Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ปภ.รายงานสรุปสถานการณ์น้ำท่วมยังกระทบ 7 จังหวัด ขณะที่จังหวัดอื่นๆ เริ่มคลี่คลายแล้ว ด้าน มท.1 เผยได้กำชับให้เร่งระบายน้ำพร้อมส่งเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือพื้นที่เดือดร้อนเร่งด่วน

วันที่ 10 ก.ย.2562 พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงสถานการณ์น้ำในขณะนี้ว่า ยังเหลืออีก 7 จังหวัดที่ยังถูกน้ำท่วม อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด  และภาคเหนือตอนล่าง 2 จังหวัด เจ้าหน้าที่กำลังเร่งระบายน้ำอยู่ บางจังหวัดยังอพยพประชาชนอยู่ เนื่องจากน้ำท่วมขังบางจุดยังมีน้ำท่วมถนน หากจุดใดรถไม่สามารถสัญจรผ่านได้ก็จะมีเรือให้บริการประชาชน ส่วนการดูแลประชาชนของเจ้าหน้าที่ถือว่าทำได้ดีเพราะมีโรงครัวพระราชทานมีถุงยังชีพ ส่วนสถานการณ์บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา กรมชลประทานยังรักษาการระบายน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยา 900 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งกรมชลประทานรายงานว่า จะระบายน้ำให้ได้ 900-1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ดังนั้นจากประสบการณ์ที่ผ่านมา หากระบายน้ำไม่เกิน 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะไม่มีผลกระทบ แต่ถ้าเกิน 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที พื้นที่ลุ่มต่ำในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาก็จะได้รับผลกระทบบ้าง

ขณะที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานว่าอุทกภัยจากอิทธิพลพายุโซนร้อนโพดุล และพายุโซนร้อนคาจิกิ ตั้งแต่วันที่ 29 ส.ค. 62 จนถึงปัจจุบัน รวม 32 จังหวัดยังคงมีสถานการณ์ 7 จังหวัด ได้แก่ พิษณุโลก, พิจิตร, อำนาจเจริญ, ยโสธร, อุบลราชธานี, ร้อยเอ็ด และศรีสะเกษ สถานการณ์โดยรวมระดับน้ำลดลงแต่ยังคงมีน้ำท่วมขัง จากการสำรวจพบ บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 370,749 ครัวเรือน, ผู้เสียชีวิต28 ราย (ยโสธร 8 ราย ร้อยเอ็ด 6 ราย อำนาจเจริญ4 ราย ขอนแก่น 3 ราย พิจิตร 2 ราย อุบลราชธานี 1 ราย พิษณุโลก 1 ราย มุกดาหาร 1ราย สกลนคร 1 ราย น่าน 1 ราย) ผู้บาดเจ็บ 1 คน (ชัยภูมิ)

ทั้งนี้ ปภ.ได้ร่วมกับจังหวัด หน่วยทหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดเจ้าหน้าที่พร้อมระดมวัสดุอุปกรณ์ยานพาหนะและเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยและคลี่คลายสถานการณ์ภัยโดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำรถบรรทุกเครื่องส่งสูบน้ำระยะไกลเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขังรวมถึงดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ประภัย โดยแจกจ่ายอาหาร น้ำดื่ม และถุงยังชีพเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น อีกทั้งจัดเจ้าหน้าที่พร้อมรถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัยและเรือท้องแบนให้บริการขนย้ายสิ่งของและอำนวยความสะดวกในการเดินทางแก่ประชาชนตลอดจนสำรวจความเสียหายครอบคลุมทุกด้านเพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ อย่างไรก็ตาม ปภ.ขอให้ประชาชนติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยอย่างใกล้ชิดพร้อมปฏิบัติตามคำเตือนและคำแนะนำอย่างเคร่งครัดรวมถึงระมัดระวังภัยที่มักเกิดในช่วงน้ำท่วม อาทิ อุบัติภัยจากไฟฟ้าอุบัติภัยทางน้ำ สัตว์มีพิษ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า