SHARE

คัดลอกแล้ว

เขื่อนบนแม่น้ำโขงกำลังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของลุ่มน้ำโขงอย่างรุนแรง ทั้งขวางทางไหลของตะกอนและกรวด ซึ่งส่งผลต่อความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ลุ่มน้ำ ขัดขวางการอพยพของปลาจนเป็นเหตุให้สูญพันธุ์ และอาจทำให้สัตว์น้ำในโขงลดลงกว่า 80% ในอีก 20 ปีข้างหน้า อีกทั้งผู้คนที่พึ่งพิงความอุดมสมบูรณ์ที่มาจากสายน้ำแห่งนี้จะได้รับผลกระทบกว่า 60 ล้านคนใน 4 ประเทศ

ขณะนี้บนแม่น้ำโขงตอนล่าง ส่วนที่ไหลผ่านประเทศลาวและกัมพูชา มีเขื่อนผลิตไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการแล้ว 1 แห่ง ได้แก่เขื่อนไซยะบุรี ทางตอนเหนือของลาว และมีเขื่อนอีกแห่งที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง นั่นคือเขื่อนดอนสะโอง ทางตอนใต้ของลาว แต่นอกจากเขื่อน 2 แห่งนี้ แล้ว ในอนาคตอันใกล้อาจมีการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายหลักเพิ่มขึ้นอีก 9 แห่ง ทั้งในลาวและกัมพูชา

คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission) ได้เคยศึกษาถึงผลกระทบของการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายหลัก และพบว่าการสร้างเขื่อนจะส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ ความอุดมสมบูรณ์ และวิถีชีวิตของผู้คนในลุ่มน้ำโขงอย่างรุนแรง

รายงานของคณะกรรมาธิการฯ พบว่า การพัฒนาโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขง จะทำให้ปริมาณตะกอนที่ไหลไปถึงสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงลดลงถึง 97% โดยตะกอนเหล่านี้มีความสำคัญในการช่วยเพิ่มสารอาหารและฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศโดยรวม การขวางตะกอนเหล่านี้ย่อมจะทำให้ลุ่มแม่น้ำโขงมีความอุดมสมบูรณ์ลดลงในระยะยาว

นอกจากนั้น การขาดกรวดและตะกอนเหล่านี้ยังจะส่งผลให้พื้นที่ปลายน้ำประสบกับปัญหาการกัดเซาะตลิ่ง รวมถึงสูญเสียพื้นที่วางไข่ของปลาที่มักใช้ซอกหินต่างๆ เป็นที่วางไข่ด้วย

คณะกรรมมาธิการฯ ยังพบด้วยว่า สัตว์น้ำในแม่น้ำโขงจะได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยคาดการณ์กันว่าชีวมวลด้านประมงในแม่น้ำโขงจะลดลงถึง 40-80% ในระยะเวลา 20 ปีข้างหน้า (ปี 2583) อีกทั้งเขื่อนยังขัดขวางการอพยพของพันธุ์ปลาจำนวนมาก และจะทำให้พันธุ์ปลาจำนวนมากในพื้นที่ของแม่น้ำโขงสูญพันธุ์

และไม่เพียงแต่ชีวิตของสัตว์น้ำเท่านั้น เพราะแม้แต่ผู้คนที่อยู่ริมฝั่งโขงและลุ่มโขงก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย โดยมีการคาดการณ์กันว่า การสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงสุดท้ายแล้วจะกระทบผู้คนกว่า 60 ล้านคนที่พึ่งพาความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มน้ำโขงแห่งนี้ ได้แก่ผู้คนใน 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า