SHARE

คัดลอกแล้ว

นันทิชา “หลิง” โอเจริญชัย นักรณรงค์วัยยี่สิบเอ็ดปี ผู้ก่อตั้ง Climate Strike Thailand กำลังต่อสู้ใน “สงคราม” เพื่อช่วยโลกใบนี้ เธอบอกว่าการเลิกใช้พลาสติกไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาปัญหาโลกร้อนที่ดีพอ เธอจัดการประท้วงหรือการสไตรก์ในนาม Climate Strike Thailand มาสามครั้งเพื่อสร้างความตระหนักในการรับมือกับความตื่นตัวต่อปัญหาโลกร้อนหรือวิกฤตสภาพอากาศในปัจจุบัน แม้ว่าการสไตรก์จะไม่ได้มีการสนับสนุนในวงกว้าง เธอก็มุ่งมั่นที่จะต่อสู้โดยเชื่อว่าเมื่อผู้คนตระหนักถึงจำเป็นอย่างเร่งด่วนของปัญหา ให้ผู้คนได้ตื่นตัว เพราะเงินทองและความร่ำรวยทางเศรษฐกิจไม่มีค่าอะไรเลยหากเราไม่มีโลกที่จะอยู่อาศัยได้ การเคลื่อนไหวของเธอจะช่วยสร้างแรงกระเพื่อมในสังคม และจะแม้ว่ามันเป็นงานที่ยากเย็นแสนเข็ญแต่เธอก็มุ่งมั่นที่จะให้

ทุกฝ่ายโดยเฉพาะผู้กำหนดนโยบายและภาคธุรกิจเข้าร่วมในการต่อสู้นี้ หากจะอยู่รอด “ทุกคนทุกภาคส่วนต้องเปลี่ยนแปลง” เธอยืนยัน

นันทิชาพูดคุยกับเราเกี่ยวกับบทบาทของเธอในการเคลื่อนไหวครั้งนี้ ความคิดของเธอเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในบริบทของประเทศไทยและสาเหตุที่เธอต้องริเริ่มและลุกขึ้นมาทำแคมเปญนี้

อยากให้แชร์ประสบการณ์ว่าจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น และบทบาทของคุณในแคมเปญสไตรก์

ฉันได้อ่านบทความเกี่ยวกับเกรต้า (ธันเบิร์ก, วัยรุ่นชาวสวีเดน) และรู้สึกสิ้นหวังและผิดหวังเว่าทำไมไม่มีใครสนใจเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อนเท่าไรนัก ดังนั้นฉันจึงสร้างการประท้วงGlobal Climate Strike ครั้งแรกในเดือนมีนาคมปีนี้ มีผู้คนให้ความสนใจและเข้าร่วมมากขึ้นเรื่อย ๆ เริ่มเจอคนที่คิดเหมือนกัน และฉันจัดการประท้วงอีกครั้งในเดือนพฤษภาคมปีนี้ พบว่าคนที่เข้าร่วมเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเป็นจำนวนประมาณ 100 คน เราเพิ่งจัดงานที่ 3 และเห็นว่าผู้คนมีความกระตือรือร้นมากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องนี้

เกรต้า ธันเบิร์ก ชาวสวีเดน ผู้เป็นจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนไหวของเยาวชน เพื่อเรียกร้องการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม

รู้สึกมีกำลังใจมากขึ้นหรือหรือท้อใจบ้างไหมในช่วงปีที่ผ่าน?

ก็รู้สึกขึ้น ๆ ลง ๆ อยู่ค่ะกับการแคมเปญภาวะโลกร้อนนี้ บางทีก็จิตตกบ้างท้อแท้เมื่อเห็นความก้าวหน้าในการรณรงค์ของประเทศอื่น ๆ คิดว่าอยู่กับความเป็นจริงน่าจะเป็นสิ่งที่เหมาะสมมากกว่ากับสภาวะของเรา นโยบายของรัฐบาลของแต่ละประเทศที่มุ่งไปสู่ “ข้อตกลงปารีส” ไม่น่าจะไม่เพียงพอ แต่เราไม่มีเหตุผลที่จะยอมแพ้ นี่คือชีวิตของเราและมันเป็นงานของเราที่จะต่อต่อสู้ต่อไป

ช่วยบอกเราเพิ่มเติมเกี่ยวกับแรงจูงใจของคุณได้ไหม?

ในตอนแรกฉันเริ่ม Climate Strike Thailand เพราะฉันรู้สึกโมโห หงุดหงิดที่คนไม่สนใจเรื่องนี้ หลังจากจัดสไตรก์ครั้งแรกจึงรู้ว่าตัวเองคิดผิดไป ได้แรงสนับสนุนจากผู้คนจำนวนมากที่ คนเหล่านี้ช่วยปลูกต้นไม้และทำความสะอาดทะเล โดยไม่ต้องนั่งรอรัฐบาลมาแก้ปัญหา. ตอนนี้เราเรียกร้องเพียงต้องการให้รัฐบาลและ บริษัท ต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมด้วย เพราะการเพิกเฉยต่อวิกฤตสภาพอากาศนี่ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและเราจำเป็นให้ให้ผู้เกี่ยวข้องในการสร้างมลพิษเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบ เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้โดยลำพัง เราจึงต้องแสดงพลังส่งเสียงความต้องการออกไป

การเริ่มต้นของการประท้วงนี้เกิดจากความตระหนักของฉันเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่ได้เยนรู้มา เรามีความกล้าหาญที่จะพูดเรื่องปัญหา และไม่กลัวว่าใครจะมาวิจารณ์เราหรือมาว่าที่ทำการประท้วง สิ่งที่ฉันอยากเห็นคือสังคมและชุมชนที่ให้การสนับสนุนคนให้ออกมาทำสิ่งเหล่านี้ขึ้น 

การชุมนุม Climate Strike Thailand เมื่อเดือนกันยายนปี 2562

อะไรที่ทำให้รู้สึกโกรธมากที่สุด?

เมื่อพูดถึงวิกฤตสภาพอากาศหรือภาวะโลกร้อนในประเทศไทย คนมักจะพูดกันแต่เรื่องการใช้พลาสติก แต่มันเป็นเพียงส่วนเล็กของปัญหามหึมา กรุงเทพแทบจะไม่มีพื้นที่สีเขียวเลย เมืองนี้มีอัตราส่วนพื้นที่สีเขียวต่ำที่สุดแห่งหนึ่งในโลกเลยก็ว่าได้ แต่ละคนมีพื้นที่สีเขียวเพียง 3.3 ตารางเมตรเท่านั้น เรามีห้างสรรพสินค้ามากมายแต่มีต้นไม้น้อยมาก เรามักจะให้ความสำคัญกับการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืนมากกว่าคุณภาพชีวิต มันเป็นเรื่องน่าผิดหวังมาก 

เคยร่วมงานกับภาครัฐและภาคเอกชนหรือไม่?

ฉันเคยทำงานกับ NGO บ้างไม่กี่แห่งและได้พูดคุยกับหน่วยงานของรัฐบางแห่ง เร็ว ๆ นี้เราส่งจดหมายเปิดผนึกถึงกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อเรียกร้องให้พวกเขาประกาศวิกฤตสภาพอากาศ

และให้คำมั่นว่าจะเราจะเป็นสังคม net zero carbon ภายในปี 2583 แน่นอนว่าพวกเขายอมรับจดหมายของเรา แต่ก็ไม่มีมาตรการที่เป็นรูปธรรมใด ๆตอบเรามา

เมื่อพูดถึงประเด็นโลกร้อน ในเวลานี้ไม่มีใครไม่รู้จัก เกรธา คุณช่วยเชื่อมโยงสิ่งที่เกรธาทำกับการเคลื่อนไหวของเราที่เกิดขึ้นในเมืองไทยในขณะนี้ได้ไหม

เกรธาเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนมากมายเคลื่อนไหว บางคนอาจสงสัยว่าทำไมเราออกมาประท้วงแทนที่จะปลูกต้นไม้และทำสิ่งอื่น ๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ในความเป็นจริงนั้นเราต้องคำนึงถึงผู้ก่อมลพิษที่ใหญ่ที่สุด เพราะสุดท้ายแล้วการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดต้องมาจากรัฐบาลและภาคธุรกิจ รัฐบาลควรมีความรับผิดชอบในการดูแลสิ่งแวดล้อมและผู้คน ในฐานะผู้บริโภคเราเองมีทางเลือกและอำนาจในการตัดสินใจ แต่เราจะเลือกอะไรได้ถ้าทุกอย่างในตลาดมีแต่สิ่งที่ไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ในด้านนี้เองที่รัฐบาลต้องมาส่งเสริมโดยสนับสนุนให้ภาคเอกชนเสนอทางเลือกที่ยั่งยืนให้ผู้บริโภคอย่างเรา ๆ นี่เองคือสิ่งที่เราทำการเคลื่อนไหว เพื่อใช้เสียงของประชาชนในการเรียกร้องความยุติธรรมในเรื่องเกี่ยวกับการจัดการเรื่องวิกฤตโลกร้อน ผู้คนได้พยายามลงมือทำกันแล้ว แต่นั่นมันยังไม่พอ เราต้องการเปลี่ยนแปลงระบบอย่างสิ้นเชิง และเราต้องการให้ภาครัฐและเอกชนให้ความสำคัญกับประชาชนและโลกมากกว่ากำไรและประโยชน์ทางธุรกิจ และข่าวดีก็คือการที่รัฐฯ หรือภาคเอกชนจะหันมาหาการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้นไม่ได้หมายถึงการสูญเสียกำไร จริง ๆ แล้วมีวิธีการใช้พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนซึ่งมีต้นทุนต่ำกว่า และยังสร้างงานจำนวนมากและระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

คุณต้องการสื่อข้อความอะไรถึงคนที่อยู่อำนาจและคนในภาคธุรกิจ

ฉันเข้าใจดีว่าเงิน หรือ GPD มีความสำคัญ แต่เงินมากเท่าไหร่ก็ไม่คุ้มค่าเมื่อคุณไม่มีชีวิตอยู่ หากไม่มีโลกให้อยู่ไม่มีอนาคตก็ไม่มีความจำเป็นในการใช้จ่ายเงิน แล้วลูกของคุณล่ะ และอนาคตของคุณจะเป็นอย่างไร? เราไม่ได้กำลังพูดถึงการเมืองหรือเศรษฐกิจ นี่เป็นเรื่องของการเอาชีวิตรอด ฉันต้องการให้เข้าใจความเร่งด่วนและความจริงจังของปัญหาที่เรากำลังเผชิญอยู่ เรากำลังเผชิญกับความเพิกเฉยต่อปัญหาสภาพภูมิอากาศและมลพิษอย่างต่อเนื่อง นี่มันคือการฆ่าตัวตายและฆ่าลูกหลานของคุณด้วย นี่ไม่ได้กำลังบอกว่าคุณควรเปลี่ยนแต่เรากำลังบอกว่าคุณต้องเปลี่ยน ต้องรีบแก้ไข เพราะไม่มีทางเลือกอื่น

สำหรับภาคธุรกิจหากคุณไม่อินเกี่ยวกับวิกฤตสภาพอากาศ คุณอาจจะมองถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่มาพร้อมกับความยั่งยืนในระยะยาว พลังงานทดแทนหลายชนิดนั้นมีราคาถูกกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล การเกษตรหรือการประมงที่ยั่งยืนและการผลิตประเภทอื่น ๆ จะสามารถทำกำไรได้มากกว่าในระยะยาว ฉันเข้าใจดีว่ามันอาจมีอุปสรรค แต่เราสามารถปรับปรุงแก้ไขไปสู่ความมั่งคั่งได้อย่างยั่งยืน

นันทิชา “หลิง” โอเจริญชัย นักรณรงค์วัยยี่สิบเอ็ดปี ผู้ก่อตั้ง Climate Strike Thailand

คุณอยากบอกอะไรกับสาธารณชน

ฉันคิดว่าขั้นตอนแรกสำหรับแต่ละคนในการเข้าร่วมการเคลื่อนไหวนี้ คือศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง การรับมอกับโลกร้อนต้องไม่ใช่แค่การเลิกใช้ถุงพลาสติกอีกต่อไปเพราะปัญหามันใหญ่กว่านั้นมาก มันเชื่อมโยงกับทุกมิติในชีวิตประจำวันของคุณ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานที่ใช้ หรือแม้แต่อาหารที่คุณกิน ฯลฯ สิ่งสำคัญคือต้องมองไปรอบ ๆ และเข้าใจว่าสิ่งที่คุณใช้ในขณะนี้มาจากธรรมชาติ เราพึ่งพาธรรมชาติ แต่ธรรมชาติไม่ต้องพึ่งหามนุษย์ คุณต้องรู้จักเคารพธรรมชาติด้วยการบริโภคอย่างชาญฉลาดและเข้าใจแหล่งที่มาของสิ่งที่คุณบริโภคและเข้าใจว่าหลังจากการบริโภคแล้วมันไปไหน

ประการที่สองคือการบริโภคน้อยลงและบริโภคอย่างยั่งยืน ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า เสื้อผ้า อาหาร สร้างคาร์บอนฟุตพริ้นท์นั้นตอนการผลิต และยังคงมีผลกระทบแม้แต่คุณเลิกใช้แล้ว ดังนั้นการลดการบริโภคจึงและบริโภคอย่างยั่งยืนจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ

ถัดไปคือเราทุกคนสามารถช่วยกันปลูกต้นไม้ เราเลือกปลุกต้นไม้ที่ปลูกง่าย ๆ ไม่ต้องมีราคาแพงซึ่งทุกคนสามารถทำได้ทุกที่ ไม่เพียงแต่ดีต่อสภาพแวดล้อมแต่ยังดีต่อสุขภาพของทกคน และเพิ่มทัศนียภาพที่สวยงามให้บ้านของคุณ ฉันคิดว่านั่นเป็นขั้นตอนหลักที่ผู้คนสามารถเริ่มเปลี่ยนวิถีชีวิตของพวกเขาได้ทันที 

เกรธาถูกวิพากษ์วิจารณ์(จากผู้ใหญ่บางคน) ในสิ่งที่เธอทำ คุณเผชิญสถานการณ์เดียวกันในประเทศไทยไหมโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสังคมไทยให้ความสำคัญกับความอาวุโสมาก

ฉันว่าปัญหาในไทยคือความคิดที่ว่า “ถ้าฉันเปลี่ยนแล้วคนอื่นไม่เปลี่ยนล่ะ?” ผู้คนมักไม่เชื่อว่าสิ่งที่ทำจะเป็นผลดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ ฉันคิดว่าเป็นเพราะวัฒนธรรมโดยรวมของเราไม่ค่อยเอื้อตรงนี้ทำให้ไม่มีใครลงมือทำจนกว่าจะมีคนอื่นทำก่อน แต่ความจริงแล้วก็คือทุกคนทำได้ และถ้าคุณไม่ทำแล้วใครจะทำล่ะ

ส่วนเรื่องความอาวุโสนั้นไม่เป็นปัญหามากมาย แวดวงสังคมของฉันไม่มีอุปสรรคในเรื่องนี้ ที่ ฉันเติบโตขึ้นมาในโรงเรียนนานาชาติที่มีผู้ใหญ่ฟังและให้คุณค่าความคิดเห็นของฉัน ซึ่งต่างกับกับโรงเรียนไทยและชุมชนจำนวนมากที่พวกเขาไม่ให้ค่าความคิดของเด็ก เพราะคิดว่าเด็กยังเด็กเกินไปที่จะเข้าใจความซับซ้อน ของโลกและปัญหาต่าง ๆ

คนไทยมักพูดว่าเด็กเป็นอนาคตของเรา แต่ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงทำไมเราไม่มีเวทีให้เด็กพูดและแสดงความคิดเห็นเรามีคำขวัญที่วันเด็กทุกปี แต่เอาเข้าจริงดูเหมือนเราจะไม่ให้ความสำคัญกับเด็กและเยาวชนเท่าไหร่นัก

มองดูแล้วการเคลื่อนไหวนี้ยังนั้นค่อนข้างจำกัดในหมู่นักเรียนโรงเรียนนานาชาติหรือคนฐานะดี ในขณะที่คนจนหรือชนชั้นกลางยังไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการสไตรก์ คุณอยากจะบอกอะไรกับคนที่ไม่ได้เข้าร่วม?

ใช่ค่ะ ยอมรับเลยว่าการประท้วงในช่วงแรกนี้ยังจำกัดอยู่ในกลุ่มคนไทยมีรายได้ค่อนข้างสูงและชาวต่างชาติ แต่ความจริงก็คือวิกฤตโลกร้อนเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนสำหรับทุกคน อันที่จริงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้นส่งผลกระทบต่อคนที่มีรายได้น้อยอย่างแรงที่สุด เพราะพวกเขามีทรัพยากรหรือต้นทุนที่จำกัดเหลือเกินในการการปกป้องตนเอง บางคนก็เป็นแรงงานต่างด้าวอีกด้วย แต่การประท้วงนี้เกิดขึ้นเพื่อคนเหล่านั้นด้วย พวกเขาอาจไม่ได้ตระหนักถึงปัญหาจึงไม่ได้มีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวก็แต่ไม่ใช่ว่าพวกเขาไม่สนใจ แต่พวกเขาไม่รู้ นี่เองเป็นหน้าที่ของรัฐบาล ภาคธุรกิจ และสถานศึกษาที่ต้องให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหานี้ พวกเขาเป็นคนที่ดูเหมือนจะถูกทิ้งไว้ไม่ให้รับรู้สถานการณ์ แต่มันน่าเศร้าที่เมื่อคิดว่าพวกเขาเป็นคนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า