SHARE

คัดลอกแล้ว

สถาบันแบล็กด็อกของออสเตรเลียเผย วิธีป้องกันการฆ่าตัวตายแบบดิจิทัลอาจเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพื่อเข้าถึงกลุ่มคนที่สุ่มเสี่ยงและช่วยยับยั้งอัตราการฆ่าตัวตายที่เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่รัฐบาลออสเตรเลียได้แต่งตั้งที่ปรึกษาด้านการป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งชาติขึ้น เพื่อพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบครบวงจร

วันที่ 30 พ.ย. 2562 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า สถาบันแบล็กด็อกของออสเตรเลีย (Black Dog Institute) ระบุว่า กลยุทธ์ป้องกันการฆ่าตัวตายแบบดิจิทัลอาจเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการเข้าถึงกลุ่มคนที่สุ่มเสี่ยงและช่วยยับยั้งอัตราการฆ่าตัวตายที่เพิ่มสูงขึ้น

จากการตรวจสอบบทความต่างประเทศกว่า 6,700 ชิ้นและการทดลองทางวิทยาศาสตร์ 16 ครั้ง แสดงให้เห็นว่าการใช้เครื่องมือดิจิทัลเขตข้อมูลใหม่ โดยเจาะจงไปที่การฆ่าตัวตายอาจเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงผู้ที่กำลังทุก์ทรมานอยู่ในความเงียบ

ดร. มิเชล ไท (Michelle Tye) จากสถาบันแบล็กด็อก ซึ่งเป็นผู้เขียนนำของรายงานระบุว่า วิธีการแบบดิจิทัลจำแนกอุปสรรคที่ขัดขวางกลุ่มเสี่ยงจำนวนมากไม่ให้เข้าพบแพทย์แบบตัวต่อตัวเพื่อทำการรักษาออกเป็นหลายประเภท เช่น ค่าใช้จ่าย ความยืดหยุ่น และความอัปยศ

พวกเขาสามารถใช้วิธีการนี้ได้อย่างยืดหยุ่นและไม่ระบุตัวตน ซึ่งค่อนข้างสำคัญเพราะอุปสรรคหนึ่งในการช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ คือการไม่ทราบว่าอะไรคือ ‘บาดแผล’ ที่นำไปสู่การฆ่าตัวตายของพวกเขา

วิธีการทางดิจิทัลช่วยให้ค่าใช้จ่ายลดลง ทั้งยังเป็นที่แพร่หลาย จึงมีศักยภาพในการส่งมอบการรักษาที่มีคุณภาพสูง

ดร. มิเชล ไท ให้คำนิยามกลุ่มคนเพศชายและกลุ่มเยาวชนว่าเป็น “กลุ่มผู้ไม่สามารถเข้าถึงได้” เพราะพวกเขามีความเป็นไปได้สูงสุดที่จะไม่ร้องขอความช่วยเหลือ จึงน่าจะได้รับประโยชน์จากวิธีการทางดิจิทัลเช่นนี้

ในแง่ของจิตวิทยา ยังไม่มีวิธีการใดได้รับการยอมรับว่าสามารถใช้ลดความคิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย ขณะนี้รูปแบบและวิธีการต่างๆ จึงถูกเตรียมนำไปทดลองใช้ในช่องทางดิจิทัลที่เกิดขึ้นใหม่

“บางคนมีพื้นฐานการศึกษาด้านจิตเวช ทั้งยังสามารถอธิบายและพูดถึงปัญหาให้เป็นเรื่องปกติ ทำให้ผู้มาปรึกษาไม่รู้สึกว่าตนอยู่เพียงลำพัง และเปิดใจให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษา” ไทกล่าว “ขณะที่บางคนก็ทำได้ยิ่งกว่านั้น พวกเขาหาวิธีปรับเปลี่ยนรูปแบบความคิดที่ไม่เกิดประโยชน์ ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าหรือฆ่าตัวตาย หรือกระทั่งหากลยุทธ์ในการรับมือได้”

แม้จะมีวิธีการและความพยายามเกิดขึ้นนับไม่ถ้วน ทว่าออสเตรเลียก็ยังมีสถิติพบคนฆ่าตัวตายมากกว่า 8 คนทุกวัน ทั้งยังมีสัดส่วนของผู้สุ่มเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายและไม่ร้องขอความช่วยเหลือมากถึงร้อยละ 70

ในเดือนกรกฎาคมปี 2019 สกอตต์ มอร์ริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียกล่าวว่า การป้องกันไม่ให้ผู้คนฆ่าตัวตายถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ ของรัฐบาล ซึ่งทางรัฐบาลได้แต่งตั้งที่ปรึกษาด้านการป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งชาติขึ้นมา (National Suicide Prevention Adviser) เพื่อพัฒนาแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบครบวงจร

อย่างไรก็ตาม วิธีการต่างๆ ยังคงอยู่ระหว่างการทดลองและการฝึกปฏิบัติก่อนนำไปใช้ได้จริง ซึ่งไทคิดว่าจำเป็นต้องหาหนทางแก้ปัญหาดังกล่าว เพื่อให้สาธารณชนสามารถใช้วิธีการทางดิจิทัลได้เสียที เขายังหวังว่ารัฐบาลจะมุ่งมั่นระดมทุนด้านการป้องกันการฆ่าตัวตายให้มากขึ้น เพื่อช่วยชีวิตคนจำนวนมาก

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า