SHARE

คัดลอกแล้ว

คพ. เฝ้าระวังคุณภาพน้ำแม่น้ำปราจีน จากการปล่อยน้ำเสียช่วงเก็บเกี่ยวข้าว แจ้งเตือนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังควรเตรียมการโดยคัดเลือกสัตว์น้ำที่มีขนาดใหญ่ออกจำหน่ายก่อน

วันที่ 16 พ.ย.2562 นายประลอง ดำรงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทส. ได้สั่งการให้ คพ. ประสานทางจังหวัดปราจีนบุรี พร้อมติดตามเฝ้าระวัง และสนับสนุนกรณีที่โครงการชลประทานจังหวัดปราจีนบุรี ได้เปิดประตูระบายน้ำคลองสารภี ตำบลวัดโบสถ์ อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าว ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา โดยมีระยะเวลาการระบายน้ำประมาณ 2-3 สัปดาห์ เนื่องจากน้ำที่ระบายออกมามีปริมาณมากและอยู่ในเกณฑ์คุณภาพน้ำเสื่อมโทรม เมื่อปล่อยออกมาสู่แม่น้ำปราจีนบุรีอาจก่อให้เกิดปัญหาคุณภาพน้ำในแม่น้ำปราจีนบุรีพื้นที่อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรีต่อเนื่องยังอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา โครงการชลประทานปราจีนบุรี จึงได้จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจติดตามเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำปราจีนบุรี จากการเปิดระบายน้ำเพื่อการเก็บเกี่ยวปี 2562

นายประลอง กล่าวต่อว่า คพ.เฝ้าติดตามและให้การสนับสนุนการทำงานของศูนย์เฉพาะกิจฯ ดังกล่าว โดยได้ร่วมกับสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดปราจีนบุรี ดำเนินการติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพน้ำอัตโนมัติริมฝั่งแม่น้ำปราจีนบุรี ณ บริเวณวัดหัวไผ่ อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งอยู่ใต้ปากคลองสารภีลงมาประมาณ 2 กิโลเมตร เพื่อใช้ในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำแม่น้ำปราจีนบุรีอย่างต่อเนื่อง โดยศูนย์เฉพาะกิจฯ จะพิจารณาข้อมูลคุณภาพน้ำและปรับปริมาณการระบายให้เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสัตว์น้ำ ทั้งนี้จะระบายโดยกดสันบานบนลง เพื่อให้น้ำล้นสันบานเกิดการเติมอากาศและป้องกันไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจายของตะกอนออกสู่แม่น้ำ ทั้งนี้ศูนย์เฉพาะกิจฯ ดังกล่าว ได้มีการวางแผนเตรียมความพร้อมในการรองรับสถานการณ์หากเกิดปัญหาน้ำเน่าเสียและติดตามสถานการณ์ตลอดเวลา

นายประลอง  กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม คพ. ขอแจ้งประชาชนในพื้นที่ให้เตรียมรับสถานการณ์หากเกิดปัญหาน้ำเน่าเสียโดยมีข้อแนะนำสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังควรเตรียมการโดยคัดเลือกสัตว์น้ำที่มีขนาดใหญ่ออกจำหน่ายก่อน หลีกเลี่ยงการเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชังในช่วงทีมีการเปิดประตูระบายน้ำ เฝ้าระวังโดยสังเกตดูอาการของสัตว์น้ำว่ามีอาการลอยหัวหรือไม่ หากสัตว์น้ำในกระชังลอยหัวเป็นเวลานาน ให้ใช้ปั๊มน้ำหรือปั๊มลมเติมออกซิเจนในกระชังโดยด่วน และลดปริมาณการให้อาหาร หากมีสัตว์น้ำตายจำนวนมากให้เก็บขึ้นมาแปรรูปหรือกำจัดโดยการฝังกลบในหลุมห้ามทิ้งลงแหล่งน้ำซึ่งจะทำให้เกิดน้ำเน่าเสียมากยิ่งขึ้น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า