรับเสียงลดลง ซึ่งยังพอได้ยินเสียงบ้าง แต่ยังไม่ถึงกับหูหนวก

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหูตึง สามารถแยกตามกลุ่มตามช่วงอายุ 3 ช่วง ได้แก่

  • วัยเด็ก เป็นความบกพร่องตั้งแต่กำเนิด ซึ่งไม่ทราบสาเหตุ และพออโตมาถึงวัยนักเรียน อาจเกิดจากการอักเสบติดเชื้อ ที่พบบ่อย คือมีน้ำขังในหูชั้นกลาง หรือหูชั้นกลางอักเสบ
  • วัยทำงาน เกิดจากการฟังเสียงดังในโรงงาน เสียงเครื่องดนตรีนานๆ รวมถึงอาชีพที่อยู่กับเสียงดัง ตำรวจจราจร ทหารที่ต้องยิงปืน ไม่ได้ป้องกัน ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญและน่าเป็นห่วง ทำให้ประสาทหูเสื่อมได้
  • วัยผู้สูงอายุ เกิดในกลุ่มที่มีโรคประจำตัว เบาหวาน ความดัน และระบบประสาทที่เสื่อมถอยตามวัยฃ

เมื่อเกืดอาการหูตึง ส่งผลกระทบให้ความสามารถในการฟังเสียงลดลง ยกตัวอย่าง เช่น ผู้สูงอายุเวลาดูโทรทัศน์ มักจะเร่งเสียงให้ดังกว่าปกติ หรือคนที่มีปัญหาเรื่องการสื่อสารก็อาจจะต้องใช้เครื่องช่วยฟัง เพราะจะได้ยินเสียงน้อยลง และความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้

สำหรับอาการของผู้ที่การได้ยินเสียงลดลง หรือ หูตึงนั้น มี 2 ส่วน คือ

  1. หูตึงจากหูชั้นกลาง คือ ตั้งแต่ส่วนของแก้วหูลึกลงไปข้างใน จนถึงกระดูหู 3 ชิ้น ค้อน ทั่ง กรน กลุ่มนี้เป็นการนำเสียงผิดปกติ ก็ทำให้หูตึงได้เช่นกัน
  2. หูตึงประสาทหูชั้นใน คือตั้งแต่หูชั้นในไปจนถึงสมอง ทำให้การขยายเสียงลดลง

โดยทั้ง 2 กลุ่มนี้จะมีอาการที่แสดงออกมาต่างกัน คือ หากเป็นที่ประสาทหูชั้นในเสื่อม จะพูดเสียงดังมากกว่าปกติ เพราะเวลาพูดจะไม่ได้ยินเสียงตัวเอง ขณะที่กลุ่มที่มีการนำเสียงผิดปกติ หรือหูชั้นกลางผิดปกติ จะได้ยินเสียงตัวเองก้องอยู่ในหู วิธีสังเกตง่ายๆ ก็คือเอานิ้วอุดหู แล้วพูด จะได้ยินเสียงในนั้น กลุ่มนี้จะพูดเสียงเบา

นพ.มานัส ยังได้แนะนำ วิธีการคัดกรองหรือตรวจสอบอาการด้วยว่า ถ้าพบคนที่พูดเสียงดัง ให้ตั้งข้อสังเกตว่ามีความผิดปกติของการฟังหรือไม่ โดยใช้นิ้วมือถูกันเบาๆ ข้างหู ว่าเขาได้ยินหรือไม่ ถ้าไม่ได้ยิน ควรให้พบแพทย์ เพื่อตรวจวัดการได้ยินในห้องเงียบๆ ดูว่าระดับความสามารถในการฟังเสียงปกติไหม แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนที่พูดเสียงดัง จะหูตึงเสมอไป ในบางคนอาจเป็นลักษณะส่วนบุคคลหรือความเคยชิน

อย่างไรก็ตาม การรักษาอาการหูตึงส่วนใหญ่ ไม่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ แต่สามารถป้องกันไม่ให้เป็นหนักมากขึ้น จนถึงขั้นหูหนวกได้ โดยกระทรวงสาธารณสุข จัดสิทธิประโยชนสำหรับผู้พิการหรือบกพร่องทางการได้ยิน โดยแจกเครื่องช่วยฟัง ซึ่งผู้ที่มีอาการหูตึง หรือการได้ยินลดลง ต้องเข้ารับการตรวจจากแพทย์ เพื่อลงความเห็นว่าจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยฟังหรือไม่ และการใช้สามารถทำให้ฟังชัดเจนหรือไม่ โดยครอบคลุมทุกสิทธิ์ ทั้ง สิทธิ์ 30 บาทรักษาทุกโรค สิทธิ์ข้าราชการ และสิทธิ์ประกันสังคม

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า