Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมการค้าต่างประเทศ ชี้แจงเหตุ สหรัฐฯ ระงับสิทธิ GSP สินค้า 573 รายการ อ้างไทยไม่คุ้มครองแรงงานตามมาตรฐานสากล กระทบแค่ 1,800 ล้านบาท ชี้ไทยยังส่งออกได้แต่เสียภาษีปกติ 4.5% เตรียมประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนนัดถกตัวแทนสหรัฐ พ.ย.นี้ ในที่ประชุมอาเซียน

เมื่อเวลา 10.30 น. วันนี้ (28 ต.ค.62) นายกีรติ รัชโน ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ชี้แจงกรณีสหรัฐอเมริกาประกาศตัดสิทธิพิเศษภาษีศุลกากรสินค้า (GSP) สินค้าไทย 573 รายการ มีผลบังคับใช้ 25 เม.ย. 63 โดยระบุว่า สาเหตุของการถูกตัดสิทธิ ครั้งนี้ คือเรื่องสวัสดิภาพแรงงาน ไม่เกี่ยวกับเรื่องค้ามนุษย์ และแรงงานเด็ก การตัดสิทธิจีเอสพีครั้งนี้เป็นผลจากสมาพันธ์แรงงานและสภาอุตสาหกรรมแรงงานสหรัฐฯ (American Federation Labor & Congress of Industrial Organization: AFL-CIO) ยื่นคำร้องให้ตัดสิทธิ GSP ไทย เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2556 และวันที่ 16 ตุลาคม 2558 เนื่องจากเห็นว่าไทยมิได้คุ้มครองสิทธิแรงงานตามมาตรฐานระหว่างประเทศ พร้อมยอมรับว่า ไทยพอทราบมาล่วงหน้าแล้ว เพราะสหรัฐฯ ได้ส่งสัญญาณมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว พร้อมย้ำว่าเป็นการตัดสิทธิชั่วคราว ยังมีเวลาเจราอีก 6 เดือน

สำหรับแนวทางการแก้ปัญหา ที่ผ่านมากรมการค้าต่างประเทศ ได้พูดคุยกับผู้ประกอบการที่ส่งออก ให้รับทราบแล้วว่า สิทธิพิเศษภาษีอาจไม่มีในอนาคต เพราะเป็นการให้โดยฝ่ายเดียว และไทยต้องพัฒนาตัวเองให้แข่งขันได้ ซึ่งผู้ประกอบการทราบดีว่าต้องปรับตัว เพิ่มนวัตกรรม สร้างมูลค่าสินค้า และต้องลดความเสี่ยง ได้เตรียมการหาตลาดใหม่ทดแทนตลาดเดิม เพื่อกระจายความเสี่ยง ซึ่งมีประมาณ 10 ที่ เช่น ตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออก และแอฟริกา

รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ยืนยันว่า ไทยจะเดินหน้าเจรจากับสหรัฐฯ ทุกช่องทาง ยังมีเวลาอีก 6 เดือนในการเจรจาเพื่อทำความเข้าใจในหลายเรื่อง โดยกรมการค้าต่างประเทศ และกระทรวงพาณิชย์จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ย้ำต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ผลบวกของประเทศ โดยคาดว่า เวทีแรกที่จะเริ่มเจรจา กับตัวแทนผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) ซึ่งจะเดินทางมาร่วมประชุม East Asia Summit ในต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ ก่อนที่การตัดสิทธิจะมีผลบังคับ 6 เดือนนับจากวันที่ 25 เมษายน 2563

ทั้งนี้ การประกาศพิจารณาทบทวนสิทธิ GSP ครั้งนี้ ไม่ได้มีไทย เพียงประเทศเดียว แต่ยังมี โบลิเวีย อิรัก ยูเครน อุสเบกิสถาน ซึ่งถูกประกาศพิจารณาทบทวนสิทธิ GSP ในครั้งเดียวกัน แต่ต่อมาได้สหรัฐฯ ได้คืนสิทธิให้ 4 ประเทศ ซึ่งไทย ถูกตัดสิทธิประเทศเดียว นอกจากนี้ อินเดีย และ ตุรกี ก็ถูกตัดสิทธิแบบไทย ทุกรายการ เมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ดังนั้นจึงถือว่าเป็นเรื่องปกติ

GSP คือ สิทธิพิเศษทางภาษี ที่ไทยได้รับจากประเทศพัฒนาแล้ว นั่นคือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งในอดีตไทยเคยได้รับสิทธิ GSP จาก สหภาพยุโรป รัสเซีย สวิสเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ และญี่ปุ่น ด้วย ซึ่งประเทศพัฒนาแล้ว ให้สิทธิกับประเทศที่กำลังพัฒนา และประเทศด้อยพัฒนา ในการได้รับสิทธิลดหย่อนสิทธิพิเศษด้านภาษี

ทั้งนี้ ไทยได้รับสิทธิ GSP จาก สหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 2519 ซึ่งมีการทบทวนปรับให้เพิ่มและลดสิทธิ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการค้า ปัจจุบันโครงการ GSP ที่สหรัฐฯ ให้ไทย เป็นการต่ออายุครั้งที่ 10 ตั้งแต่ 1 ม.ค.61 – 31 ธ.ค.63 โดยเป็นการให้สิทธิฝ่ายเดียวกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา มีทั้งรายการสินค้าเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรม พร้อมกำหนดเงื่อนไขการทบทวนสิทธิไว้ด้วย

เช่น ยอดการส่งออกเกินกว่าปริมาณที่สหรัฐฯ กำหนด 185 ล้านเหรียญสหรัฐฯ, รายได้ต่อหัวไม่เกิน 12,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งปัจจุบันไทยอยู่ที่ 6,600 ดอลลาร์สหรัฐฯ, การดูแลทรัพย์สินทางปัญญา, การดูแลสิทธิแรงงาน เป็นต้น

สำหรับ สถิติการใช้สิทธิของไทย ตั้งแต่ปี 2519 ไทยใช้สิทธิ GSP ประมาณ 70% ส่วนมูลค่า 40,000 ล้านบาท หรือ 1,300 เหรียญดอลล่าสหรัฐฯ เป็นทั้งก้อนจาก 573 รายการที่ถูกตัดสิทธิ ซึ่งเป็นการคำนวณจากปีที่ผ่านมา ที่ไทยส่งออกสินค้าทั้งหมดภายใต้ GSP ซึ่งไทยยังส่งออกสินค้าได้เหมือนเดิม แต่ต้องเสียภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ในอัตราปกติ ประมาณกว่า 4.5% ของราคาสินค้า กลุ่มที่มีผลกระทบสูงสุด เป็นกลุ่มภาชนะเซรามิก 26% ดังนั้นจะส่งผลกระทบต้องจ่ายภาษีเพิ่มประมาณ 1,500 -1,800 ล้านบาท ย้ำว่าไม่ใช่ภาระภาษีเพิ่มขึ้น 40,000 ล้านบาท ตามกระแสข่าว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า