SHARE

คัดลอกแล้ว

ดร.ธรณ์ โพสต์ที่มาไมโครพลาสติกในท้องปลาทูเกิดจากการผุกร่อนของถุงพลาสติก ระบุขยะที่สะสมในทะเลไทยกำลังกลับมาทำร้ายเราอย่างสาหัส 

วันที่ 12 ก.ย.2562 ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวเปิดที่มาของไมโครพลาสติกโดยระบุว่า เรื่องไมโครพลาสติกกำลังดัง เมื่อศูนย์วิจัยอุทยานพบไมโครพลาสติกในปลาเฉลี่ย 78 ชิ้น/ตัว พลาสติกในท้องปลามาจากไหน เพื่อนธรณ์ลองดูภาพถุงพลาสติกที่เราเพิ่งเก็บมาจากใต้ทะเลสิครับ ถุงกร่อนแตกตัวเป็นไมโครพลาสติกลอยขึ้นไปอยู่ในน้ำตราบใดที่ถุงยังอยู่เศษพลาสติกก็หลุดออกมาเรื่อยๆ การเก็บขยะทะเลจึงเป็นส่วนช่วยลดไมโครพลาสติกโดยตรง ขอบคุณทุกท่านที่ช่วยกัน ขอบคุณท่าน รมต.วราวุธด้วยฮะ เพราะการแบนถุงก๊อบแก๊บในเดือนมกราคมปีหน้าจะช่วยลดต้นตอไมโครพลาสติกไปได้อีกเยอะเลย เมื่อแตกออกมาแล้วในน้ำมีเยอะไหม

ผมนำเครื่องมือเก็บไมโครพลาสติกลากในทะเลจากนั้นก็นำมากรองใส่ขวดที่อยู่ในมือผมจะเห็นเม็ดเล็กๆ ที่ก้นขวดนั่นแหละครับคือไมโครพลาสติก (บางส่วน) เมื่อนำไปส่องดูในกล้อง เราจะเห็นไมโครพลาสติก หรือพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 0.5 มิลลิเมตร มีอยู่หลายแบบเลยฮะ ปลาบางชนิดกินแพลงก์ตอนในน้ำ ก็กินไมโครพลาสติกเข้าไปด้วย จากนั้นก็ไปอยู่ในท้อง บางส่วนสลายตัวกลายเป็นนาโนพลาสติก อาจเข้าสู่กระแสเลือดและเนื้อเยื่อปลาได้ เรากินสัตว์น้ำเหล่านี้เข้าไป อาจเป็นสาเหตุเสี่ยงต่อหลายโรค ตามที่องค์การอนามัยโลกเคยเตือนไว้ เรื่องนี้อีกยาว

https://www.facebook.com/thon.thamrongnawasawat/posts/2978963868785463

 

นอกจากนี้ ดร.ธรณ์ ยังได้โพสต์ข้อความล่าสุดระบุว่า เรื่องไมโครพลาสติกกำลังเป็นกระแสจึงนำผลกระทบของขยะทะเลมาให้ดู สมัยก่อนเราไปเกาะเจอแต่เปลือกหอยและเศษปะการัง สมัยนี้หาดเต็มไปด้วยเม็ดโฟมและเศษพลาสติก เรากำลังเข้าสู่ยุคของความน่าหวาดหวั่น เพราะขยะที่สะสมในทะเลไทยกำลังกลับมาทำร้ายเราอย่างสาหัส เมื่อโฟมและพลาสติกเหล่านี้แตกเป็นชิ้นเล็กๆ คำถามคือเราจะเก็บมันได้อย่างไร ? ยิ่งถ้าแตกตัวเล็กลงไปเรื่อยๆ เราจะร่อนทรายยังไง จะกรองน้ำทั้งทะเลเพื่อเอาไมโครพลาสติกออกไปได้อย่างไร ?

ที่ผ่านมาเรากลัวขยะชิ้นใหญ่ทำร้ายสัตว์ทะเล จากนี้ต่อไปเราจะเจอของจริงเมื่อเม็ดโฟมและไมโครพลาสติกกลับมาทำร้ายเรา ตั้งแต่เช้า ผมให้สัมภาษณ์หลายสื่อ ส่วนใหญ่จะถามว่า แก้อย่างไร ? หลีกเลี่ยงอย่างไร ? คำตอบคือไม่รู้จะเลี่ยงอีท่าไหน ไม่กินสัตว์น้ำ ก็ต้องกินเกลือ เมื่อไมโครพลาสติกแตกตัวถึงขั้นนาโนพลาสติก ยังไงซะมันก็ต้องปนเปื้อน ถ้ามันเลี่ยงได้จริง มันคงไม่เป็นปัญหาระดับโลก คงไม่มีคำว่า “ไมโครพลาสติกและนาโนพลาสติกส่งผลต่อสุขภาพมนุษย์” ปรากฎอยู่ในปฏิญญากรุงเทพ ที่เพิ่งเซ็นกันไปในการประชุมผู้นำอาเซียน

สำหรับทางแก้ มีอยู่ทางเดียวครับ นั่นคือลดขยะทะเลให้มากที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดเม็ดโฟมและไมโครพลาสติกมากไปกว่านี้ นั่นคือเหตุผลที่พยายามบอกครั้งแล้วครั้งเล่า ประเทศนั้นนี้โน้นเขาแบนแล้วนะ ฯลฯ เขาทำเพราะเขารู้ดีว่าเมื่อไม่ทำให้เด็ดขาดเช่นนั้น จะเกิดอะไร ? จะเกิดสิ่งที่ไม่มีทางแก้ได้ ไม่มีทางเลี่ยงได้ ถ้าปัญหาขยะทะเลมันง่าย มันแก้ได้ด้วยจิตสำนึกเพียงอย่างเดียว ผมคงไม่ต้องมาพูดถึงทุกวันที่พูดก็เพื่อพยายามบอกว่า มันแย่แล้วนะ มันแก้ไม่ได้นะ มันถึงเวลาเอาจริงแล้วนะจะทำอะไรก็ทำเถิด จะรณรงค์จะลดจะแบนก็กรุณารีบทำ เพราะเวลาเราเหลือน้อย

https://www.facebook.com/thon.thamrongnawasawat/posts/2981079151907268

 

https://www.facebook.com/WorkpointNews/videos/444380896172080/

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า