Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

“อุตตม รมว.คลัง” แจงมาตรการเยียวยาผู้ประสบภัยเร่งด่วน ขยายเวลาชำระหนี้, พักหนี้ผู้ประกอบการ กรมบัญชีกลางร่วมกับกระทรวงมหาดไทยอนุมัติงบฉุกเฉินเร่งช่วยน้ำท่วม ทิ้งท้ายให้กำลังใจประชาชน “เราจะสู้ไปด้วยกัน”

(อุตตม สาวนายน)

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ) โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ดร.อุตตม สาวนายน เรื่องมาตรการเยียวยาผู้ประสบภัยเร่งด่วน ระบุว่า “ผมขอแสดงความห่วงใยพี่น้องประชาชน ที่ประสบอุทกภัยในขณะนี้ และจะพยายามอย่างเต็มที่ในการช่วยเหลือในทุกๆด้าน ทั้งในช่วงที่กำลังประสบปัญหาและการเยียวยาฟื้นฟู

ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่ได้ทุ่มเทช่วยเหลือลูกค้าและประชาชนทั่วไปอย่างเต็มที่ โดยเบื้องต้นได้จัดหาถุงชีพ มอบให้ผู้เดือดร้อน และเข้าไปสนับสนุนศูนย์อพยพหรือจุดรวมพลต่างๆ หลังจากนี้ก็จะมีมาตรการฟื้นฟูหลังสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ อาทิ พิจารณาช่วยเหลือมอบเงินเพื่อสมทบทุนสร้างบ้านหลังใหม่ การซ่อมแซมทรัพย์สินของใช้จำเป็น รวมทั้งการซ่อมแซมเครื่องจักรการเกษตร เป็นต้น

ด้าน ภาระหนี้สินที่มีอยู่กับ ธ.ก.ส. ก็จะพิจารณาขยายระยะเวลาชำระหนี้ ออกไป และพิจารณาให้สินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน ที่จำเป็นในครัวเรือนและป้องกันการก่อหนี้นอกระบบ ไม่เกินรายละ 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 ระยะ 6 เดือนแรก พร้อมทั้งมีสินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับเกษตรกรลูกค้าผู้ประสบภัย ตามความจำเป็น ไม่เกินรายละ 500,000 บาท

นอกจากนี้ ในส่วนของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้ออก 7 มาตรการเร่งด่วน ภายใต้โครงการ “เงินกู้ที่อยู่อาศัยเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติปี 2562” กรอบวงเงินรวม 1,000 ล้านบาท ประกอบด้วย มาตรการลดอัตราดอกเบี้ย , สินเชื่อเพื่อการปลูกสร้างอาคารใหม่หรือซ่อมแซมอาคารที่ได้รับความเสียหาย , ประนอมหนี้ ,ลูกหนี้ที่เสียชีวิต-ทุพพลภาพถาวร ให้ผ่อนชำระโดยใช้อัตราดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี ตลอดระยะเวลาที่คงเหลือตามสัญญากู้ และหากอาคารมีความเสียหายทั้งหลังไม่สามารถซ่อมแซมได้ ให้ปลอดหนี้ในส่วนของราคาอาคาร และให้ผ่อนชำระต่อเฉพาะในส่วนของที่ดินที่คงเหลือเท่านั้น

รวมทั้งพิจารณาสินไหมเร่งด่วน (Fast track) สำหรับลูกค้าที่ทำกรมธรรม์ประกันภัยอัคคีภัยที่อยู่อาศัยซึ่งคุ้มครองภัยธรรมชาติ รวมถึงกรณีน้ำท่วม หรือ ลมพายุ อย่างเร่งด่วนเป็นกรณีพิเศษ 15,000 บาท และหากประเมินความเสียหายของที่อยู่อาศัยแล้วพบว่าสูงกว่า 15,000 บาท หรือมีน้ำท่วมที่อยู่อาศัยตั้งแต่ 100 เซนติเมตรขึ้นไป ลูกค้ามีสิทธิ์ได้รับค่าสินไหมตามจริงแต่ไม่เกิน 20,000 บาท

ด้าน ผู้ประกอบการ SME ทาง SME D Bank ได้ออก 2 มาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือคือ พักชำระหนี้ 6 เดือน และเติมทุนดอกเบี้ยพิเศษ 0.415% ต่อเดือน ใช้หมุนเวียนฟื้นฟูธุรกิจ โดย 1.ลูกหนี้ที่มีวงเงินอนุมัติรวมไม่เกิน 1 ล้านบาท ให้วงเงินกู้ไม่เกิน 5 แสนบาท 2.ลูกหนี้ที่มีวงเงินอนุมัติรวมมากกว่า 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท ให้กู้สูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาท และ3.ลูกหนี้ที่มีวงเงินอนุมัติมากกว่า 5 ล้านบาท ให้กู้สูงสุดไม่เกิน 2 ล้านบาท ทั้งนี้รวมวงเงินเดิมแล้วไม่เกิน 15 ล้านบาท ส่วนหลักประกันให้พิจารณาหลักประกันเดิมก่อนและสามารถใช้หลักประกัน บสย. ค้ำประกัน เฉพาะมาตรการที่เพิ่มไม่เกิน 2 ล้านบาท

ธนาคารกรุงไทย ได้ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือ โดยสินเชื่อบุคคล โดยพักชำระหนี้นาน 3 เดือน และพักชำระดอกเบี้ยอีก 3 เดือน ในเดือนที่ 4-6 ด้านลูกค้าสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อ Home For Cash ธนาคารไม่คิดดอกเบี้ย นาน 3 เดือน และปรับลดลงอีก 0.25% ในเดือนที่ 4 – 12

ขณะที่ สินเชื่อธุรกิจขนาดเล็ก ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ที่สถานประกอบการได้รับผลกระทบ หรือคู่ค้า แหล่งวัตถุดิบ แรงงาน อยู่ในพื้นที่ประสบภัย ลดดอกเบี้ยลงสูงสุด 1% ต่อปี เป็นเวลา 12 เดือน รวมทั้งพักชำระเงินต้น หรือขยายระยะเวลาสัญญาออกไปสูงสุด 12 เดือน และสนับสนุนวงเงินสินเชื่อเพิ่ม เพื่อฟื้นฟูปรับปรุงซ่อมแซม ซื้อสินทรัพย์ถาวร และวัตถุดิบ โดยให้วงเงินกู้เพิ่มสูงสุด 2 ล้านบาท ดอกเบี้ยเริ่มต้นปีแรก 4% ต่อปี

สำหรับลูกค้า SME ธนาคารกรุงไทย จะสนับสนุนวงเงินสินเชื่อเพิ่มในการฟื้นฟูกิจการ ในวงเงินสูงสุดรายละ 10 ล้านบาท ดอกเบี้ยเริ่มต้น 4% ต่อปี และสำหรับลูกค้าที่ใช้วงเงินสินเชื่อเดิม ยังลดดอกเบี้ยลงสูงสุด 1% ต่อปี เป็นเวลา 12 เดือน และสามารถพักชำระหนี้หรือขยายระยะเวลาสัญญาออกไปสูงสุด 12 เดือน เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการที่เป็นลูกค้า ภายใต้เงื่อนไขตามที่ธนาคารกำหนด

ในส่วนของงบประมาณในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยนั้น ขณะนี้กรมบัญชีกลาง ได้ประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้สามารถนำงบประมาณ มาใช้ในกรณีฉุกเฉินที่ต้องช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ตามพ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐพ.ศ.2560 ได้อย่างทันท่วงที เพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และเป็นประโยชน์แก่พี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน

มาตรการที่กล่าวมาทั้งหมด เป็นมาตรการทางการเงินที่จะช่วยเยียวยาประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ แต่เหนือสิ่งอื่นใด คือเราต้องหาทางฟื้นฟูในทุกๆ ด้าน เพื่อให้ผู้ประสบภัยสามารถกลับมายืนขึ้นได้อีกครั้ง ท้ายที่สุด ผมขอยืนยันว่า รัฐบาลพร้อมที่จะช่วยเหลืออย่างเต็มที่ และขอแสดงความเสียใจกับผู้สูญเสียมา ณ โอกาสนี้ เราจะสู้ไปด้วยกันครับ”

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า