SHARE

คัดลอกแล้ว

จากกรณีที่ทีมข่าวเวิร์คพอยท์ ได้มีการเปิดโปงบริษัทริชโกลด์ อินเตอร์เทรด ที่บริหารงานโดยนายจรณินทร์ หมื่นจิตร หรือ ช.เล็ก สุโขทัย  ล่าสุดวันนี้ (22 ต.ค.62) ตรวจสอบพบว่านายจรณินทร์ ได้มีการแจ้งเปลี่ยนชื่อ-นามสกุลใหม่ เป็นนาย ธีรธัชช์ ธรกนก โดยนายธีรธัชช์ หรือจรณินทร์ มีพฤติกรรมชักชวนประชาชนร่วงลงทุนในโครงการต่างๆ โดยเสนอผลตอบแทนสูงในหลักพันเท่าถึงหมื่นเท่า ซึ่งเข้าข่ายเป็นธุรกิจแชร์ลูกโซ่

โดยในวันนี้ (22 ต.ค.) มีข้อมูลเพิ่มเติมว่า บรรดาแม่ทีมหรือที่เรียกว่าหัวสายของบริษัทดังกล่าว ที่ทำหน้าที่ชักชวนประชาชนในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ ยังมีการให้ข้อมูลเกลี้ยกล่อมสมาชิกที่ร่วมโครงการ อ้างว่าให้รอเงินจากต่างประเทศที่กำลังจะจ่ายให้สมาชิกในเร็ววันนี้ และยังคงเดินหน้าให้ข้อมูลกับสมาชิกว่าบริษัทถูกใส่ร้าย และยังคงชักชวนให้สมาชิกแจ้งชักชวนญาติๆ มาเข้าร่วมโครงการต่อเนื่อง

โดยมีการเสนอผลตอบแทนต่างๆ เช่น ลงทุน 200 บาท จะได้รับ 800 ล้านบาท และมือถือไอโฟน 1 เครื่อง, ลงทุน 500 บาท จะได้รับ 2,000 ล้านบาท และมือถือไอโฟน 1 เครื่อง, ลงทุน 1,000 บาท จะได้รับ 4,200 ล้านบาทและมือถือไอโฟน 1 เครื่อง เป็นต้น

โดยมีข้อความชวนเชื่อว่า อยากให้สมาชิกเก็บความรวยไว้เยอะๆ เพราะ 50 ปี จะมีหนึ่งครั้ง ศีลเสมอแล้วเจอกัน และสำหรับคนที่เชื่อและศรัทธาเท่านั้น ไม่ได้บังคับ (รายละเอียดอ่านได้ตามภาพ)

ซึ่งแน่นอนว่าการประกาศชวนเชื่อระดมเงินจากประชาชนโดยเสนอผลตอบแทนสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด มีความผิดตาม พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน หรือกฎหมายแชร์ลูกโซ่อย่างชัดเจน แต่นายจรณินทร์บอกว่า บางคนไม่เข้าใจว่าบริษัท ริชโกลด์ ทำอะไร เป็นแชร์ลูกโซ่ใช่หรือไม่ ซึ่งส่วนตัวไม่เคยจ่ายหัวคิว ไม่เคยได้จ่ายเงินเลย เพราะรอเงินจากจุดๆ เดียว เป็นเงินที่สำคัญมาก เป็นเงินที่ทำกันมาถึง 17 ปี 8-9 เดือน เกือบจะ18 ปี ใครที่อยู่ตั้งแต่รุ่นแรกจะเข้าใจว่า นี่แหละเขาเรียกว่าเงินบุญเงินรากหญ้า

ขณะที่นายจรณินทร์ ยังได้มีการประกาศชวนเชื่ออย่างต่อเนื่อง โดยมีการอ้างอิงโครงการต่างๆ ของรัฐบาล เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้หลงเชื่อ

นอกจากนี้ยังมีการประกาศเสียงไปยังสมาชิก กล่อมให้ศรัทธาในการลงทุนกับบริษัท โดยเปรียบเทียบกับการศรัทธาในเรื่องศาสนาอีกด้วย

นายจรณินทร์ ยังโพสต์ข้อความระบุด้วยว่า ขณะนี้ตัวเองกำลังสู้กับเจ้ากรรมนายเวร กำลังสู้กับพญามารที่กำลังมาผจญชีวิต และอ้างกับสมาชิกว่าตนเองยังไม่ได้หนีไปไหน

ขณะเดียวกันมีภาพแชทไลน์ที่แสดงให้เห็นว่า หากมีสมาชิกคนใดสงสัย ซักถาม ทวงถาม ผลตอบแทนมากๆ ก็จะมีการตอบโต้สมาชิกที่ไม่เชื่อฟังด้วยถ้อยคำรุนแรง หยาบคาย โดยอ้างว่าตนเองเป็นคนนำความร่ำรวยมาให้สมาชิก

สำหรับผู้ที่เสียหายจากกรณีดังกล่าวนี้ ขอเชิญเข้าให้ข้อมูลที่ บก.ปอศ. วันพฤหัสบดี ที่ 24 ต.ค.นี้ เวลา 10.30 น.  เลขที่ 11 ถ.สาทรเหนือ แขวงสีลม เขตบางรัก กทม.

สำหรับในวันนี้ (22 ต.ค.) คุณธนภัทร ติรางกูล ผู้สื่อข่าวของเวิร์คพอยท์ เดินทางไปสอบถามข้อมูลกับนายสามารถ เจนชัยจิตรวชนิช ประธานสมาพันธ์ต่อต้านแชร์ลูกโซ่แห่งประเทศไทย ซึ่งได้ติดตามกรณีดังกล่าวที่ทีมข่าวเวิร์คพอยท์นำเสนอไปตั้งแต่เมื่อวานนี้ และเมื่อตรวจสอบดูพฤติกรรมต่างๆ ของนายจรณินทร์ หมื่นจิตร พร้อมพวกอย่างละเอียด ก็มั่นใจว่าบริษัท ริชโกลด์ นั้น เข้าข่ายแชร์ลูกโซ่อย่างแน่นอน เพราะมีการเชิญชวนให้ร่วมลงทุนเพื่อแลกกับผลตอบแทนที่สูงชนิดเป็นไปไม่ได้ โดยเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.กู้ยืมเงินในการฉ้อโกงประชาชน ขณะที่การโพสต์ชักชวนประชาชนในโลกโซเชียลก็มีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะข้อหาการนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์

ประธานสมาพันธ์ต่อต้านแชร์ลูกโซ่แห่งประเทศไทย ฝากถึงผู้เสียหายให้รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง ทั้งเอกสารการชักเชิญประชาชนของมิจฉาชีพ ข้อความแชทต่างๆ ที่ได้คุยกัน รวมถึงสลิปการโอนเงิน ไปแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจทันที และที่สำคัญต้องใจแข็งด้วย เนื่องจากหากกลุ่มมิจฉาชีพทราบว่าผู้ใดที่เริ่มเคลื่อนไหวในการเอาผิดตน ก็จะมีการออกอุบายนำเงินมาชดใช้เพื่อเป็นการปิดปากไม่ให้เรื่องเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย ซึ่งก็มีผู้เสียหายหลายรายที่ถูกมิจฉาชีพรับปากว่าจะคืนเงินให้ แต่สุดท้ายไม่ได้เงินคืนตามที่ตกลงกัน เท่ากับว่าเป็นการถูกหลอกให้ความหวังไปเรื่อยๆ

นอกจากนี้ทีมข่าวเวิร์คพอยท์ยังได้ประสานไปทางกระทรวงยุติธรรมที่เบื้องต้นทราบเรื่องแล้ว และกำลังพิจารณาดำเนินการเอาผิดผู้เกี่ยวข้อง โดยในวันที่ 25 ต.ค.62 นี้ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น DSI , ปอศ. และตัวแทนจากธนาคารแห่งประเทศไทย มาร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางจัดการกับกลุ่มแชร์ลูกโซ่ทั่วประเทศ ซึ่งมีบริษัท ริชโกลด์ เป็น 1 ในวาระการประชุมด้วย

ที่ผ่านมา ข้อมูลตั้งแต่ปี 56 จนถึงปัจจุบัน พบความเสียหายจากคดีแชร์ลูกโซ่สูงถึง 28,000 ล้านบาท ซึ่งในระยะหลังมีมูลค่าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีการชักชวนผ่านทางออนไลน์ที่เข้าถึงผู้เสียหายได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อน

https://www.youtube.com/watch?v=Jfjkv2F1loM

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า