SHARE

คัดลอกแล้ว

กอปภ.ก. สั่งการ 19 จังหวัดภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้เตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมฉับพลัน ดินถล่ม และคลื่นลมแรง ในช่วงวันที่ 28 – 31 สิงหาคม 2562

วันนี้ (28 ส.ค.62) นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่งผลให้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ สำหรับคลื่นลมทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น คลื่นสูง 2 – 3  เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ซึ่งอาจทำให้พื้นที่เสี่ยงลาดเชิงเขา พื้นที่เสี่ยงลุ่มต่ำของประเทศไทย เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินถล่ม ส่วนพื้นที่เสี่ยงชายฝั่งทะเลจะมีคลื่นลมแรงบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบน ระหว่างวันที่ 28 – 31 สิงหาคม 2562

ทั้งนี้ กอปภ.ก. ได้ประสาน 19 จังหวัด แยกเป็นดังนี้

พื้นที่ต้องติดตามสถานการณ์ผลกระทบจากน้ำท่วมขัง น้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก

  • ภาคกลาง ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี นครนายก เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันออก ได้แก่ ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
  • ภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

 

พื้นที่ต้องติดตามสถานการณ์ผลกระทบจากดินถล่ม

  • ภาคกลาง ได้แก่ กาญจนบุรี (อำเภอทองผาภูมิ อำเภอสังขละบุรี อำเภอไทรโยค อำเภอบ่อพลอย) จันทบุรี (อำเภอเขาคิชฌกูฏ อำเภอขลุง) ตราด (อำเภอเขาสมิง อำเภอบ่อไร่ อำเภอคลองใหญ่)
  • ภาคใต้ ได้แก่ ระนอง (อำเภอเมืองระนอง อำเภอกระบุรี อำเภอละอุ่น อำเภอกะเปอร์) พังงา (อำเภอเมืองพังงา อำเภอกะปง อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง อำเภอ    คุระบุรี) ภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต อำเภอกระทู้ อำเภอถลาง) กระบี่ (อำเภอเมืองกระบี่ อำเภอเกาะลันตา อำเภอเขาพนม อำเภอปลายพระยา) ตรัง (อำเภอเมืองตรัง อำเภอห้วยยอด อำเภอนาโยง อำเภอย่านตาขาว อำเภอปะเหลียน) สตูล (อำเภอควนกาหลง อำเภอควนโดน อำเภอทุ่งหว้า อำเภอมะนัง อำเภอละงู)

 

พื้นที่ต้องติดตามสถานการณ์ผลกระทบจากคลื่นลมแรง

  • ภาคตะวันออก ได้แก่ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ ได้แก่ ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

 

รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัย เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยในช่วงดังกล่าว โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ ปริมาณฝน ระดับน้ำ และแนวโน้มสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง  พร้อมจัดเตรียมชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์ประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมแจ้งเตือนประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ฝนตกสะสม โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาและพื้นที่ลุ่มต่ำ รวมถึงขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยติดตามพยากรณ์อากาศ และปฏิบัติตามประกาศเตือนภัยอย่างเคร่งครัด

สำหรับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยสามารถติดต่อได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า