SHARE

คัดลอกแล้ว

จากกรณีที่สัปดาห์ที่ผ่านมา สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) จัดทำรายงานความเสี่ยงโลก (Global Risk Report) ที่ควรคำนึงถึงในการทำธุรกิจใน 10 ปีข้างหน้า ซึ่งผลสำรวจในไทย ข้อกังวลมากที่สุด 5 ข้อ คือ เศรษฐกิจฟองสบู่ (Asset bubble) ความล้มเหลวในการปกครองประเทศ (Failure of national governance) การโจมตีทางไซเบอร์ ( Cyberattacks ) ภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Manmade environmental catastrophes ) และความไม่มั่นคงทางสังคม (Profound social instability)

วันที่ 18 พ.ย. นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ข่าวเรื่องความเสี่ยงในระดับโลกและระดับภูมิภาคในการทำธุรกิจ (Regional Risk of Doing Business 2019) ที่ออกมาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในบางกรณี โดยรายงานนี้เป็นการสอบถามความคิดเห็น จากนักลงทุนในภาคธุรกิจต่าง ๆ ทั่วโลก เกี่ยวกับการคาดการณ์ในอนาคต เพื่อกระตุ้นให้แต่ละประเทศเตรียมรับมือภาวะการณ์ต่างๆ ที่อาจจะกระทบกับเศรษฐกิจในระยะยาว ไม่ใช่การรายงานภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน

สำหรับผลการสำรวจความคิดเห็นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ให้ความสำคัญกับความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นอันดับ 1 เพราะหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ได้รับผลกระทบจากเหตุภัยธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อประชากรกว่า 50 ล้านคน คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 56.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ความเสี่ยงที่ 2 คือ เรื่องการโจมตีทางไซเบอร์ ที่มีการลักลอบเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้นในภูมิภาคนี้ ความเสี่ยงที่ 3 คือ เรื่องความขัดแย้งระหว่างประเทศ เช่น สถานการณ์ของเกาหลีเหนือ หรือ แรงกดดันจากสถานการณ์ สหรัฐ-จีน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม WEF ยังได้ทำการจัดลำดับความสามารถทางการแข่งขัน ปี 2019 ด้วย โดยประเทศไทยมีดัชนีความสามารถทางการแข่งขันที่ดีขึ้นจากปี 2018 คือจากเดิม 67.5 คะแนน เป็น 68.1 คะแนนและอยู่ในอันดับที่ 40 ของโลก จากทั้งหมด 141 ประเทศ

นายอุตตม กล่าวต่อว่า ตนขอย้ำอีกครั้งว่า รายงานดังกล่าว ไม่ได้บอกว่าประเทศไทยมีความเสี่ยงในวันนี้ แต่เป็นการสำรวจเพื่อจะได้รู้ว่าแต่ละประเทศมีความเสี่ยงในอนาคตแต่ละหัวข้อดังกล่าวในระดับใดเท่านั้น

สำหรับสถานการณ์ของเศรษฐกิจไทยนั้น แม้ว่า จะไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกได้ แต่รัฐบาลได้พยายามทำทุกวิถีทาง ที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ ทั้งเรื่องการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย และการท่องเที่ยว ผ่านโครงการ “ชิมช้อปใช้” การประกันรายได้สินค้าเกษตร ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และล่าสุด มันสำปะหลัง ซึ่งทำให้เดือน ต.ค.ที่ผ่านมา กำลังซื้อและการบริโภคในประเทศ เริ่มมีสัญญาณดีขึ้น

ด้านการลงทุนภาครัฐ ในช่วงก่อนสิ้นปี 2562 รัฐวิสาหกิจและบริษัทในเครือจะมีการลงทุนกว่า 100,000 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงสุดท้ายของปี 2562 และในปี 2563 ได้อย่างต่อเนื่อง

ขณะที่การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจปีปฏิทินในปี 2562 มีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 – ตุลาคม 2562 จำนวน 122,088 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 82 ของแผนการเบิกจ่ายลงทุนสะสม

ส่วนการเบิกจ่ายงบลงทุนในปีงบประมาณในปี 2563 ยอดเบิกจ่าย ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2562 มีการเบิกจ่าย จำนวน 7,975 ล้านบาท โดยรัฐวิสาหกิจที่มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ อาทิ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม – มีนบุรี ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย แผนงานปรับปรุงท่อเพื่อลดน้ำสูญเสียของการประปานครหลวง งานก่อสร้างปรับปรุงขยายและงานวางท่อขยายเขตจำหน่ายน้ำของการประปาส่วนภูมิภาค และโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุดที่ 1 ปี 2559 ของการเคหะแห่งชาติ เป็นต้น

ขณะเดียวกัน ปัจจุบันมีนักลงทุนต่างชาติ สนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ทั้ง สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และยุโรป ซึ่งสนใจการลงทุนด้านเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมใหม่

รมว.ระบุด้วยว่า ตนเชื่อมั่นว่า ด้วยชุดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ การเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งแผนปฏิรูปตามยุทธศาสตร์ชาติ การดึงนักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศ จะช่วยผลักดันไทยสามารถรับมือแรงกดดันจากเศรษฐกิจโลกได้อย่างดี ขณะเดียวกันกระทรวงการคลังจะติดตามและวิเคราะห์ผลแต่ละมาตรการอย่างใกล้ชิด เพื่อปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า