SHARE

คัดลอกแล้ว

สาวโพสต์เตือน รู้สึกเจ็บบริเวณหางตา เห็นติ่งดำๆ ที่ใต้ขนตาพบ ‘เห็บ’ กัดอยู่โคนขนตา แพทย์ใช้คีมหนีบออก สุดท้ายเปลือกตาอักเสพต้องผ่าตัด

วันที่ 30 ต.ค.2562 ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อเหนาะ เหนาะ โพสต์ภาพและข้อความเตือนภัยจากเห็บ ระบุว่า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับตัวเองขณะที่เดินทางไปทำบุญที่เกาะช้าง ซึ่งที่พักติดภูเขา ฝนตก อากาศชื้น ในวันนั้นจำเป็นต้องพักเพราะหาที่ดีกว่านี้ไม่ได้แล้ว ตื่นเช้ารู้สึกเจ็บบริเวณหางตาด้านขวา เห็นติ่งดำๆที่ใต้ขนตา จึงไปพบแพทย์ คุณหมอส่องกล้องใช้แหนบคีบออกมาจากใต้ขนตามันคือ เห็บ!! ซึ่งตอนนั้นเจ็บมาก เพราะมันได้ปล่อยพิษของมันออกมาและมีภาหะของเชื้อโรคติดมาด้วย อาการที่พบในคืนต่อมา คือ
1. ตาขวาบวมปิดสนิท
2. ตาแฉะ น้ำตาไหลตลอดเวลา
3. ต่อมน้ำเหลืองโต ทำให้บวมทั้งหน้าจนถึงคอ
4. มีไข้
5. ตาอักเสบมีหนองบริเวณเปลือกตาด้านในซึ่งเกิดจากการแพ้พิษเห็บ และติดเชื้อแบคทีเรียที่มาจากเห็บ

จึงขอเตือนเพื่อนๆ ระมัดระวัง เข้าป่าอาจโดนเห็บ หาที่พักที่สะอาด ใครที่ชอบเลี้ยงสุนัข แมว หมั่นดูแลด้วยนะคะ

https://www.facebook.com/areewan.srinitivoravong/posts/10212737823440376

 

ข้อมูลจากคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า เห็บมีหลายชนิด บางชนิดเป็นพาหะนำโรคได้ เช่น โรคไทฟัส โรคไข้ กลับซ้ำ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น เห็บกินเลือดของสัตว์พวกสัตว์เลื้อยคลาน นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นอาหาร คนก็เป็นเหยื่อของเห็บด้วยเช่นกัน ส่วนมากเห็บที่ กัดคนมาจากสัตว์เลี้ยง เช่น แมว สุนัข หรือมาจากบริเวณพงหญ้าหรือพุ่มไม้ที่เห็บ หลบอยู่ เมื่อได้กลิ่นเหงื่อหรือความร้อนจากอุณหภูมิของร่างกาย เห็บจะกระโดดเกาะ คนแล้วคลานหาบริเวณที่ปลอดภัยเพื่อดูดเลือด เช่น บริเวณซอกพับ รักแร้ ไรผม มักกินเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง เห็บมีส่วนของปากที่งับบนผิวหนังคนเพื่อดูดเลือด เมื่ออิ่มเห็บจะคลายปากและหลุดไปเอง ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง ถึง 7 วัน

วิธีที่ดีที่สุดจะเอาเห็บออกจากผิวหนังคือ การใช้แหนบถอนขนคีบเห็บส่วนที่ใกล้ ผิวหนังมากที่สุดแล้วค่อยๆ ดึงออก ห้ามใช้บุหรี่จี้หรือใช้น้ำยาล้างเล็บ ขี้ผึ้ง สบู่เหลว สารพวกนี้จะทำให้เห็บระคายเคืองและปล่อยสารพิษเข้าไปในแผลที่มันกัดได้ ไม่บิด หรือกระชาก ไม่ควรบีบขยี้หรือเจาะตัวเห็บ เพราะจะทำให้ของเหลวจากตัวเห็บ ซึ่งอาจมีเชื้อโรคถูกปล่อยออกมา หลังจากเอาเห็บออกแล้ว ควรล้างมือ และผิวหนัง บริเวณที่ถูกกัดด้วยสบู่ให้สะอาดถ้าเห็นส่วนของปากเห็บติดอยู่ที่ผิวหนังให้ ปล่อย เอาไว้ร่างกายจะพยายามกำจัดออกมาเอง อย่าพยายามแกะ แคะออกจะทำให้ผิวหนัง เป็นเป็นแผลติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้

คนที่โดนเห็บกัดมักจะไม่เจ็บ ไม่มีอาการ เนื่องจากเห็บปล่อยสารที่ทำให้ชา และทำให้เลือดไม่แข็งตัว ส่วนใหญ่คนที่ถูกเห็บกัดจะสังเกตเห็นเห็บติดอยู่ที่ผิวหนัง ขณะอาบน้ำหรือเกา หลังเห็บหลุด (ทั้งหลุดเองเมื่อดูดเลือดอิ่มหรือจากการดึงออก) อาจเกิดปฏิกิริยาที่ผิวหนังเป็นตุ่มแดงคันบริเวณที่ถูกกัด ต่อมาตุ่มอาจใหญ่เป็นปื้น หรือก้อนนูนได้ ตุ่มพวกนี้แหละที่เป็นปัญหาให้มาพบหมอเพราะคันเหลือเกิน และเป็น ตุ่มอยู่นานหลายเดือนหรือเป็นปี

การรักษาตุ่มคันจากเห็บกัด ถ้าตุ่มอักเสบไม่มาก ใช้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ลดการอักเสบ ทาสม่ำเสมอ เช้าและเย็นผื่นก็จะดีขึ้น ถ้าอักเสบมาก เรื้อรัง ตุ่มใหญ่เป็นก้อนต้องใช้วิธีฉีดยาสเตียรอยด์ เฉพาะที่ บางรายอาจต้องตัดตุ่มที่อักเสบออก เพราะมีการอักเสบเรื้อรังไม่หาย จากปฏิกิริยาของร่างกายต่อส่วนปากของเห็บที่ติดอยู่ในผิวหนัง

สำหรับในประเทศไทยไม่พบโรคที่มีเห็บเป็นพาหะ แต่ไรซึ่งมีลักษณะที่มองด้วยตาเปล่า อาจคล้ายเห็บ สามารถเป็นพาหะนำเชื้อแบคทีเรียทำให้เกิดโรคไข้รากสาดใหญ่หรือ สครับไทฟัส ไม่มียาสำหรับป้องกันการเกิดโรคหลังไรกัด ดังนั้นผู้ที่ถูกไรกัด ควรสังเกต ตัวเองว่าเป็นไข้หลังจากถูกไรกัดหรือไม่ โดยทั่วไประยะฟักตัวของโรค (ตั้งแต่ไรกัดจน ถึงไข้ขึ้น) ประมาณ 10-12 วัน

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า