SHARE

คัดลอกแล้ว

งานวิจัยจนถึงปัจจุบันชี้ว่า บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ทั่วไปจริง อีกทั้งยังเป็นทางเลือกในการช่วยเลิกบุหรีที่มีประสิทธิผลกว่าตัวเลือกอื่นๆ  แต่บุหรี่ไฟฟ้าก็ไม่ได้ปลอดภัยต่อสุขภาพ 100% เพราะมีงานวิจัยมากขึ้นเรื่อยๆ ชี้ให้เห็นโทษของบุหรี่ไฟฟ้า ทั้งผลต่อระบบหลอดเลือด ทำให้ปอดอ่อนแอ เสี่ยงต่อการเป็นถุงลมโป่งพอง รวมถึงผลต่อสุขภาพในระยะยาวที่ยังไม่มีข้อสรุป

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา นายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข ได้ออกมาประกาศชัดเจนว่า จะไม่แก้กฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งส่งผลให้การนำเข้าและขายบุหรี่ไฟฟ้าในไทยยังคงผิดกฎหมายต่อไป การตัดสินใจดังกล่าวทำให้เกิดทั้งกระแสสนับสนุนและต่อด้าน เช่นสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ ที่ได้ออกมาสนับสนุนและชื่นชมการตัดสินใจในครั้งนี้ของนายอนุทิน  ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง ตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า “ลาขาดควันยาสูบ” ก็ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย และให้เหตุผลว่านี่เป็นการปิดประตูทางเลือกในการเลิกบุหรี่มวนของผู้ติดบุหรี่

เพื่อให้ผู้อ่านสามารถตัดสินใจเองได้ดีขึ้น ว่าจะมีจุดยืนสนับสนุนหรือต่อต้านการใช้บุหรี่ไฟฟ้า ทีมข่าวเวิร์คพอยท์จึงได้รวบรวมข้อดีข้อเสียของบุหรี่ไฟฟ้าจากงานวิจัยล่าสุดจากทั่วโลก มาเพื่อให้ได้เห็นผลต่อสุขภาพของบุหรี่ไฟฟ้าอย่างรอบด้าน

สำหรับข้อดีที่ชัดเจนที่สุดของบุหรี่ไฟฟ้าก็คือ มันอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวนทั่วไปถึง 95%  หน่วยงานด้านสาธารณสุขของอังกฤษได้ไปรีวิวงานศึกษาต่างๆ เกี่ยวกับโทษของบุหรี่มวนเปรียบเทียบกับบุหรี่ฟ้า และได้ข้อสรุปว่าบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวนถึง 95%  ทั้งนี้ สาเหตุหลักๆ ก็เนื่องจากบุหรีไฟฟ้าไม่มีกระบวนการเผาไหม้สันดาป จึงไม่ทำให้เกิดสารทาร์ (Tar) ซึ่งเป็นน้ำมันที่เกิดจากกระบวนการเผาไหม้ยาสูบและเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เป็นมะเร็งปอด  นอกจากนี้ บุหรี่ไฟฟ้ายังไม่ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์แบบบุหรี่มวนด้วย จึงปลอดภัยกว่ามาก

นอกจากนี้ ข้อดีอีกอย่างของบุหรี่ไฟฟ้าก็คือ การเป็นทางเลือกในการเลิกบุหรี่มีประสิทธิผลกว่าทางเลือกอื่นๆ งานวิจัยล่าสุดที่ออกมาในปีนี้ ซึ่งทำการวิจัยที่อังกฤษพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่พยายามเลิกบุหรี่โดยใช้บุหรีไฟฟ้า มีถึง 18% ที่สามารถเลิกบุหรี่ได้  ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่พยายามเลิกบุหรี่โดยใช้นิโคตินทดแทนชนิดอื่นๆ เช่น หมากฝรั่งนิโคติน หรือแผ่นแปะนิโคติน กลับเลิกบุหรี่ได้น้อยกว่า โดยมีเพียง 9.9% เท่านั้นที่สามารถเลิกบุหรี่ได้

อย่างไรก็ตามต้องบอกด้วยว่า คนที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าช่วยเลิกบุหรี่นั้น กว่า 80% ยังคงใช้บุหรีไฟฟ้าอยู่ในช่วง 1 ปีหลังเลิกบุหรี่มวน ในขณะที่ผู้ที่ใช้นิโคตินทดแทนจนเลิกบุหรี่ได้ มีเพียง 9% เท่านั้นที่ยังคงต้องใช้นิโคตินทดแทนดังกล่าวอยู่ในช่วง 1 ปีหลังเลิกบุหรี่

และข้อดีอีกประการของบุหรี่ไฟฟ้าก็คือ ไอบุหรี่ไฟฟ้ามือ 2 เป็นอันตรายต่อคนรอบข้างน้อยกว่าควันบุหรี่มือ 2 จากบุหรี่มวนมาก

แม้จะมีข้อดีหลายประการ แต่บุหรี่ไฟฟ้าก็ไม่ได้ปลอดภัย 100% และแม้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะเพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นาน และงานวิจัยเกี่ยวกับโทษของบุหรี่ไฟฟ้าจะยังมีไม่มากนัก แต่ที่ผ่านมาก็มีหลักฐานโผล่ขึ้นมาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ว่าบุหรี่ไฟฟ้าส่งผลต่อสุขภาพในแบบที่แตกต่างไปจากบุหรี่มวน

งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่เพิ่งตีพิมพ์ลงในวารสาร Radiology เมื่อวันที่ 20 ส.ค. ที่ผ่านมาพบว่า การสูดไอน้ำบุหรี่ไฟฟ้า ที่แม้ว่าจะไม่มีนิโคตินผสมอยู่ ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหลอดเลือดของผู้สูบ  โดยงานศึกษาชิ้นดังกล่าวได้ให้คนสุขภาพดีลองสูบบุหรี่ไฟฟ้าแบบที่ไม่มีนิโคติน จากนั้นใช้เครื่อง MRI เพื่อแสกนดูการทำงานของเส้นเลือด พบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงของการไหลเวียนของเลือดที่เส้นเลือดแดงหลักที่ขาจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้านี้เพียงครั้งเดียว อย่างไรก็ตามอาการดังกล่าวกลับสู่ภาวะปกติภายในเวลาไม่กี่นาที

แต่นักวิจัยก็ได้ให้ข้อคิดเห็นต่อว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเกิดจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพียงครั้งเดียว แต่หากมีการสูบอย่างต่อเนื่อง อาการดังกล่าวที่เกิดขึ้นอาจจะไม่ได้หายเร็วเช่นในการทดลองก็ได้ อีกทั้งอาการที่เกิดขึ้นดังกล่าว ก็คล้ายกับอาการเริ่มต้นของโรคทางหลอดเลือด ซึ่งอาจใช้เวลาหลายปีในการก่อตัวของโรค

นอกจากนี้ ยังมีงานอีกวิจัยอีกหลายชิ้นที่พบว่าไอน้ำจากบุหรี่ไฟฟ้าได้ลงไปทำลายเซลล์ภูมิคุ้มกันในปอด ทำให้ปอดต่อต้านแบคทีเรียได้น้อยลง อีกทั้งยังมีอาการอักเสบได้ง่ายขึ้น  โดยหนึ่งในงานวิจัยในประเด็นนี้ได้แบ่งหนูทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม ผลปรากฏว่าหนูกลุ่มที่ต้องสูดดมไอจากบุหรีไฟฟ้ามีความสามารถในการกำจัดแบคทีเรียออกจากปอดได้น้อยกว่าและทำให้ปอดอ่อนแอและติดเชื้อ

นักวิจัยยังพบความเกี่ยวโยงระหว่างการสูบบุหรี่ไฟฟ้ากับการเป็นโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ด้วย โดยงานวิจัยชิ้นหนึ่งในปี 2018  ได้เปรียบเทียบกลุ่มคนที่ใช้บุหรีไฟฟ้ากับคนที่ไม่ใช้ และพบว่าคนที่ใช้บุหรีไฟฟ้ามีโอกาสมากกว่าถึง 2 เท่าที่จะเป็นโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง

สำหรับน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้านั้น นอกจากที่จะมีสารนิโคตินแล้ว ยังมีสารที่สำคัญอีก 2 ตัว ได้แก่ โพรพิลีนไกลคอล (propylene glycol) และกลีเซอรีน (glycerin) ที่แม้ว่าจะได้รับการพิสูจน์และรับรองแล้วว่าสามารถบริโภค (กิน) ได้อย่างปลอดภัย แต่สำหรับการเสพเข้าสู่ร่างกายผ่านการสูดลงปอดนั้น จนปัจจุบันยังไม่มีข้อพิสูจน์ว่าปลอดภัยหรือไม่

และสุดท้าย เนื่องจากบุหรีไฟฟ้าเพิ่งเกิดขึ้นมาได้ไม่นาน ดังนั้นแล้วจึงยังไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาผลต่อสุขภาพในระยะยายของบุหรี่ไฟฟ้า และจนปัจจุบันจึงยังไม่มีข้อสรุป ว่าบุหรี่ไฟฟ้าส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวของผู้สูบอย่างไรบ้าง

ทั้งหมดนี้อาจสรุปได้ด้วยประโยคสั้นๆ ว่า บุหรี่ไฟฟ้านั้นอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวนแน่  แต่ก็ไม่ได้แปลว่าปลอดภัย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า