SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 22 ต.ค. ที่กระทรวงอุตสาหกรรม จะมีการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย ตั้งแต่ 09.30 น. ซึ่งมีวาระสำคัญ คือ การพิจารณาแบน 3 สารเคมีทางการเกษตร คือ พาราควอต, ไกลโฟเซต และคลอร์ไฟริฟอส หรือไม่
.
แม้จะมีข่าว จาก น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ รมช.เกษตรและสหกรณ์ มาตลอดว่าจะต้องแบน 3 สารนี้ให้ได้ ภายใต้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ของ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข ที่้เป็นหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย
.
แต่ผู้ที่จะตัดสินใจจัด 3 สารเคมีนี้เข้าหมวดสารอันตรายที่ห้ามใช้หรือไม่ ไม่ใช่รัฐมนตรี ตามกฎหมายให้เป็นหน้าที่ของ คณะกรรมการวัตถุอันตราย
.
คณะกรรมการชุดนี้ มี 29 คน เป็นผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ 19 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน
.
กรรมการในส่วนของภาครัฐที่รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงยืนยัน ได้แจ้งให้ลงมติแบนแล้ว คือ จากกระทรวงอุตสาหกรรม 3 คน คือ 1.รักษาการรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม 2.รักษาการอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.)  3.เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
.
จากกระทรวงเกษตรฯ 5 คน คือ 1.อธิบดีกรมประมง 2.อธิบดีกรมปศุสัตว์ 3.อธิบดีกรมวิชาการเกษตร 4.อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร 5.เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
.
จากกระทรวงสาธารณสุข 3 คน คือ 1.อธิบดีกรมการแพทย์ 2.อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 3.เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
.
จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1 คน คือ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ
.
ถ้าเป็นไปตามที่รัฐมนตรีเจ้ากระทรวงมั่นใจจะได้แล้ว 12 เสียง
.
ยังเหลือตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ ที่ยังไม่ทราบว่าจะออกเสียงอย่างไร คือ 1.ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ 2.ผู้แทนกระทรวงกลาโหม 3.เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ 4.ผู้แทนกระทรวงคมนาคม 5.อธิบดีกรมขนส่งทางบก 6.อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน 7.อธิบดีกรมการค้าภายใน
ส่วนฝั่งผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน ประกอบด้วย 1.ผู้ทรงคุณวุฒิสาขาวิชากฏหมาย 2.สาขาวิชาเคมี 3.สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ 4.สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ 5.สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ 6.ผู้แทนองค์การสาธารณประโยชน์ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน 7.ผู้แทนองค์การสาธารณประโยชน์ด้านการจัดการปัญหาวัตถุอันตรายในท้องถิ่น 8.ผู้แทนองค์การสาธารณประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม 9.ผู้แทนองค์การสาธารณประโยชน์ด้านคุ้มครองผู้บริโภค (คนที่ 1) 10.ผู้แทนองค์การสาธารณประโยชน์ด้านคุ้มครองผู้บริโภค (คนที่ 2)
.
แม้จะมีกระแสฝั่งให้แบน 3 สารเคมีเป็นข่าวต่อเนื่อง แต่กลุ่มเกษตรกรที่ยืนยันถึงความจำเป็นที่ยังต้องใช้งานอยู่ก็ยังมีเช่นกัน รวมทั้งนักวิชาการก็มีจุดยืนแตกต่างกันเป็น 2 ฝ่าย
.
สำหรับผลการลงมติแบน-ไม่แบน ครั้งล่าสุด คือ 15 ก.พ. 62 มีกรรมการเข้าประชุม 25 คน ผลไม่แบน 16 เสียง แบน 5 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง โดยไม่มีการเปิดเผยชื่อเพราะเกรงผลกระทบต่อกรรมการผู้ออกเสียง
.
ซึ่งในครั้งนั้นมีการกำหนดให้กรมวิชาการเกษตรไปศึกษาแนวทางการลดใช้สารเคมีและศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและให้กำหนดแนวทางว่าจะเลิกใช้สารเคมีนี้หรือไม่ภายใน 2 ปี แต่หากสามารถหาสารทดแทนได้ก็ยกเลิกก่อน 2 ปี
.
แถลงการณ์ เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) ที่ออกหลังทราบมติครั้งนั้น ระบุผิดหวังบทบาทของกระทรวงเกษตรฯ ที่ตัวแทนทั้ง 5 คนโหวตไม่แบน และขอบคุณเสียงจากกระทรวงสาธารณสุขและ รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ที่เป็นเสียงสนับสนุนให้แบน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า