SHARE

คัดลอกแล้ว

ในช่วงสุดสัปดาห์นี้ ญี่ปุ่นกำลังเตรียมรับมือกับไต้ฝุ่นหมายเลข 19 หรือ ซูเปอร์ไต้ฝุ่นฮากิบิส ซึ่งมีความรุนแรงเทียบเท่าพายุเฮอริเคนระดับ 5 ที่ก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก และจะเคลื่อนตัวมายังเกาะฮนชูในกลางคืนของวันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม หรือช่วงเช้าของวันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคมนี้ โดยมีการคาดการณ์ว่าอิทธิพลของพายุจะก่อให้เกิดลมกรรโชกแรง ฝนตกหนัก และมีคลื่นพายุซัดฝั่งอย่างรุนแรง อีกทั้งหลายพื้นที่มีความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญกับสถานการณ์ดินถล่ม และน้ำท่วม เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำสูงขึ้นเรื่อย ๆ 

ความเสียหายจากพายุฮากิบิสในปี 2019

ย้อนกลับไปเมื่อ 61 ปีที่แล้ว เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2501 ญี่ปุ่นก็เคยประสบกับซูเปอร์ไต้ฝุ่นขนาดใหญ่ที่มีชื่อว่า ซูเปอร์ไต้ฝุ่นไอดา (Ida) หรือ ไต้ฝุ่นคาโนงาวะซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายมากมายไม่ว่าจะเป็นความเสียหายที่เกิดจากกระแสลมกรรโชกแรง และความเสียหายที่เกิดจากฝนตกหนักในบริเวณกรุงโตเกียวและบริเวณโดยรอบ ซึ่งก่อให้เกิดน้ำท่วมและดินถล่ม ส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนผู้คนเป็นจำนวนมาก โดย AIR Worldwide  บริษัทด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและการสร้างแบบจำลองความเสี่ยงเกี่ยวกับภัยพิบัติจากสหรัฐอเมริกา ได้ประเมิน ว่าหากเกิดพายุที่มีลักษณะเหมือนพายุไต้ฝุ่นไอดาอีกครั้งในปัจจุบันจะสร้างความเสียหายให้กับประเทศมูลค่าประมาณ 2.86 ล้านล้านเยน (ราว 8 แสนล้านบาท)

AIR Worldwide ได้เผยแพร่บทความที่มีชื่อว่า Lessons from Super Typhoon Ida: Disastrous Flooding Spurs Modern Mitigation in Japan (บทเรียนจากซูเปอร์ไต้ฝุ่นไอดา: อุทกภัยครั้งใหญ่กระตุ้นให้เกิดการบรรเทาความเสียหายแบบสมัยใหม่ในญี่ปุ่น) ซึ่งได้ชี้ให้เห็นถึงมุมมองว่าทำไมพายุไต้ฝุ่นไอดาถึงได้สร้างความเสียหายอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นมุมมองในด้านสภาพอากาศและการออกแบบเมือง รวมถึงมาตรการที่ญี่ปุ่นใช้เพื่อป้องกันน้ำท่วมในอนาคต 

พายุที่รุนแรงก่อให้เกิดฝนตกหนัก

ซูเปอร์ไต้ฝุ่นไอดาก่อตัวขึ้นในบริเวณฝั่งตะวันตกตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2501 ในตอนแรกเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนและได้ขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นที่มีความรุนแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมีความเร็วลมถึง 320 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่เมื่อพัดเข้าชายฝั่งญี่ปุ่น พายุได้อ่อนกำลังลง แต่ก็ยังคงมีความรุนแรงเทียบเท่ากับพายุเฮอริเคนระดับ 3 ที่มีความเร็วลมสูงสุด 189 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยพายุไต้ฝุ่นไอดาได้สร้างความเสียหายแก่สิ่งก่อสร้างมากถึง 4,000 แห่งโดยเฉพาะในเมืองที่ตั้งอยู่ตามแนวชายฝั่งอย่าง ชูบุ คันโต และโทโฮกุ ซึ่งสาเหตุความเสียหายหลัก ๆ มาจากปริมาณฝนที่ตกหนักในช่วงที่เกิดพายุ 

ไต้ฝุ่นไอดานั้นก่อให้เกิดฝนตกหนักมากที่สุดในรอบ 60 ปี โดยมีปริมาณน้ำฝนมากถึง 400 มิลลิเมตรภายในระยะเวลาสองวัน และในบางพื้นที่มีปริมาณฝนสูงถึง 76 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมและดินโคลนถล่มมากถึง 1,900 แห่ง โดยมีสองหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในบริเวณคาบสมุทรอิซุได้รับความเสียหายอย่างหนัก

นอกจากนี้ ฝนที่ตกอย่างหนักอันเนื่องมาจากพายุไต้ฝุ่นไอดาได้สร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในกรุงโตเกียวและบริเวณโดยรอบ โดยเฉพาะบ้านเรือนจำนวนมากที่ส่วนมากสร้างใหม่ ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ทำให้ประชาชนกว่า 5 แสนคนไร้ที่อยู่อาศัย และมีผู้เสียชีวิตมากถึง 1,200 ราย 

น้ำท่วมในปี 2018 หนักหนาสาหัสที่สุดในรอบ 30 ปี ภาพจากเมืองฮิโรชิม่า ประเทศญี่ปุ่น

การสร้างเมืองใหม่คือจุดอ่อน

การขยายตัวของเมืองในขณะนั้นเป็นคำอธิบายได้ว่าเหตุใดผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นไอดาจึงมีความรุนแรงโดยหลังจากปี พ.ศ. 2548 เศรษฐกิจของญี่ปุ่นได้ขยายตัวและเติบโตอย่างมาก จนรู้จักกันในขณะนั้นว่า “มหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น” (Japanese economic miracle) โดยการเพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมการผลิตและการเกิดขึ้นของงานอื่น ๆ ส่งผลให้ประชาชนไหลบ่าเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองหลวงอย่างกรุงโตเกียวเยอะขึ้นและทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัยเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก บ้านที่สร้างขึ้นใหม่จำนวนมากถูกสร้างในบริเวณที่ดินที่ไม่แพงแต่เป็นที่น้ำท่วมถึงที่ตั้งอยู่แถบชานเมือง

ในช่วงปลายทศวรรษ 1940 พื้นที่รอบ ๆ แม่น้ำยังคงเป็นป่าหรือทุ่งนาอยู่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สามารถป้องกันน้ำท่วมได้โดยการช่วยดูดซับน้ำกลับเข้าไปในดิน แต่เมื่อมีการพัฒนาที่ดินในบริเวณดังกล่าวไปเป็นที่อยู่อาศัยของผู้คนตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น ทำให้ความสามารถในการดูดซับน้ำของที่ดินในบริเวณนั้นน้อยลง ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำมีระดับเพิ่มขึ้นและล้นออกจากตลิ่งอย่างรวดเร็วกว่าเดิมเมื่อมีฝนตกหนัก และเข้าท่วมพื้นที่ที่เป็นที่อยู่อาศัยและบ้านเรือนของผู้คนอย่างรวดเร็ว 

น้ำท่วมอย่างฉับพลันและคันดินที่มีอายุมาก

ในพื้นที่บริเวณคาบสมุทรอิซุรอบ ๆ แม่น้ำคาโนะ ต้องประสบกับปริมาณฝนสูงที่สุด และต้องเผชิญกับอุทกภัยอย่างฉับพลันเนื่องจากสะพานข้ามแม่น้ำคาโนะที่ถูกปิดกั้นไว้ด้วยซากปรักหักพังจนกลายเป็นเขื่อนชั่วคราวพังลง โดยปริมาณน้ำที่ไหลทะลักออกจากแม่น้ำได้ทำลายคันดินที่ถูกสร้างขึ้นในรูปแบบที่ไม่ได้รองรับการไหลของน้ำจำนวนมหาศาล โดยความเสียหายอย่างมากในบริเวณดังกล่าวทำให้พายุไต้ฝุ่นไอดามีอีกหนึ่งชื่อเรียกคือ อายุไต้ฝุ่นคาโนะงาวะ 

การก่อสร้างคันดินในญี่ปุ่นเริ่มจากการที่ญี่ปุ่นได้ผ่านกฎหมายเกี่ยวกับแม่น้ำฉบับแรกในปี พ.ศ. 2439 โดยมีการกำหนดให้สร้างคันดินตามริมฝั่งแม่น้ำและช่องทางไหลของน้ำที่คดเคี้ยวเพื่อให้น้ำไหลลงสู่ทะเลโดยตรง แต่ในขณะที่พายุไต้ฝุ่นไอดาถล่มญี่ปุ่นอยู่นั้น โครงการสร้างช่องทางระบายน้ำคาโนะงาวะยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่หลังจากที่ได้รับความเสียหายจากพายุ ทางการก็ได้มีการวางแผนขยายความกว้างของทางไหลของน้ำและเพิ่มจำนวนอุโมงค์จนแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2508 

ชินโสะ อาเบะ ผู้นำของญี่ปุ่น ในช่วงการบัญชาการพาประเทศให้รอดจากภัยน้ำท่วมปี 2018

การบรรเทาอุทกภัยในสมัยใหม่ 

ความเสียหายที่เกิดจากพายุไต้ฝุ่นไอดาและพายุอื่น ๆ ทำให้รัฐบาลมีความพยายามอย่างมากในการเสริมสร้างการป้องกันน้ำท่วมในบริเวณชายฝั่งและภายในประเทศ ซึ่งทางการได้ริเริ่มแผนการพัฒนามาตราการป้องกันน้ำท่วมสำหรับกรุงโตเกียวหลังจากเกิดพายุไต้ฝุ่นไอดา และในปัจจุบันเมืองใหญ่ของญี่ปุ่นเกือบทุกเมืองมีระบบที่ทันสมัยในการป้องกันน้ำท่วมที่มักจะเปิดจากพายุไต้ฝุ่นและพายุประเภทอื่น ๆ 

ในปัจจุบัน การที่ทรัพย์สินกว่าร้อยละ 75 ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่น้ำท่วมถึงในญี่ปุ่น อีกทั้งยังมีการขยายตัวของเมืองเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ญี่ปุ่นยังคงลงทุนอย่างมากในการพัฒนาผังเมืองและออกมาตรการบรรเทาน้ำท่วม ไม่ว่าจะเป็นการสร้างช่องทางระบายน้ำใต้ดินนอกเขตเมืองซึ่งเป็นช่องทางการผันน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีความจุประมาณ 540,000 ลูกบาศก์เมตรโดยสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2549  ซึ่งเป็นสิ่งที่ก่อสร้างที่ช่วยแก้ปัญหาน้ำที่ล่นออกจากแม่น้ำคันโดะ อีกทั้งภายในปี พ.ศ. 2569 ทางการจะทำการเชื่อมช่องทางระบายน้ำใต้ดินแห่งนี้กับแหล่งเก็บน้ำอื่น ๆ อีก 5 แห่งที่ช่วยป้องกันน้ำท่วม จะทำให้มีความจุประมาณ 1,430,000 ลูกบาศก์เมตรครอบคลุมแม่น้ำ 5 สาย 

อย่างไรก็ตามถึงแม้ญี่ปุ่นจะมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เพื่อรองรับเหตุการณ์ภัยพิบัติต่าง ๆ ที่อาจจะขึ้นจากพายุไต้ฝุ่นขนาดใหญ่ แต่ซูเปอร์ไต้ฝุ่นฮากิบิสที่ญี่ปุ่นกำลังเผชิญอยู่ในมีขณะนี้มีขนาดและความเร็วลมที่ใหญ่กว่าซูเปอร์ไต้ฝุ่นไอดา และถือว่าเป็นพายุไต้ฝุ่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดจากที่เคยบันทึกไว้ ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าอาจจะก่อให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงและก่อให้เกิดการตั้งคำถามถึงมาตรการการรับมือและโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ว่าเพียงพอหรือไม่ 

ทั้งนี้ วันนี้ (วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม 2562) ขอบพายุได้พัดมาถึงประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ โดยกรมอุตุนิยมวิทยาของญี่ปุ่นได้ประกาศแจ้งเตือนภัยระดับสูงสุดในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว อีกทั้งยังมีการแจ้งเตือนน้ำท่วมโดยเฉพาะในพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับแม่น้ำ รวมถึงได้เคลื่อนย้ายผู้คนออกจากบางพื้นที่ในแถบชานเมืองโตเกียวแล้ว

น้ำท่วมญี่ปุ่นในปี 1998 ที่ส่งผลกระทบกับระบบสัญจรทางรถไฟ

เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือประชาชน อพยพออกจากพิ้นที่น้ำท่วม ช่วงปี 2018

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า