SHARE

คัดลอกแล้ว

คณะกรรมการวิสามัญเพื่อศึกษาตรวจสอบการดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และการกำหนดพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก (EEC) ถูกทำแท้ง หลังแพ้โหวตในสภาผู้แทนราษฎร 8 เสียง

ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 13 กันยายน 2562 มีการลงมติในญัตติเรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมการวิสามัญเพื่อศึกษาตรวจสอบการดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และการกำหนดพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก ผลปรากฎว่าสภาฯมีมติไม่ตั้งคณะกรรมการวิสามัญ ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 223 เสียง ไม่เห็นด้วย 232 เสียง และงดออกเสียง 2 เสียง จากผู้เข้าประชุมทั้งหมด 456 คน

โครงการระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก (EEC) เป็นหนึ่งในโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาที่ต่อเนื่องมาจากนโยบายในยุคคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยมีแนวคิดต่อยอดโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกหรือ Eastern Seaboard ที่เริ่มขึ้นในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์

อย่างไรก็ดี หลังเริ่มดำเนินโครงการดังกล่าวมาเป็นระยะเวลาหนึ่งก็ได้มีการเรียกร้องจากประชาชนในพื้นที่ว่ามีการการจัดทำร่างผังเมืองที่ไม่เป็นไปตามหลักการสากลและกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ EEC ประท้วงเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2562

อ่าน ชาวบ้านภาคตะวันออกร้อง EEC ซ้อนทับที่อยู่อาศัย-ไม่มีการรับฟังความคิดเห็น

 

ระหว่างการอภิปรายก่อนลงมติ จิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส. กรุงเทพมหานครชี้แจงเหตุผลที่ควรมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อตรวจสอบโครงการดังกล่าวว่า บริเวณ 3 จังหวัดที่อยู่ในขอบเขตโครงการ คือ ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา เป็นเขตการท่องเที่ยว การลงทุนด้านอุตสาหกรรมบริเวณนั้นอาจรบกวนสภาพแวดล้อมอันจะกระทบต่อเศรษฐกิจของเมืองท่องเที่ยวได้ อีกทั้งภาคตะวันออกมีความเจริญกระจุกตัวแล้ว ส่งผลให้เกิดความแออัดทางด้านจราจร และชี้ว่าควรพิจารณาการขุดคลองคอดกระหรือ “คลองไทย” เพื่อเปิดเส้นทางการค้าใหม่และเป็นจุดที่ดีในการลงทุนด้านอุตสาหกรรมมากกว่า

จิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส. กรุงเทพมหานคร

ส่วน สฤษดิ์ บุตรเนียร ส.ส. ปราจีนบุรี พรรคภูมิใจไทย ก็ได้ลุกขึ้นอภิปรายสนับสนุนว่า โครงการ EEC เป็นโครงการเมกะโปรเจ็ก ที่มีการลงทุนถึง 650,000 ล้าน เป็นการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน ระยะเวลาลงทุน 5 ปี และเป็นโครงการขนาดใหญ่ ขอชื่นชมผู้นำที่กล้าทำกล้าคิดกล้าตัดสินใจที่นำโครงการใหม่และใหญ่ และมีการร่วมมือกับภาคเอกชน ต้องขอบคุณทุกคนที่มีความห่วงใยประเทศชาติ และเป็นห่วงประชาชนที่ได้รับความกระทบกระเทือน หลายคนอาจจะมองจุดดำบนผ้าขาว แต่ผมมองว่าผ้าขาวอาจจะมีจุดดำเล็ก ๆ นี้เป็นโอกาสของประเทศ

สฤษดิ์ บุตรเนียร ส.ส. ปราจีนบุรี พรรคภูมิใจไทย

สฤษดิ์ชี้ว่าบริเวณพื้นที่โครงการ Eastern Seabord ผ่านประสบการณ์มา 30 ปี มีการพัฒนาตัวชี้วัดต่าง ๆ  ควรต่อยอดจากประสบการณ์นี้ในการสร้างโครงการ การอยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์เดิมที่เป็นชายฝั่งที่ก่อร่างสร้างตัวมาถึง 37 ปี ทำให้มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน และการไม่เปลี่ยนพื้นที่ทำให้สามารถจัดโซนได้ง่าย ดีกว่าการกระจายพท้นที่ที่จะทำให้ควบคุมได้ยาก

ปัจจุบันความเศรษฐกิจโลกมีความผันผวนสูง ไทยก็ควรปรับให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงด้วย ต้องกล้าคิดกล้าทำโครงการใหม่ๆ โครงการใหญ่ๆ โครงการEastern Seabord นี้จะถูกขยายจากโครงการระดับอาเซียนไปเป็นโครงการระดับนานาชาติในการเชื่อมเอเชียตะวันออกกับเอเชียใต้เข้าด้วยกัน และมีความจำเป็นด้านโครงสร้างพื้นฐานให้ EEC เพื่อให้นำไทยกำลังเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 จึงต้องมีการร่วมทุนกับภาคเอกชนเพื่อสร้างรถไฟความเร็วสูง พัฒนาสนามบินอู่ตะเภาเพื่อเตรียม Hub ซ่อมบำรุงอากาศยาน พัฒนาแหล่งท่าเรือแหลมฉบังและมาบตาพุด

 

นอกจากนี้ EEC จะสร้างการพัฒนามนุษย์ คือโอกาสในการผลิตเด็กอาชีวะศึกษา โดยรัฐบาลควรเปิดโอกาสการถ่ายทอดความรู้เชิงทวิภาคี

 

หลังญัตติการตังคณะกรรมาธิการวิสามัญดังกล่าวตกไป พรรคอนาคตใหม่แถลงว่าจะมีการตรวจสอบทางอื่นต่อไป

 

“อย่างไรก็ตาม เรายังมีเครื่องมือติดตามตรวจสอบหลายทาง ทั้งงานนอกสภากับพี่น้องภาคประชาชน การตั้งอนุกรรมาธิการ ซึ่งแน่นอนว่าตนเองเป็น ปธ.กรรมาธิการพัฒนาเศรษฐกิจ ก็จะดำเนินการตรวจสอบโครงการอีอีซีอย่างต่อเนื่องด้วย เรายืนยันว่า ทางพรรคร่วมฝ่ายค้าน และอนาคตใหม่จะดำเนินการตรวจสอบโครงการอีอีซี ดังเช่นที่เราแถลงข่าวไปแล้วว่า ต้องมีการศึกษาผลกระทบอย่างรอบคอบ โครงการนี้ยังมีปัญหาเรื่องข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง นอกจากเราจะทำงานในส่วนกรรมาธิการแล้ว เราจะเตรียมดำเนินการการยื่นร่าง พ.ร.บ.อีอีซี แก้ไขเพิ่มเติมด้วย เพราะตัวปัญหาที่แท้จริงก็คือกฎหมายประกอบการจัดตั้งโครงการนี้นั่นเอง” น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อพรรคอนาคตใหม่  กล่าว

 

ผลการลงมติญัตติเรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมการวิสามัญเพื่อศึกษาตรวจสอบการดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และการกำหนดพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า