Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ความฝันสตาร์ตอัพ ‘ยูนิคอร์น’ เจ้าแรกของไทยอยู่ไม่ไกล และ ‘Eko’ (เอโค่ คอมมูนิชั่น) ก็เชื่อมั่นว่าตัวเองจะสามารถก้าวขึ้นเป็นสตาร์ตอัพสัญชาติไทยที่มีมูลค่ากว่าหนึ่งพันล้านเหรียญได้ ภายในเร็ววันนี้

Eko คือใคร? เริ่มต้นขอพาไปทำความรู้จัก และอธิบายว่าอย่างนี้ โดยปกติแล้วในชีวิตการทำงาน ติดต่อสื่อสารภายในองค์กร บริษัทที่มีขนาดใหญ่ อาจจะซื้อโปรแกรมเฉพาะจากต่างชาติมารันระบบสื่อสารภายในองค์กร แต่โดยองค์กรทั่วไป การสื่อสารเรื่องทางการเราใช้อีเมล ส่วนเรื่องรายละเอียดพูดคุยเล็กๆ น้อยๆ หรือจิปาถะ เราอาจสื่อสารกันผ่านทางแอปพลิเคชั่นไลน์ แต่ถ้ามาคิดจริงๆ แล้วมันดูไม่ค่อยเฮลตี้เลย เพราะการใช้ไลน์ทำงาน มันทำให้เกิดภาวะปะปนทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว 

Eko จึงอยากจะเป็นตัวช่วยในการแก้ปัญหาเรื่องพวกนี้

ดังนั้นสรุปง่ายๆ Eko  คือสตาร์ตอัพที่เสนอตัวเข้ามาให้บริการแพล็ตฟอร์มครบวงจร ในการจัดการการสื่อสารภายในองค์กร โดยหลายคนที่ติดตามวงการสตาร์ตอัพ คงรู้จักดีว่า Eko ก่อตั้งและบริหารงานโดย ‘กรวัฒน์ เจียรวนน์’ ลูกชายของศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ประธานกรรมการ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด เขาเริ่มต้น Eko ในปี 2012 สมัยที่เขายังเรียนไฮสกูลอยู่ที่ต่างประเทศ

กรวัฒน์เคยให้สัมภาษณ์กับ Marketingoops ว่า Eko ก่อตั้งขึ้นโดยเงินทุนจาก Incubator 20,000 เหรียญสหรัฐ ในซิลิกอน วัลเลย์ เกือบจะล้มเหลวมาหลายต่อหลายครั้ง กว่าจะสามารถเข้ามาให้บริการกับบริษัทยักษ์ใหญ่หลายเจ้า ทั้งในและต่างประเทศ ได้เหมือนทุกวันนี้

จึงสามารถพูดได้เต็มปากว่า Eko ไม่มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มทรู แม้ว่ากรวัฒน์จะเป็นทายาทเจียรวนนท์รุ่นที่ 3 ก็ตาม เพราะทั้งคุณปู่และคุณพ่อ (ธนินท์ และศุภชัย) รวมถึงตระกูลเจียรวนนท์ มีกฎเหล็กว่า ลูกหลานจะต้องไปหาประสบการข้างนอกเครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อหาความสำเร็จของตัวเอง และถ้าจะกลับมาบริหารบริษัทในเครือ ก็ห้ามเข้าไปในบริษัทที่มีกำไรสูงแล้ว เพื่อให้ลูกหลานทุกคนเรียนรู้จิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการอยู่เสมอ

ซึ่งแน่นอนว่า ความฝันของ Eko ก็คือ อยากให้คนไทยได้ใช้แพล็ตฟอร์มที่ผลิตโดยคนไทย จากที่เมื่อก่อนต้องซื้อของต่างชาติเข้ามาใช้ตลอด 

เฟรมเวิร์คแนวคิดของ Eko

Eko กับความฝันยูนิคอร์นประเทศไทย

ปัจจุบัน Eko มีลูกค้าเกือบ 200,000 รายในหลายประเทศ นอกจากประเทศไทย อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย จีน เป็นต้น

จุดเด่นของ Eko ซึ่งเป็นหลายข้อดีที่ทำได้รับความนิยม และความเชื่อใจจากลูกค้าองค์กรใหญ่ๆ ก็เช่น

  • ความปลอดภัยของระบบ ที่จะไม่สามารถเข้าใช้งานนอกเซิร์ฟเวอร์ได้ และมีการลงรหัสหลายชั้น ปัจจุบันลูกค้าของ Eko ในไทยมีทั้งบริษัทโทรคมนาคมใหญ่ๆ เช่น ทรู คอร์เปอร์เรเชัน และสถาบันการเงินอย่างธนาคารกรุงเทพ
  • มีฟังก์ชันในการจัดการทรัพยากรบุคคลภายในองค์กร เช่น การจัดการเอกสารการลาของพนักงาน การจัดระเบียบหัวข้อสนทนา
  • มีฟังก์ชันเปิดให้พนักงานได้แชร์ความรู้ 
  • องค์กรสามารถคัสตอมแพล็ตฟอร์ม ให้เป็นแบรนด์ของตัวเอง เพิ่มความรู้สึกอยากใช้งานให้กับพนักงานได้อีกด้วย

นอกจากนี้ Eko ยังดึงหัวกะทิจากหลายประเทศเข้ามาร่วมพัฒนาแพล็ตฟอร์ม เพราะต้องการแนวคิดที่หลากหลายจากคนหลากเชื้อชาติ ปัจจุบันพนักงานเกือบครึ่งของ Eko จึงไม่ใช่คนไทย

เมื่อเดือนที่แล้ว ในงานเปิดตัว ‘ทรู ดิจิทัล พาร์ค’ ฮับสำหรับสตาร์ตอัพย่านปุณณวิถี ทางทีมข่าวได้มีโอกาสพูดคุยกับ ธนกาญ เพิ่มทอง Head of Business Development ของ Eko เขาบอกถึงความเชื่อมั่นให้ฟังว่า Eko มีศักยภาพที่จะขึ้นไปเป็นยูนิคอร์นเจ้าแรกของประเทศไทยได้ 

“Eko มีสำนักงานใหญ่ในไทยนะครับ เพราะผู้ก่อตั้งเราก็เป็นคนไทย ก็อยากจะให้เป็นสตาร์ตอัพเจ้าแรกที่สเกลออกไปในต่างประเทศ ซึ่งตอนนี้ก็มีออฟฟิศอยู่ในสหรัฐอเมริกา ในยุโรป มีในลิสบอน เบอร์ลิน อัมสเตอร์ดัม” ธนกาญ บอก “เอคโค่เป็นหนึ่งในความเป็นไปได้ที่จะเป็นยูนิคอร์นได้นะครับเพราะว่า เราได้ Series B funding มาแล้ว โอกาสที่เราจะขยายตัวก็ไม่ได้มีแค่ในไทยอย่างเดียวแล้ว ลูกค้าเราก็มีอยู่ในต่างประเทศ ยูเอส ยุโรป มีแบรนด์ใหญ่ๆ ที่ทำให้ Eko พิสูจน์แล้วว่าเราสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ การที่เราจะได้เป็นยูนิคอร์น มันไม่ได้ไกลมากแล้วครับ” 

เมื่อถามถึงว่า อะไรคือจุดที่เขามองว่าเป็นความสำเร็จของ Eko ธนกาญบอกว่า เพราะการมองทะลุ Pain Point ขององค์กรถึงความต้องการแพล็ตฟอร์ม Enterprise Messaging แบบครบวงจร แบบที่ไม่มีใครเคยคิดจะทำมาก่อน

ผมว่าสตาร์ตอัพจะต้องมีการแก้ปัญหาให้ตรงจุด เทคโนโลยีเป็นแค่ตัวช่วย ต้องมอง Pain point ลูกค้าให้ออกจริงๆ ไม่ว่าลูกค้าจะเป็นกลุ่มธุรกิจหรือยูซเซอร์ก็ตาม ถ้าเราสามารถแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้เนี่ย เรื่องเทคโนโลยีมีพร้อมอยู่แล้ว ดังนั้นมันจึงสำคัญที่เรื่องบิซิเนส โมเดลมากกว่า ถ้าเรามั่นใจ เราก็ลงมือทำเลย ปัจจุบันมีหลากหลายแพล็ตฟอร์มอยู่แล้วที่ช่วยให้เราเริ่มลงมือได้

ความสำเร็จของ Eko มันจึงน่าจะมาจากว่า เราเห็นแล้วจริงๆ ว่ามันยังไม่มี All-in-one แอปพลิเคชันที่ช่วยแก้ปัญหาการทำงานร่วมกันในองค์กร ก่อนหน้านี้มันต้องใช้หลายๆ ระบบมารวมกันถึงใช้งานได้”  

เขาเสริมด้วยว่า ปัจจุบันโอกาสในการทำธุรกิจเยอะขึ้น เริ่มเห็นทิศทางที่จะเติบโตได้ดีกว่าเมื่อเกิน มีฮับ หรือ ecosystem ต่างๆ เกิดขึ้นมารองรับการทำงานของสตาร์ตอัพ เพื่อให้เกิดการรวมตัว แลกเปลี่ยน พูดคุย ทั้งแนวคิดและคอนเน็กชัน รัฐบาลเองก็ผลักดันนโยบาย ทำให้ต่างชาติเข้ามาทำงานได้ไทยได้ง่ายขึ้น ซึ่งในอนาคตอันใกล้ เขาอยากเห็นการเปิดเวทีระหว่างประเทศมากขึ้น เพื่อให้ต่างชาติได้เห็นว่า คนไทยก็มีสตาร์ตอัพหลายโปรดักส์ หลายแพล็ตฟอร์ม 

ตัวอย่างหน้าแชทของ Eko

หน้าจอแชทคุยงานของ Eko

 

 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า