SHARE

คัดลอกแล้ว

นักวิชาการรัฐศาสตร์ ยกมาตรา 143 รัฐธรรมนูญ 60 ตัวช่วยร่างงบประมาณ 63 ผ่านสภาฯ 100 เปอร์เซ็นต์ จับตางูเห่า 4.0 ต่อรองผลประโยชน์เพื่อเลือกตั้งครั้งหน้า

วันที่ 16 ต.ค. รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นักวิชาการรัฐศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ทีมข่าวเวิร์คพอยท์ ถึงการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ว่า ตัวเนื้องบประมาณคล้ายเดิม ส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายประจำ เงินเดือน ค่าตอบแทน เงินประจำตำแหน่ง ในขณะที่งบลงทุนเป็นสัดส่วนที่น้อย ประมาณร้อยละ 20 กว่าๆ โดยงบร้อยละ 70 เป็นค่าใช้จ่ายประจำ

ในเชิงโครงสร้างไม่ได้เปลี่ยน แต่พยายามไปกำหนด เช่น มาตรา 142 ของรัฐธรรมนูญกำหนดว่า งบประมาณต้องแสดงแหล่งที่มา และเรื่องของการเบิกใช้จ่าย งบประมาณต่างๆ ประมาณการ รายได้ รายจ่าย และต้องสะท้อนเหตุผลสัมฤทธิ์ ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนาต่างๆ และต้องเป็นไปตามวินัยการเงินการคลังด้วย ซึ่งมันไม่ได้ช่วยแก้ เพราะปัญหามันไม่ได้อยู่ตรงเรื่องนี้ ปัญหาเรื่องการดำเนินการของงบประมาณ มันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากโครงสร้างทางระบบราชการอยู่ไม่น้อย ซึ่งเรายังไม่ได้แก้ไขการมาเขียนในรัฐธรรมนูญไม่ได้ช่วยอะไร

(รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย)

สำหรับปัจจัยน่าสนใจในการพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบฯ 63 คือ

1.รัฐบาลเสียงปริ่มน้ำ ตอนนี้รัฐบาลมี 251 เสียง นับรวม ประธาน และรองประธานสภาฯ รวมทั้ง นายกรุงศรีวิไล สุทินเผือก พรรคพลังประชารัฐ ที่ กกต.ให้ใบเหลือง แต่ศาลยังไม่ได้สั่งยังสามารถปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. ได้ ส่วนตัวเชื่อว่า รองประธานสภาฯ ทั้งสองท่านจะใช้สิทธิ์โหวต แต่ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ จะงดออกเสียง

2.สถานการณ์การเมืองปัจจุบันที่มีหลายๆ เรื่อง เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฝ่ายค้านถูกแจ้งความกรณีจัดเวทีเสวนาที่ปัตตานี การตอบโต้ของ ผบ.ทบ. กับเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่จะถูกนำมายึดโยงหรือไม่ในการอภิปรายครั้งนี้

3. การต่อรองในสภา มีการต่อรองหลากหลายมิติ เชิงพื้นที่เพราะบางโครงการต่อเนื่องหลายเขตพื้นที่ แม้มาจากคนละพรรค แต่ต้องการงบเหมือนกัน ต่อรองเชิงยุทธศาสตร์ ฝ่ายค้านอิสระ ฝ่ายรัฐบาลอิสระเราอาจจะได้เห็น หรือภาวะงูเห่า 4.0

4.เอกภาพของรัฐบาลเอง เหมือนเดินคนละคีย์ เล่นคนละวง ทุกพรรคมาร่วมรัฐบาลกันครั้งนี้เพื่อเลือกตั้งครั้งหน้า ทุกพรรคก็แย่งกันได้งบประมาณ แย่งกันลงมติ ตรงนี้ทำให้เอกภาพของรัฐบาลส่งผลเองต่อการลงมติของฝ่ายรัฐบาล

“งูเห่าปกติจะค่อนข้างประกาศตัวชัดเจน คือสนับสนุนแปรพักตร์เปลี่ยนฝ่ายชัดเจน แต่งูเห่า 4.0 กลยุทธ์จะเปลี่ยนไปอาจใช้กลยุทธ์ของการไม่เข้าประชุม ลาป่วย ไปลงพื้นที่ เข้าประชุมเสียบบัตรผิด หมุนเวียนเปลี่ยนไปเพื่อไม่ให้จับได้ไล่ทัน”

รศ.ดร.ยุทธพร เชื่อว่า สภาฯ จะลงมติรับหลักการ ร่างพ.ร.บ.งบฯ 63 โดยรัฐบาลจะมีเสียงสนับสนุนจากฝ่ายค้านอิสระ ที่ออกไป 2 เสียงน่าจะกลับมา เป็น 251 เสียงก็เกินกึ่งหนึ่ง (249 เสียง) แต่ทั้งนี้ในมาตรา 143 รัฐธรรมนูญ 60 ระบุว่า ถ้าไม่แล้วเสร็จภายใน 105 วัน นับตั้งแต่วันที่ร่างมาถึงสภาฯ ให้ถือว่าเห็นชอบ ร่างพ.ร.บ.งบฯ 63 จะไปที่วุฒิสภาเพื่อพิจารณาทันที

 

[อ้างอิง]

รัฐธรรมนูญ 2560

ไทม์ไลน์สำคัญ

วันที่ 17-19 ต.ค.นี้ สภาผู้แทนราษฎร จะพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2563 ในวาระที่ 1 ซึ่งภายหลังการอภิปรายแล้วจะต้องมีการลงมติรับหลักการหรือไม่ หากเสียงส่วนใหญ่ของ ส.ส. รับร่างฯ จะเข้าสู่วาระต่อไป แต่หากไม่รับ ร่าง พ.ร.บ. นั้นจะตกไป รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบด้วยการลาออกหรือยุบสภา เพราะเป็นกฎหมายสำคัญ
.
หากเสียงส่วนใหญ่รับร่าง จะเข้าสู่วาระที่ 2 มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เพื่อพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. ในช่วงวันที่ 21 ต.ค. – 3 ม.ค. 63
.
คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ จะมี 63 คน ประกอบด้วย คณะรัฐมนตรี 15 คน ฝ่ายค้าน 24 คน และฝ่ายรัฐบาล 24 คน
.
เมื่อผ่านจากขั้นกรรมาธิการแล้ว วันที่ 8-9 ม.ค. 63 สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ในวาระที่ 2 – 3
.
วาระที่ 2 จะเป็นการอภิปรายร่างกฎหมายเรียงตามมาตรา ตามที่คณะกรรมาธิการพิจารณา ลงมติโดยใช้เสียงข้างมาก ส่วนวาระที่ 3 ที่ประชุมจะมีการลงมติว่าเห็นชอบหรือไม่ทั้งฉบับ ซึ่งถ้าไม่ได้รับการเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.จะตกไป และรัฐบาลต้องรับผิดชอบด้วยการลาออกหรือยุบสภาเช่นกัน
.
หากผ่านการลงมติจากสภาผู้แทนราษฎรในวาระที่ 3 แล้ว วันที่ 20 ม.ค. 63 ขั้นตอนวุฒิสภาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2563 ซึ่งรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 143 กำหนดให้ “วุฒิสภาจะต้องให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายในยี่สิบวัน นับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัตินั้นมาถึงวุฒิสภา โดยจะแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ มิได้ ถ้าพ้นกําหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่าวุฒิสภาเห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัตินั้น”
.
ถ้าวุฒิสภาไม่เห็นชอบ ให้ส่งกลับไปที่สภาผู้แทนราษฎร หากสภาผู้แทนราษฎรลงมติยืนยันด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ให้ถือว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา
.
วันที่ 27 ม.ค. 63 คือวันที่คาดว่า กระบวนการทั้งหมดจะเสร็จเรียบร้อย สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีนำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า