SHARE

คัดลอกแล้ว

เตรียมเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเพิ่มเติม 4 สถานี จากสถานีห้าแยกลาดพร้าวถึงม.เกษตรฯ วันที่ 4 ธ.ค.นี้ พร้อมให้ทดลองใช้บริการฟรีถึง 2 ม.ค.63 ก่อนกำหนดค่าบริการสูงสุดไม่เกิน 65 บาท

วันที่ 29 พ.ย.2562 อีกไม่นานเกินรอรถไฟฟ้าสายสีเขียวจะเปิดให้บริการเพิ่มอีก 4 สถานีเพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณถนนพหลโยธินและถนนวิภาวดีรังสิต โดยล่าสุดวานนี้ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและตรวจสอบความพร้อมสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสห้าแยกลาดพร้าว เขตจตุจักร ก่อนเปิดทดลองให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต จำนวน 4 สถานี ได้แก่ สถานีพหลโยธิน 24 (N10) สถานีรัชโยธิน (N11) สถานีเสนานิคม (N12) และสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (N13) ซึ่งปัจจุบันความคืบหน้าการก่อสร้างงานโยธาแล้วเสร็จเกือบ 100 % ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบเดินระบบรถไฟฟ้าและเก็บรายละเอียดเพียงเล็กน้อย ที่ผ่านมาบีทีเอสได้ดำเนินการทดลองเดินรถเปล่าเพื่อทดสอบระบบอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 1 เดือน

ทั้งนี้เตรียมเปิดทดลองจะให้บริการฟรีไม่เก็บค่าโดยสารจนถึงวันที่ 2 ม.ค.63 ส่วนอัตราค่าโดยสารยังไม่ได้กำหนด จนกว่าการหารือเรื่องสัมปทานการเดินรถไฟฟ้าระหว่างกรุงเทพมหานคร และบีทีเอสจะแล้วเสร็จ โดยกำหนดเพดานอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าตลอดสายสูงสุดไม่เกิน 65 บาท

สำหรับรูปแบบการเดินรถ แบ่งระยะเวลาการให้บริการเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเวลาเร่งด่วน (Peak) ในตอนเช้า ตั้งแต่เวลา 07.00 – 09.00 น. และในตอนเย็นตั้งแต่เวลา 16.30 – 20.00 น. โดยในช่วงเวลาเร่งด่วน จะให้บริการเดินรถตั้งแต่สถานีเคหะสมุทรปราการ (E23) ไปตามเส้นทางสายสุขุมวิทจนถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (N13) แล้วกลับรถวิ่งให้บริการในเส้นทางเดิมไปจนถึงเคหะสมุทรปราการ (E23) ซึ่งจะวิ่งสลับแบบ 1 ต่อ 1 กับขบวนรถไฟฟ้าที่วิ่งให้บริการในเส้นทางสถานีหมอชิต (N8) ถึงสถานีสำโรง (E15) ส่วนนอกเวลาเร่งด่วน และวันหยุด (เสาร์-อาทิตย์) จะให้บริการตั้งแต่สถานีเคหะสมุทรปราการ (E23) ไปตามเส้นทางสายสุขุมวิทจนถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (N13) แล้วกลับรถวิ่งให้บริการในเส้นทางเดิมไปจนถึงเคหะสมุทรปราการ (E23)

โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เป็นทางยกระดับตลอดเส้นทาง ระยะทางรวมประมาณ 19 กิโลเมตร โดยแนวเส้นทางเริ่มต้นต่อเนื่องจากแนวเส้นทางของโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร (BTS) ที่สถานีหมอชิต ข้ามทางยกระดับดอนเมืองโทลล์เวย์บริเวณห้าแยกลาดพร้าว ผ่านแยกรัชโยธิน แยกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปจนถึงบริเวณแยกหลักสี่และเบี่ยงออกด้านขวาเลียบไปตามขอบอุโมงค์ลอดแยกหลักสี่ จากนั้นเบี่ยงเข้าสู่เกาะกลางดังเดิม ไปจนถึงบริเวณสะพานใหม่หน้าตลาดยิ่งเจริญ โดยเมื่อถึงประมาณกิโลเมตรที่ 25 ของถนนพหลโยธิน แนวเส้นทางจะเบี่ยงไปทางด้านทิศตะวันออก (ด้านเหนือของพื้นที่ประตูกรุงเทพฯ) ข้ามคลองสอง ผ่านบริเวณด้านข้างของสถานีตำรวจภูธรคูคต เข้าสู่บริเวณเกาะกลางของถนนลำลูกกา และสิ้นสุดที่บริเวณคลองสอง (บริเวณสถานีคูคต) รวม 16 สถานี ได้แก่ สถานีห้าแยกลาดพร้าว, สถานีพหลโยธิน 24, สถานีรัชโยธิน, สถานีเสนานิคม, สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สถานีกรมป่าไม้, สถานีบางบัว, สถานีกรมทหารราบที่ 11, สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ, สถานีพหลโยธิน 59, สถานีสายหยุด, สถานีสะพานใหม่, สถานี รพ.ภูมิพลอดุลยเดช, สถานีพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ, สถานีแยก คปอ.และสถานีคูคต ทั้งนี้ คาดว่าจะพร้อมเปิดให้บริการตลอดเส้นทางเดือน ธ.ค.63 ซึ่งเร็วกว่าแผนเดิมที่กำหนดเปิดให้บริการในเดือน ก.ค.64

พล.ต.อ.อัศวิน กล่าวว่า ในปี 2563 ราวๆ เดือนต.ค. รถไฟฟ้าสายสีทอง ระยะที่ 1 ซึ่งเป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนรองบนพื้นที่ฝั่งธนบุรี เชื่อมต่อจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีกรุงธนบุรี ถึงสำนักงานเขตคลองสาน จำนวน 3 สถานี ได่แก่ สถานีกรุงธนบุรี สถานีเจริญนคร และสถานีสำนักงานเขตคลองสาน ก็คาดว่าจะสามารถเดินรถให้บริการประชาชนได้เช่นกัน โดยขณะนี้การก่อสร้างคืบหน้าแล้วกว่า 40% ต่อไปการเดินทางในกรุงเทพฯ จะสะดวกมากขึ้น สามารถเชื่อมต่อเป็นโครงข่ายได้ไกลมากขึ้น ช่วยลดปัญหาการจราจร ลดระยะเวลาการการเดินทาง ลดปัญหาฝุ่นและมลพิษในอนาคตได้อีกด้วย

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า