SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 13 ก.ย. 62 กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา หรือ กสศ. ร่วมมือกับ 11 สถาบันอุดมศึกษา ลงนามความร่วมมือผลิตและพัฒนาครูรักษ์ถิ่น พร้อมประชุมเชิงปฏิบัติการ ร่วมมือ ร่วมใจ สร้างครูรุ่นใหม่หัวใจรักถิ่น

รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กสศ. กล่าวว่า โครงการครูรักษ์ถิ่น เป็นความร่วมมือระหว่าง กสศ. และ 5 หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา คัดเลือกสถาบันอุดมศึกษา และหลักสูตรที่ผ่านการพิจารณาให้เป็นสถาบันผลิตและพัฒนาครูในโครงการครูรักษ์ถิ่นรุ่นที่ 1 จำนวน 11 แห่ง เมื่อวันที่ 7 ก.ย.62

รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กสศ.

โดยสถาบันการศึกษาที่ร่วมโครงการในการผลิตครูปฐมวัย ได้แก่
1. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
2. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
3. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
4. มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
5. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
6. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
7. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
สถาบันการศึกษาที่ร่วมโครงการในการผลิตครูหลักสูตรการประถมศึกษา 4 แห่ง ได้แก่
1. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
3. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
4. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

ทั้งนี้ในปีการศึกษา 2563 สถาบันอุดมศึกษาทั้ง 11 แห่ง มีความพร้อมรับนักศึกษาทุนครูรักษ์ถิ่นได้ทั้งสิ้น 328 อัตรา และจะมีโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกล จำนวน 282 แห่ง ที่อยู่ในรัศมีพื้นที่การบรรจุอัตราครูรักษ์ถิ่นรุ่นที่ 1 ของทั้ง 11 สถาบัน

“กระบวนการคัดเลือกมีความเป็นวิชาการโดยแท้จริง โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนจาก 6 องค์กรความร่วมมือได้ลงพื้นที่เพื่อพิจารณาจากสภาพจริง พร้อมทั้งรับฟังแนวทางการดำเนินโครงการของสถาบันอุดมศึกษาที่สมัครร่วมโครงการทุกแห่งจำนวน 22 สถาบัน รวม 28 หลักสูตร โดยพิจารณาคัดเลือกตามเกณฑ์คุณภาพอย่างละเอียดรอบคอบเพื่อให้มั่นใจว่าจะได้สถาบันอุดมศึกษาที่มีความพร้อมในการเป็นสถาบันผลิตและพัฒนาครูรักษ์ถิ่นที่มีคุณภาพ” รศ.ดร.ดารณี กล่าว

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กสศ. กล่าวอีกว่า สำหรับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลจำนวน 282 แห่งในรัศมีของทั้ง 11 สถาบัน ถือเป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่ยุบรวมไม่ได้ เป็นจิตวิญญาณของชุมชน กสศ.ได้จัดให้มีทีมวิชาการช่วยพัฒนาทั้งด้านคุณภาพการเรียนการสอน การเตรียมความพร้อมของโรงเรียนทั้งระบบควบคู่กันไปด้วยตั้งแต่ในปีแรกนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับโครงการและรองรับการทำงานของครูรุ่นใหม่ได้ตามเป้าประสงค์ของโครงการนี้ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจเพื่อปฏิรูปการศึกษา

ทั้งนี้ กสศ.และ11 สถาบัน จะร่วมกันยกระดับหลักสูตรการผลิตครูใน 4 เรื่อง ได้แก่
1.การพัฒนารูปแบบและวิธีการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับโรงเรียนขนาดเล็กในถิ่นทุรกันดาร
2.การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาจิตสำนึกความเป็นครูและทักษะการทำงานโดยใช้ชุมชนเป็นฐานสำหรับนักศึกษาครูผู้รับทุน
3.รูปแบบการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือดูแล ระบบหอพัก และกิจกรรมเสริมสร้างความเป็นครูสำหรับนักศึกษาครูผู้รับทุนตลอด 4 ปี
4.กระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และระบบนิเทศทางการศึกษาทางไกลสำหรับนักศึกษาครูผู้รับทุน

โดยจะเริ่มคัดเลือกเด็ก ช่วง ต.ค.-พ.ย. นี้ โดยเลือกจากนักเรียนที่ฐานะครอบครัวอยู่ยากจนกำลังศึกษาชั้น ป.6 มีศักยภาพในการเรียนรู้และอยากเป็นครู มีภูมิลำเนา อยู่เขตตำบลที่ตั้งของโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล 282 แห่งในรัศมีที่ใกล้กับ 11 สถาบัน เกรดเฉลี่ยสะสม 5 ภาคเรียนไม่ต่ำกว่า 2.5

นายสุทิน แก้วพนา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า กระบวนการค้นหาคัดกรองนักเรียนมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการผลิตครู ถ้าเราไม่ได้เด็กในพื้นที่เป้าหมายจริงๆ ถึงแม้การผลิตครูจะมีคุณภาพแต่ในระยะยาว ครูเหล่านี้ก็จะไม่ได้อยู่กับโรงเรียน ทั้งนี้พื้นที่กลุ่มเป้าหมายของ 11 สถาบัน ครอบคลุมนักเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร ที่ผ่านมาโรงเรียนเหล่านี้ จะมีปัญหาเรื่องการบรรจุครู พอครบ 4 ปี ครูที่ไม่ใช่คนในพื้นที่ก็ขอย้ายกลับภูมิลำเนา เป็นปัญหาการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ขาดความต่อเนื่อง ทำให้โรงเรียนห่างไกลด้อยโอกาสกลายเป็นโรงเรียนฝึกหักครู เด็กด้อยโอกาสในพื้นที่ห่างไกลได้ครูที่ไม่พร้อมเต็มที่มาสอนตลอด

ผศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กล่าวว่า การออกแบบการเรียนสอนเพื่อรองรับโครงการครูรักษ์ถิ่น จะผสมผสานให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรง ผ่านการเรียนหลากหลายรูปแบบ เช่น การใช้งานวิจัย การใช้โครงงาน การใช้สถานประกอบการเป็นฐานการเรียนรู้ โดยการเรียนการสอนตามแนวทางนี้จะทำให้นักศึกษามีโอกาสได้เรียนทั้งทฤษฏี งานวิจัยที่มีการปรับปรุงให้เท่าทันกับสถานการณ์ปัจจุบันและการปฏิบัติที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่

ดร.มูหัมมัดตอลาล แกมะ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กล่าวว่า สถาบันได้ออกแบบการจัดกระบวนการเรียนการสอนนักศึกษาครูในโครงการครูรักษ์ถิ่น เน้นเรื่องการปลูกฝังจิตวิญญาณความเป็นครู เพิ่มทักษะในการเป็นครูนักพัฒนา และการดูแลหอพักนักศึกษาด้วยกิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษาสายครุศาสตรบัณฑิตนอกเวลาเรียนหรือเอ็กซตราไทม์

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า