SHARE

คัดลอกแล้ว

หลี่เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ร่วมการประชุมผู้นำ-จีนอาเซียน (10+1) ครั้งที่ 22 ณ กรุงเทพมหานคร ชี้ “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” เข้ากับยุทธศาสตร์การพัฒนาของทั้งประชาคมอาเซียนโดยรวม

สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า หลี่เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ร่วมการประชุมผู้นำ-จีนอาเซียน (10+1) ครั้งที่ 22 ณ กรุงเทพมหานคร ในห้วงการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 35 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทย, โรดริโก ดูแตร์เต ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์, สมเด็จพระราชาธิบดี ฮัสซานัล โบลเกียห์ สุลต่านแห่งบรูไน, โจโก วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย, มหาเธร์ โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย, เหงียน ซวน ฟุก นายกรัฐมนตรีเวียดนาม, ออง ซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐของเมียนมา, ลีเซียนลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์, ทองลุน สีสุลิด นายกรัฐมนตรีลาว โดยหลี่เค่อเฉียงและ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธานร่วมในการประชุม

หลี่เค่อเฉียง กล่าวว่า นับตั้งแต่จีนและอาเซียนมีความสัมพันธ์ฉันคู่เจรจา ได้นำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองต่อทั้งจีน อาเซียน และทั่วทั้งภูมิภาค โดยจีนสนับสนุนอาเซียนในฐานะศูนย์กลางอันเป็นหัวใจสำคัญของความร่วมมือเอเชียตะวันออกมาโดยตลอด

ประธานาธิบดีสีจิ้นผิง กล่าวไว้ว่า เราต้องร่วมมือกันสร้างประชาคมจีน-อาเซียนที่มีอนาคตร่วมกัน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จีนและอาเซียนเคารพซึ่งกันและกัน ยึดหลักความเท่าเทียม แก้ปัญหาข้อพิพาทผ่านการพูดคุยหารือ และร่วมกันธำรงรักษาสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค

เรายึดมั่นในวิถีแห่งการพัฒนาร่วมกัน ผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีน-อาเซียน ส่งเสริมความเข้าใจที่ดีระหว่างวัฒนธรรมและระหว่างประชาชน โดยปีที่ผ่านมา ชาวจีนและชาวอาเซียนเดินทางไปมาระหว่างกันมากถึง 57 ล้านครั้ง

หลี่เค่อเฉียง ชี้ว่า แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในปัจจุบัน ได้สร้างความความท้าทายใหม่ๆ ให้กับนานาประเทศ จีนและกลุ่มประเทศอาเซียนจึงควรร่วมกันปกป้องระบบพหุภาคีและการค้าเสรี ทำงานร่วมกันเพื่อรับมือกับความเสี่ยง ยึดมั่นในหลักการของการได้ประโยชน์ร่วม ยกระดับการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) วางรากฐานให้กับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออก บรรลุพิธีสารเพื่อเแก้ไขความตกลงภายใต้กรอบความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ACFTA) ส่งเสริมการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุน เสริมสร้างความไว้วางใจเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างกัน และรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค

“แนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้” (COC) คือการยกระดับ “ปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้” (DOC) ซึ่งมีกรอบระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี จีนหวังว่าแต่ละฝ่ายจะเคารพหลักการแต่ละประการของปฏิญญาฯ ขจัดอุปสรรคกีดขวางและก้าวไปข้างหน้า ผลักดันการหารือตามกำหนดเวลา เพื่อบรรลุการทบทวนรอบที่ 2 ในปี 2020

นอกจากส่งเสริมมิตรภาพและการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมแล้ว ความร่วมมือด้านสาธารณสุข การศึกษา และการท่องเที่ยวก็เป็นสิ่งที่จีนให้ความสำคัญ โดยใน 3 ปีข้างหน้า จีนยินดีฝึกอบรมผู้ดูแลด้านสุขภาพและช่างเทคนิคมืออาชีพของอาเซียนจำนวน 1,000 คน และสนับสนุนทุนการศึกษาจีน-อาเซียน เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีในหมู่ประชาชน

หลี่เค่อเฉียง กล่าวว่า จีนยึดมั่นในเส้นทางแห่งการพัฒนาอย่างสันติ และยุทธศาสตร์การเปิดกว้าง เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน และยินดีที่จะเชื่อมโยงความคิดริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” เข้ากับยุทธศาสตร์การพัฒนาของทั้งประชาคมอาเซียนโดยรวม และยุทธศาสตร์ของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน เดินหน้าสร้างเส้นทางการขนส่งตามแนวพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจ ยกระดับความร่วมมือด้านการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน ผลักดันการเจริญเติบโตในอาเซียนตะวันออก ส่งเสริมความร่วมมือด้านนวัตกรรมเศรษฐกิจดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ ข้อมูลขนาดใหญ่ และความปลอดภัยของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ปกป้องระบบนิเวศทางทะเล อุตสาหกรรมทางทะเล พลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน และเทคโนโลยีการอนุรักษ์น้ำ เป็นต้น

เหล่าผู้นำของกลุ่มประเทศอาเซียนต่างแสดงความยินดีกับจีน ในวาระครบรอบ 70 ปี การก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน และเชื่อว่าความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับจีนนั้น เป็นความสัมพันธ์ระหว่างพันธมิตรที่มีพลวัตมากที่สุดในบรรดาคู่เจรจาของอาเซียน รวมถึงขอบคุณจีนที่สนับสนุนบทบาทของอาเซียนในการเป็นศูนย์กลางของความร่วมมือในภูมิภาค ตลอดจนแสดงความยินดีที่จะร่วมรังสรรค์แผนริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” กับจีน ขยายความเชื่อมโยงและการลงทุนระหว่างกัน ส่งเสริมการร่วมมือทางนวัตกรรม อีคอมเมิร์ซ เมืองอัจฉริยะ เศรษฐกิจสีน้ำเงิน เพื่อบรรลุเป้าหมายยอดการค้า 1 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ

อนึ่ง ที่ประชุมได้ประกาศการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการดำเนินการตามแถลงการณ์ร่วม ว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองระหว่างจีน-อาเซียน (2021-2025) ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับแผนริเริ่ม “หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” เมืองอัจฉริยะ และการแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านสื่อสารมวลชน นอกจากนี้ ยังประกาศให้ปี 2020 เป็นปีแห่งการร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลระหว่างจีน-อาเซียนอีกด้วย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า