SHARE

คัดลอกแล้ว

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเวทีเสวนาทางวิชาการ “การปล่อยตัวชั่วคราว ทางปฏิบัติที่ขัดรัฐธรรมนูญ  ตามมาตรา 29 วรรค2”  บนเวทีมีวิทยากรร่วมกันแสดงความคิดเห็นถึงปัญหา สิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ควรจะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวและความไม่สอดคล้องของหลักการปล่อยตัวชั่วคราว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กับหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 29 วรรค 2 

วันที่ 2 พ.ย. 2562 รศ.ดร.ปกป้อง  ศรีสนิท  อาจารย์คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่า ในหลักการพิจารณาตามรัฐธรรมนูญ กำหนดว่าบุคคลเป็นผู้บริสุทธิ์  ซึ่งหลักการสอดคล้องกับหลักกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง International Covenant on Civil and Political Rights หรือ (ICCPR) แต่พบปัญหาในการปฏิบัติที่ศาลยึดหลักการพิจารณาหลักทรัพย์ประกันตัวมากกว่าการตีความในมาตรา 29 วรรค 2  ทำให้เกิดประโยค  คุกมีไว้ขังคนจน  เพราะดุลยพินิจศาลที่พิจารรณาหลักทรัพย์คือความน่าเชื่อถือ ความมั่นคง ขณะที่คนจนไม่มีหลักทรัพย์ทำให้ต้องถูกจำคุกเพราะไม่มีความน่าเชื่อถือ เรียกว่าเป็นหลักการพิจารณาแต่คนมีเงิน  ซึ่งหากตีความรัฐธรรมนูญในการสั่งจำคุกนั้น  คือต้องมีองค์ประกอบ 3  ข้อ คือ มีพฤติการณ์หลบหนี,ยุ่งเหยิงในคดี และมีพฤติการณ์ก่อเหตุร้าย ซึ่งหากผู้กล่าวหาไม่มีองค์ประกอบเหล่านี้  รัฐธรรมนูญระบุว่าผู้ถูกกล่าวหายังบริสุทธิ์ ซึ่งต้องปล่อยตัวชั่วคราวและไปสู้ในชั้นศาลต่อไป

รศ.ดร.ปกป้อง ได้ยกตัวอย่างประเทศฝรั่งเศส ที่ได้กำหนดกฎหมาย ศาลให้สิทธิ์ปล่อยตัวชั่วคราว โดยไม่เรียกหลักทรัพย์ประกันตัว ทำให้เกิดความเสมอภาคของประชาชน เพราะไม่ว่าคนจนหรือคนจนมีมีพฤติการณ์ 3 ข้อ คือ หลบหนี ยุ่งเหยิงในคดี และ ก่อเหตุร้าย จะต้องถูกจำคุกเหมือนกัน

ทั้งนี้ได้เสนอแนะทางแก้ไข  3 ประการ คือ 1.แก้กฎหมายป.วิอาญา ให้ยึดหลักการพิจารณาระบบประเมินความเสี่ยงพฤติการณ์ของผู้ถูกกล่าวหา มาเป็นหลักมากกว่าหลักประกันที่เป็นทรัพย์ เพื่อให้ศาลยกเลิกการคำนึงความน่าเชื่อถือของหลักประกัน 2.ศาลสามารถออกคำสั่งพิเศษ เช่นตัวอย่างศาลที่ประเทศฝรั่งเศส ที่ได้ออกคำสั่งพิเศษกับผู้ที่ถูกปล่อยตัว เพื่อให้มีความมั่นใจว่าจะไม่หลบหนี เช่นการรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่  3.ศาลควรยึดหลักพิจารณา การปล่อย คือสิทธิเป็นหลัก โดยหากศาลที่พิจารณาสั่งจำคุก คุมขังในกรณีคดียังไม่สิ้นสุดนั้น จะต้องเขียนรายงานถึงมูลเหตุจูงใจที่ต้องสั่งขัง

ด้านนายฉโลก  ศิริสินธว์  อัยการอาวุโส ผู้แทนอัยการสูงสุด  แสดงความเห็นว่า ตามรัฐธรรมนูญกำหนดสิทธิคือประโยชน์ที่รัฐคุ้มครองให้บุคคลที่ต้องมีอิสรภาพ โดยยอมรับว่าหลักการปฏิบัติจริงไม่เท่าเทียมกัน เพราะการยึดถือหลักทรัพย์เป็นหลักประกันยิ่งทำให้เกิดช่องว่างการคอรัปชั่น เพราะมีการวิ่งเต้นหาหลักทรัพย์ ผู้ค้ำประกัน  ขณะที่คนจนที่ไม่คอนเนคชั่นถูกละเมิดและติดคุก ทั้งนี้เสนอ ให้ศาลคำนึงถึงฐานะผู้ถูกกล่าวหามากกว่าเงื่อนไขมูลค่าหลักประกัน

ด้านตัวแทนฝ่ายเมือง  ชุดกรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยนายรังสิมันต์  โรม ส.ส.พรรคอนาคตใหม่ ระบุตัวอย่างกรณีการดำเนินคดีนายจตุพร บุญภัทรรักษ์ หรือไผ่ดาวดิน ซึ่งขณะนั้นกำลังศึกษาอยู่ระดับมหาวิทยาลัย กำลังจะสอบปลายภาค ศาลกลับไม่ให้ประกันตัวด้วยข้อกล่าวอ้างจากฝั่งผู้ร้อง ทั้งในช่วงแรกมีการเรียกหลักทรัพย์ประกันตัวสูงเกินสถานะนักศึกษา จนสุดท้ายด้วยหลายปัจจัยทำให้ไผ่ถูกจำคุกโดยไม่ให้ประกันตัวจนท้ายสุดให้การยอมรับสารภาพ  เป็นที่มาของคำว่า สู้ติดแน่ แพ้ติดนาน สารภาพติดพอประมาณ

ด้าน นายจิรายุ ห่วงทรัพย์  ส.ส.เขต 18 กทม. พรรคเพื่อไทย ระบุว่าในการต่อสู้ทางกฎหมายในชั้นศาล จำเลยหรือผู้ถูกกล่าวหา สามารถนำรัฐธรรมนูญมาตรา 25 วรรค 3 ที่ระบุถึงสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยมากล่าวอ้างเพื่อให้ศาลใช้ดุลยพินิจพิจารณาปล่อยตัวได้ ซึ่งถ้ากากกระบวนการต่อสู้ หรือเห็นแย้ง ไม่ได้รับความเป็นธรรมประชาชนสามารถใช้กระบวนการถ่วงดุลย์ด้วยการยื่นหนังสือต่อชุดกรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎรที่จะเข้าไปร่วมตรวจสอบด้านจริยธรรมของตุลาการได้ ส่วนตัวมองว่ามีข้อเสนอแนะให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญาวิธีพิจารณา

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า